"ตัวเราเป็นคนแบบไหน?" เป็นคำถามสั้นๆ เหมือนตอบไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายที่จะตอบได้
บางคนจะอยู่กับตัวเองมาหลายสิบปี ก็อาจใช้เวลาเป็นสิบๆ นาที กว่าจะบรรยายได้ว่า ตัวเองเป็นคนแบบไหน นิสัยยังไง
บางคนตอบได้รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม
(หากนึกหน้ากามนิตไม่ออก ก็เอาเป็นเร็ว เหมือน เดอะ แฟลช ฮีโร่ค่าย DC หรือ ควิก ซิลเวอร์ ของค่าย Marvel ก็ได้ไม่น่าแตกต่างกันมาก)
แต่ความเร็วในการตอบ ก็ไม่ได้เป็นดัชนีบอกว่า เรารู้จักตัวเองดีแค่ไหน และไม่ได้มีประโยชน์เท่าไรต่อการเอาไปพัฒนาตัวเอง
ยิ่งกว่านั้น บางคนที่ตอบอย่างมั่นใจ เพราะเชื่อว่ารู้จักนิสัยตัวเองดี ก็ยังต้องถามต่ออีกว่า "ตัวตน หรือ นิสัยที่ว่ามา ถูกหรือเปล่า?
เพราะ หลายคนที่เชื่อว่าตัวเองเป็นคนใจเย็น
แต่ทันทีคนรอบตัวค้านสวนว่า "ไม่นะ เธอใจร้อนจะตาย"
นอกจากเจ้าตัวจะเซอร์ไพร์ซแล้ว บางคนยังตอบกลับเสียงดังทันควันอย่างเกรี้ยวกราดว่า "ไม่จริง!! ผมเป็นคนใจเย็น!! ไม่เคยโกรธใคร!!"
คนใจเย็นแบบนี้ก็มีในโลก...
หรือ คนที่เข้าใจว่าตัวเองเป็นคนสุภาพ
แต่เพื่อนร่วมงานมักเห็นเขาพูดจาดูถูก รปภ. แม่บ้านที่ออฟฟิศ
คนแบบนี้ก็มีให้เห็น...
ถ้างั้นเราควรเชื่อ คำตอบของคำถาม "ตัวเราเป็นคนแบบไหน?" จากปากใครดี?
ก. ตัวคุณที่อยู่กับตัวเองมาทั้งชีวิต
ข. ผู้อื่นที่มองเห็นการกระทำของคุณ และได้รับผลกระทบจากมัน
ค. เชื่อทั้ง ก. และ.ข.
ง. ไม่เชื่อทั้ง ก. และ. ข.
จ. ถูกทุกข้อ
ฉ. ช่างมันเถอะ! มันเรื่องของผม/ฉันน่ะ!
จะตอบข้อไหน ก็ไม่เป็นไร
(ยิ่งคนตอบข้อ ฉ. ยิ่งไม่เป็นไรจริงๆ ครับ อิอิ)
ค่อยๆ คิดไปก็ได้ ไม่ต้องรีบร้อน เพราะคำตอบที่ถูกต้องของคำถาม "ตัวเราเป็นคนแบบไหน?" มันไม่ใช่ง่ายขนาดที่จะรู้ได้ตอนนี้เดี๋ยวนี้ แถมคาดคะเนไม่ได้ว่า เมื่อไรจะรู้จักตัวเองได้ครบถ้วนทุกแง่มุม
แต่สิ่งเดียวที่รับรองได้ คือ #ประโยชน์ต่อตัวคุณเอง ตั้งแต่นาทีแรกที่เริ่มตั้งคำถามนี้กับตัวเอง
ส่วน #ประโยชน์ต่อคนอื่น จะเริ่มต้นในวินาทีที่เราเริ่มรู้สึกตัวว่า ตัวตนหรือนิสัยบางอย่างของเรา อาจสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น
คอนเฟิร์ม!!
--------------------------------------------
Infographic & content by aniruthT
photo: John Wick & The matrix, internet
reference: Johari window
![]() |
Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking |
เชื่อหรือไม่ว่า การสร้างบรรยากาศการทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น กลับเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากๆ และไม่สามารถสร้างได้ภายในระยะเวลาอันสั้น เพราะมันเป็นเรื่องของความรู้สึกของแต่ละบุคคลภายในทีมมารวมกัน อีกทั้งการวัดผลการยาก เพราะการสร้างบรรยากาศแบบ Effective Environment ต้องอาศัย ความไว้วางใจซึ่งกันและกันภายในทีม ดังนั้นการบริหารแบบนี้ หัวหน้าโดยส่วนใหญ่ก็จะ รู้ว่าต้องทำ(What) และรู้ว่าต้องทำอย่างไร (How) ด้วย แต่มักจะปฏิบัติจริงไม่ค่อยสำเร็จมากนัก มาดูกันว่าจะต้องทำอย่างไร?
การที่มีทีมงานที่เก่งขึ้น จะช่วยส่งเสริมเป้าหมายด้านการเติบโต (Growth)ขององค์กร แต่อีกสิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามไป คือ จิตใจของคน ซึ่งถ้าเขาสามารถทำงานที่รับผิดชอบได้สำเร็จหรือ ยิ่งทำงานยิ่งเก่ง ก็จะช่วยให้คนทำงานรู้สึกดีต่อองค์กรนั้นๆ จน ทำให้เกิด Engagement ต่อองค์กร ซึ่งวิธีที่จะพัฒนาคนให้เก่งขึ้นนั้น หลายคนคิดว่าเป็นความรับผิดชอบของ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นหน้าที่หลักของหัวหน้างานโดยตรง การพัฒนาผู้นำให้บริหารทีมได้ มีแนวทางดังนี้
จากการบริหารแบบ Diamond Management ซึ่งเป็นวิธีการบริหารที่สร้างความสมดุล ของเป้าหมายองค์กรทั้ง 4 ด้าน ตามที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ สำหรับในบทความนี้ จะพูดถึง การบริหารแบบ Effective Execution ซึ่งเป็นการบริหาร ที่ทำให้กลยุทธ์ที่กำหนดไว้สามารถนำไปปฏิบัติจริงจนส่งผลลัพธ์ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยหลักการของการบริหารแบบ Effective Execution มีดังนี้
หนึ่งในการบริหารแบบ Diamond Management คือ การบริหารแบบ “Driving Result” ซึ่งเป็นการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ด้านการเติบโต (Growth) กับการสร้าง ผลผลิตที่ดี (Productivity) การบริหารแบบนี้ให้ประสบความสำเร็จได้จะต้องพัฒนาผู้จัดการให้เป็นหัวหน้าประเภท Result- Oriented Leader มาทำความเข้าใจในบทความนี้กันว่า หัวหน้าแบบนี้มีลักษณะอย่างไร? และจะพัฒนา ผู้จัดการให้เป็นหัวหน้าแบบนี้ได้อย่างไร?
โลกในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก จนถึงขนาดว่ามีการให้นิยายของโลกยุคนี้ว่าเป็นโลก VUCA WORLD หรือโลกที่มีความผันผวน ไม่แน่นอนซับซ้อนและคลุมเครือ และต่อมาก็เปลี่ยนคำนิยามอีกว่าเป็นโลคยุค BANI WORLD คือเป็นโลกที่เปราะบางและคาดการณ์อะไรไม่ได้ ซึ่งในอนาคตก็คงมีการเปลี่ยนแปลงคำนิยามนี้อีกเช่นกัน แต่ไม่ว่าโลกจะถูกนิยามว่าอะไร พื้นฐานอย่างหนึ่งของโลกยุคนี้ ก็คือ โลกที่ไม่มีความแน่นอน
นิยามใหม่ของโลกธุรกิจ เปลี่ยนจาก VUCA world เป็น BANI world แล้ว องค์กรควรจะต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคนอย่างไร? บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญไม่ด้อยไปกว่า CEO หรือ ผุ้บริหารระดับสูง ที่จะพาให้องค์กรสามารถรับมือกับความท้าทายในยุคของ BANI World ได้ ก็คือ ผู้นำในระดับกลาง (Middle Management) เนื่องจากผู้บริหารระดับกลาง คือ ผู้นำที่ต้องประสานระหว่างองค์กรและพนักงาน โดยต้องส่งผ่านจุดมุ่งหมายที่องค์กรต้องการจะไป และสนับสนุนการทำงานของทีมงานให้ไปสู่เป้าหมายนั่นให้ได้