คณะละครสัตว์ดัง เซิร์ค ดู โซเลย์ ประกาศล้มละลายแล้ว!

วันที่: 21 ก.ค. 2563 16:26:57     แก้ไข: 21 ก.ค. 2563 16:31:19     เปิดอ่าน: 1,901     Blogs
คณะละครสัตว์ดัง เซิร์ค ดู โซเลย์ ประกาศล้มละลายแล้ว!

เป็นหนึ่งในเคสที่ทำให้ผมใจหายช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้เลย
แม้ว่าผมไม่ได้เป็นแฟนพันธ์ุแท้ หรือเคยดูโชว์ของเขาก็ตาม

แต่มีความผูกพันแบบบางๆ เพราะคณะโชว์นี้ เคยเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่ดีของการปรับกลยุทธ์ในแบบนวัตกรรมเพื่อเข้าสู่น่านน้ำใหม่ หรือ ที่เราคุ้นกันดีในชื่อ Blue Ocean Strategy นั่นเอง

"เซิร์ค ดู โซเลย์” แปลว่า “คณะดวงตะวัน” เป็นคณะละครสัตว์ดาวเด่นในระดับที่เรียกว่า ใช้เวลาก่อตั้งแค่ 20 ปี ก็ทำรายได้เทียบเท่า คณะละครสัตว์ของบานัม (Ringling Bros. and Barnum & Bailey) ซึ่งใช้เวลามากกว่าร้อยปี โดยการแสดงของคณะนี้ได้ปรากฏต่อสายตาของชาวโลกมากกว่าหลายร้อยล้านคู่มาแล้ว จนได้รับการขนานนามว่าเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิใจของแคนาดาเลยครับ

ที่สำคัญ "เซิร์ค ดู โซเลย์” คือ คณะละครสัตว์ที่ไม่มีสัตว์แต่อย่างใด!

ก่อนจะต้องยอมแพ้กับวิกฤตในครั้งนี้ ในอดีต เซิร์ค ดู โซเลย์ เคยผ่านช่วงเวลาวิกฤตของอุตสาหกรรมละครสัตว์ ซึ่งเกือบถูก disrupt จากพฤติกรรมของผู้คนที่ผันเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

เด็กๆ ยุคใหม่ๆ หันมาเล่นเกม มีกิจกรรมยามว่างหลากหลาย ขณะที่กลุ่มพิทักษ์สัตว์ก็จับจ้อง และต่อต้านการนำสัตว์มาแสดงละครสัตว์มากขึ้น จนตลาดเดิมๆ ของคณะละครสัตว์มีแต่จะเล็กลงเรื่อยๆ และแข่งขันกันสูงขึ้นในอุตสาหกรรมนี้

แต่สองหนุ่ม Gilles Ste-Croix และ Guy Laliberte ซึ่งเติบโตมาจากการแสดงกายกรรมข้างทาง มองเห็นโอกาสบางอย่าง และร่วมกันก่อตั้งคณะละครสัตว์นี้ และสร้างปรากฏการณ์ ในแบบนวัตกรรมของวงการละครสัตว์ขึ้นมา จนกลายเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาของการวางกลยุทธ์แบบน่านน้ำสีคราม หรือ Blue Ocean Strategy ที่เป็นปรัชญาของการสร้างพื้นที่การตลาดใหม่ด้วยนวัตกรรม จนทำให้หลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงได้

พวกเขาทำสิ่งที่ #แตกต่างจากคณะละครสัตว์อื่นๆ ที่มักจะใช้ เต๊นท์การแสดง มีตัวตลก และกายกรรมต่างๆ ในแบบคล้ายๆ กันไปหมด

เซิร์ค ดู โซเลย์ เลือกที่จะ #เพิ่ม ความหรูหราให้กับเต๊นท์การแสดง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ชม เพิ่มความลุ่มลึกของโชว์จากละครสัตว์ให้เป็นการแสดงความเป็นศิลป์ที่ดึงดูดใจ ผสมผสานศาสตร์ต่างๆทั้งภาพและเสียงในแบบละครเวทีบรอดเวย์ บัลเลต์ จนการแสดงมีความเลิศหรูอลังการ

และเลือกที่จะ #ตัด ซูเปอร์สตาร์ของคณะ ให้ความสำคัญกับทีมงาน ไม่มีการแสดงของสัตว์ และการขายขนมในขณะรับชม

แน่นอนว่า #กลุ่มผู้ชมไม่ได้ถูกจำกัดว่าเป็นแค่เด็กๆ อีกต่อไป แต่เป็นทุกคนที่ชื่นชอบในงานศิลป์ และการสิ่งมอบประสบการณ์ที่ดี (Customer Experience) ทำให้พวกเขายอมจ่ายค่าบัตรในราคาสูง ซึ่งเป็นคุณค่าที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ในท้องตลาด

และสิ่งเหล่านี้ คือ #การปรับกลยุทธ์ที่ถูกวางจากผู้นำ ที่เราสามารถนำมาเรียนรู้ได้เช่นกันว่า ในวิกฤตินี้ ผู้อ่านที่เป้นผู้นำจะวางกลยุทธ์อย่างไร ต้องเพิ่มอะไร ลดตรงไหน เพื่อปรับและส่งมอบคุณค่าให้กลุ่มเป้าหมาย และสร้างผลประกอบการ และธุรกิจอยู่รอดได้

จน Cirque du Soleil สามารถบอกกับโลกได้เต็มปากว่า “We Reinvent the Circus-เราสร้างละครสัตว์ขึ้นมาใหม่”

แม้วันนี้ คณะละครสัตว์เลืองชื่อ จะต้านทานวิกฤตไม่ไหว จนล้มละลาย (เพราะมันสาหัสและสุดวิสัยจริงๆ) และอาจต้องปลดพนักงานมากกว่า 3,500 คน แต่ก็ยังพอมีข่าวดีๆ อยู่บ้างว่า

บริษัทจะได้รับเงินทุนจำนวน 3-400 ล้าน USD จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ได้แก่ TPG Capital บริษัทที่อยู่ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งถือหุ้นอยู่ 55% และกลุ่มทุน Fosun ของจีนซึ่งถือหุ้น 25% สำหรับการรีสตาร์ทธุรกิจ ตลอดจนรับภาระหนี้สินบางส่วนของบริษัท

รวมทั้งข่าวว่าผู้นำเก่า อย่าง กีย์ ลาลิแบร์เต้ (Guy Laliberte) ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และ 1 ในบอร์ดบริหาร อาจกลับมาคุมบังเหียนอีกครั้ง

เพราะเคยลั่นวาจาไว้ว่า พร้อมที่จะทำทุกวิถีทางไม่ให้คณะนี้ ตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่มีทักษะในการบริหารจัดการโชว์ใหญ่ๆ แบบนี้เด็ดขาด

ผมได้แต่หวังว่า เมื่อปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินงานครั้งนี้ แฟนๆ คงได้เห็น "เซิร์ค ดู โซเลย์" ตำนานแห่งนวัตกรรมของวงการละครสัตว์ กลับมาโลดแล่น เพื่อจะได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจให้ Reinvent the Business ได้อีกครั้ง
---------------------------------
Content: อนิรุทธิ์
Photo: curiocity.com
References:
https://marketeeronline.co/archives/173670…
https://genonline.co/2018/12/27/circus-without-animal/
https://thestandard.co/cirque-du-soleil-filed-bankrupt/
- Blue Ocean Strategy (Book)
---------------------------------
#CoachForGoalArticle #CFG
สร้างทัศนคติการทำงานให้ดีขึ้นในทุกวันแบบง่ายๆ
---------------------------------
รายละเอียดโปรแแกรมพัฒนาบุคลากรองค์กรที่
www.coachforgoal.com

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน

ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism ทักษะการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต และคนทำงานจะอยู่ยากถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม  กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิด ซึ่งได้แก่
ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism

ทักษะการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต และคนทำงานจะอยู่ยากถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิด ซึ่งได้แก่