กรณีศึกษาเมื่อมองโลกด้วยแว่นตาสีเทา โรคซึมเศร้าในมนุษย์เงินเดือน

วันที่: 24 ก.ค. 2562 13:30:42     แก้ไข: 28 ม.ค. 2563 13:24:30     เปิดอ่าน: 1,829     Blogs
เพราะในวัย 35-50ปี อาจจะเป็นช่วง Middle crisis หรือวิกฤติชีวิตวัยกลางคน ที่ใครหลายๆคนในช่วงอายุดังกล่าวต้องแบกรับความกดดัน ทั้งจากในเรื่องหน้าที่การงาน หนี้สิน ปัญหาทางบ้านและปัญหาสุขภาพที่เริ่มถามหาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

เมื่อไม่ไหวบอกไหว และเพราะเป็นผู้ใหญ่จึงเจ็บปวด เมื่อทั้งความเครียดและความกดดันที่สะสมไว้ภายใน ที่เราพยายามแบกรับไว้จนถึงจุดที่จิตใจไม่อาจทนรับได้ไหว กลไกของสมองจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปจนอาจทำให้เราเปลี่ยนจากการมองโลกที่เคยสดใส ทำให้ทุกอย่างกลับกลายเป็นการมองผ่านแว่นตาสีเทา

ในวันที่มองโลกผ่านแว่นตาสีเทา
โลกของผู้ป่วยซึมเศร้านั้นมักจะเป็น "สีเทา" การมองโลกและความรู้สึกนึกคิดมักจะบิดไปในแง่ร้าย มองไปทางไหนก็ไม่มีความสุข ความกังวลใจจะมีในทุกเรื่อง จนทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข จนพยายามจะเริ่มหาวิธีให้หลุดพ้นจากแว่นตาสีเทาที่ใส่อยู่

ถ้าโรคมะเร็งเป็นลักษณะของโรคร้ายทางกายภาพที่ค่อยๆกัดกินทำลายสมรรถนะในการทำงานของร่างกาย “โรคซึมเศร้า” ก็คงเปรียบเสมือนมะเร็งร้ายที่กัดกร่อนทำลายสภาพจิตใจไม่ต่างจากกัน โดยข้อมูลของกรมสุขภาพจิตในปี 2561 ที่ผ่านมามีการเปิดเผยตัวเลข จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทยที่สูงถึง 1.5 ล้านคน โดยมีผู้ที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายจากภาวะดังกล่าว 1 คน ในทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยปัจจุบันอัตราผู้ป่วยซึมเศร้ากว่า 300 ล้านคนทั่วโลก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในทุกปี โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุเฉลี่ย 35-50 ปีขึ้นไป

เมื่อ "โรคซึมเศร้า" โจมตีเรา
เมื่อภาวะซึมเศร้านั้นคือ “โรค” ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยการใช้ยาและวินิจฉัยจากจิตแพทย์ 

ฉะนั้นผู้ที่จะบอกได้ว่าเราอยู่ในภาวะนี้หรือไม่นั้นคือแพทย์ เพราะในบางครั้งที่เราเกิดภาวะซึมเศร้าในจิตใจตนเองขึ้นมา เราก็มักจะคิดและวินิจฉัยเอาเองว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้า
เพราะจุดสำคัญผู้ที่ป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" จริงๆนั้นมักจะไม่รู้ตัว และกว่าจะรู้ตัวก็มาถึงปลายทางที่โรคซึมเศร้านั้นเข้าทำลาย จนเกิดความเสียหายและผลร้ายต่อตนเองและคนรอบข้าง

เมื่อ "ป่วย" แต่ไม่ยอมรับว่าป่วย จุดตระหนักรู้และยอมรับในการเป็นโรคซึมเศร้าของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนนั้นรู้ตัวตอนเริ่มร้องไห้ฟูมฟาย อาละวาดฟาดงวงฟาดงาใส่ลูกน้องในความผิดเล็กๆน้อยๆ บางคนรู้ตัวตอนคนรอบข้างเริ่มมองด้วยสายตาที่สงสัยและไม่เข้าใจในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางคนเริ่มรู้ตัวตอนนั่งคุยและร้องไห้กับต้นไม้ แต่บางคนก็สายเกินไปที่จะมีโอกาสได้รู้ตัว

เมื่อต้องร่วมงานกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
เพราะซึมเศร้านั้นคือโรคที่สารเคมีในสมองที่ชื่อว่า "เซโรโทนิน" นั้นผิดปกติ การใช้ยาและรักษาตามคำแนะนำของแพทย์นั้นช่วยให้โรคนี้หายได้ โดยใช้ระยะเวลาในการปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้น
ในฐานะเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน สิ่งสำคัญที่เราต้องให้นั้นคือ "ความเข้าใจ" และให้ "เวลา"

เพราะผู้ที่ป่วยซึมเศร้านั้นส่วนใหญ่ไม่ต้องการคนปลอบใจ แต่ขอมีเพียงคนที่ไว้วางใจได้ เพื่อที่จะได้ระบายความทุกข์สาหัสในจิตใจนั้นออกมา ฉะนั้นสิ่งสำคัญของการเป็นเพื่อนร่วมหรือหัวหน้างานที่ต้องทำงานร่วมกับผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้านั้น ก็คือการฟังด้วยความเข้าใจและไม่ตัดสิน ให้โอกาสและให้อภัยในวันที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นทำผิดพลาดไป เพียงเท่านี้ก็คงจะไม่ยากเกินไปที่จะทำให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากและโหดร้ายนี้ไปด้วยกัน

#เพราะสิ่งสำคัญในการอยู่ร่วมกัน คือ การฟังอย่างเข้าใจและไม่ตัดสิน
อ้างอิง : www.dmh.go.th, www.honestdocs.co.th

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน

ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism ทักษะการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต และคนทำงานจะอยู่ยากถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม  กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิด ซึ่งได้แก่
ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism

ทักษะการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต และคนทำงานจะอยู่ยากถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิด ซึ่งได้แก่