กรณีศึกษา เพราะปากและใจไปไวกว่าความคิด
เพราะมีปราชญ์ท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า จงคิดทุกอย่างที่พูด แต่อย่าพูดทุกอย่างที่คิด
ในปัจจุบันนอกจากพูดแล้ว การพิมพ์หรือระบายสิ่งใดลงในโลกออนไลน์
คงต้องถือเป็นข้อห้ามพึงระวัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ในเวลาโกรธ”
เพราะความคิดของคนเรานั้นมักไหลไปตามสถานการณ์ เมื่อเราพบเจอสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบ
และเกิดความไม่พอใจขึ้น เราย่อมอดไม่ได้ที่จะตัดสินเหตุการณ์นั้นตามประสบการณ์
หรือสิ่งที่เราพบเคยพบเจอมา จนอาจหลงลืมไปเลยว่า ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว
และสิ่งที่เราเห็นหรือตัดสินผู้อื่นไปแล้วนั้น อาจไม่ได้เป็นความจริงเสมอไป
เมื่อการตัดสินอะไรไปล่วงหน้า หรือ “Prejudgment” อาจส่งผลร้ายกว่าที่คิด
ซึ่งถ้านอกจากคิด แล้วยังเขียน นอกจากเขียนแล้วยังยึดมั่นถือมั่นไว้ในใจ อคติร้ายก็เริ่มฝังตัว
เมื่อเริ่มคิดไปเอง สิ่งสำคัญคือ “สติ” ที่จะใช้ในการพิจารณาหาความจริง
ว่าสิ่งที่เราคิดหรือตัดสินผู้อื่นไปแล้วนั้น มันเกิดจากความจริงหรือเกิดจากสิ่งที่เราคิดไปเอง
ในที่ทำงานก็เช่นกัน หากในอดีตเราเคยถูกรีดไถเงินค่าที่จอดรถจาก เจ้าหน้าที่รปภ คนหนึ่ง
เมื่อรุ่งขึ้นขณะที่เรากำลังจะเอารถเข้าที่จอด มีเจ้าหน้าที่ รปภ อีกคนหนึ่งวิ่งมา
เรียกให้จอดและเดินมองรอบรถด้วยความสงสัย ก่อนจะลงมือพิมพ์สเตตัส เช็คอิน ส่งข้อความร้องเรียนใดๆ
ลองหาความจริงด้วยการใช้ “สติ” ก่อนที่เรื่องทุกอย่างจะบานปลาย
เพระคำตอบที่ได้อาจไม่ใช่การเรียกเก็บค่าที่จอดรถใดๆ
แต่เป็นการเรียกให้หยุดเพื่อความปลอดภัยในการขับรถของเรา
#เพราะคนในเครื่องแบบดีๆก็มีถมไป
#การ์ดรู้เท่าไม่ถึงการณ์มีน้อย โปรดใช้สอยอย่างประหยัด
-----------------------------------
Content by แอดอ้วนผู้มีการ์ดรู้เท่าไม่ถึงการณ์สามใบและใช้ไปหมดแล้ว
เชื่อหรือไม่ว่า การสร้างบรรยากาศการทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น กลับเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากๆ และไม่สามารถสร้างได้ภายในระยะเวลาอันสั้น เพราะมันเป็นเรื่องของความรู้สึกของแต่ละบุคคลภายในทีมมารวมกัน อีกทั้งการวัดผลการยาก เพราะการสร้างบรรยากาศแบบ Effective Environment ต้องอาศัย ความไว้วางใจซึ่งกันและกันภายในทีม ดังนั้นการบริหารแบบนี้ หัวหน้าโดยส่วนใหญ่ก็จะ รู้ว่าต้องทำ(What) และรู้ว่าต้องทำอย่างไร (How) ด้วย แต่มักจะปฏิบัติจริงไม่ค่อยสำเร็จมากนัก มาดูกันว่าจะต้องทำอย่างไร?
การที่มีทีมงานที่เก่งขึ้น จะช่วยส่งเสริมเป้าหมายด้านการเติบโต (Growth)ขององค์กร แต่อีกสิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามไป คือ จิตใจของคน ซึ่งถ้าเขาสามารถทำงานที่รับผิดชอบได้สำเร็จหรือ ยิ่งทำงานยิ่งเก่ง ก็จะช่วยให้คนทำงานรู้สึกดีต่อองค์กรนั้นๆ จน ทำให้เกิด Engagement ต่อองค์กร ซึ่งวิธีที่จะพัฒนาคนให้เก่งขึ้นนั้น หลายคนคิดว่าเป็นความรับผิดชอบของ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นหน้าที่หลักของหัวหน้างานโดยตรง การพัฒนาผู้นำให้บริหารทีมได้ มีแนวทางดังนี้
จากการบริหารแบบ Diamond Management ซึ่งเป็นวิธีการบริหารที่สร้างความสมดุล ของเป้าหมายองค์กรทั้ง 4 ด้าน ตามที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ สำหรับในบทความนี้ จะพูดถึง การบริหารแบบ Effective Execution ซึ่งเป็นการบริหาร ที่ทำให้กลยุทธ์ที่กำหนดไว้สามารถนำไปปฏิบัติจริงจนส่งผลลัพธ์ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยหลักการของการบริหารแบบ Effective Execution มีดังนี้
หนึ่งในการบริหารแบบ Diamond Management คือ การบริหารแบบ “Driving Result” ซึ่งเป็นการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ด้านการเติบโต (Growth) กับการสร้าง ผลผลิตที่ดี (Productivity) การบริหารแบบนี้ให้ประสบความสำเร็จได้จะต้องพัฒนาผู้จัดการให้เป็นหัวหน้าประเภท Result- Oriented Leader มาทำความเข้าใจในบทความนี้กันว่า หัวหน้าแบบนี้มีลักษณะอย่างไร? และจะพัฒนา ผู้จัดการให้เป็นหัวหน้าแบบนี้ได้อย่างไร?
โลกในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก จนถึงขนาดว่ามีการให้นิยายของโลกยุคนี้ว่าเป็นโลก VUCA WORLD หรือโลกที่มีความผันผวน ไม่แน่นอนซับซ้อนและคลุมเครือ และต่อมาก็เปลี่ยนคำนิยามอีกว่าเป็นโลคยุค BANI WORLD คือเป็นโลกที่เปราะบางและคาดการณ์อะไรไม่ได้ ซึ่งในอนาคตก็คงมีการเปลี่ยนแปลงคำนิยามนี้อีกเช่นกัน แต่ไม่ว่าโลกจะถูกนิยามว่าอะไร พื้นฐานอย่างหนึ่งของโลกยุคนี้ ก็คือ โลกที่ไม่มีความแน่นอน
นิยามใหม่ของโลกธุรกิจ เปลี่ยนจาก VUCA world เป็น BANI world แล้ว องค์กรควรจะต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคนอย่างไร? บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญไม่ด้อยไปกว่า CEO หรือ ผุ้บริหารระดับสูง ที่จะพาให้องค์กรสามารถรับมือกับความท้าทายในยุคของ BANI World ได้ ก็คือ ผู้นำในระดับกลาง (Middle Management) เนื่องจากผู้บริหารระดับกลาง คือ ผู้นำที่ต้องประสานระหว่างองค์กรและพนักงาน โดยต้องส่งผ่านจุดมุ่งหมายที่องค์กรต้องการจะไป และสนับสนุนการทำงานของทีมงานให้ไปสู่เป้าหมายนั่นให้ได้