ภาวะ “Burnout” ตอนที่ 3: กรณีศึกษา Brownout “ภาวะหมดใจ” แต่ไฟยังมี

วันที่: 24 ก.ค. 2562 13:12:54     แก้ไข: 08 ส.ค. 2562 09:28:29     เปิดอ่าน: 2,521     Blogs
ก่อนหน้านี้เราได้เรียนรู้ภาวะหมดไฟ หรือ “Burnout” กันไปแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าภาวะ “Brownout” ก็เป็นสภาวะสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน

“Brownout” เป็นอาการของคนทำงานที่รู้สึกเหนื่อยหน่ายไม่มีความสุข ทุกข์ทนกับเงื่อนไขและระบบขององค์กร และมักจะไม่แสดงอาการให้เห็น มีแต่เจ้าตัวที่รู้ว่า ตัวเองจะมีอาการเหมือนถูกกดดันตลอดเวลา และความสัมพันธ์กับคนรอบตัวย่ำแย่ลงเรื่อยๆ ทว่า ความผูกพันกับองค์กร (Engagement) จะน้อยลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็ลาออกจากองค์กรไปในที่สุด

เรียกง่ายๆว่า “Brownout” คือภาวะหมดใจแต่ยังมีไฟในการทำงาน แต่ “Burnout” คือภาวะหมดไฟและหมดใจกับทุกสิ่งทุกอย่างในการทำงานนั้นเอง แต่ไม่น่าเชื่อว่า ผลจากการสำรวจของ HBR พบว่า อัตราส่วนในการลาออกของจากภาวะ“Brownout”นั้นมีสูงถึง 40% มากกว่าภาวะ “Burnout” ที่มีเพียง 5%เท่านั้น

เพราะเงินอาจไม่ใช่การแก้ปัญหา 
หลายๆครั้งที่ HR หรือ “หัวหน้างาน” มักจะติดกับดักที่ว่า เมื่อหมดใจก็ให้ “Rewards” เพื่อแก้ไขปัญหา แต่ทว่าบางอย่างเงินก็ซื้อไม่ได้ .
เพราะว่าถ้าไม่มีใจให้เงินมากแค่ไหนก็ไปอยู่ดี


จริงๆ แล้ว ใครควรแก้ปัญหาภาวะ “Brownout” ? HR หรือ หัวหน้างาน ?

คำตอบ คือ #ทุกคนในองค์กรนั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหานี้ 
เพราะการที่พนักงานจะมี engagement กับองค์การได้ บรรยากาศในการทำงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดสภาวะหมดใจในการทำงานลงได้ 
เพราะเราต่างก็รู้กันดี ว่า #เรื่องงานไม่หนักหนาเท่าเรื่องคน

HR ในฐานะตัวแทนขององค์กร ก็ต้องหมั่นทบทวนภาพรวมของระบบที่เอื้อต่อการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ หรือ การส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานที่เหมาะสม
หัวหน้างาน ก็ต้องสื่อสารทิศทางการทำงานให้ชัดเจน และดูแลสมาชิกในทีมอย่างเท่าเทียมและเหมาะสม
พนักงานเอง ก็ต้องทำหน้าที่ของตนให้ดี มีทัศนคติที่เหมาะสมในการทำงาน ไม่สร้างปัญหาที่เกิดผลกระทบต่อคนอื่นๆ

หากต่างคนทำหน้าที่ของตนเองอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และลดอคติในการทำงานงาน บรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตรของผู้คนในการทำงาน ช่วยเยียวยาความหนักหนาสาหัสของงานหนักๆ ได้มาก โดยแทบไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆ มาบรรเทาความเสียหายทางจิตใจของคนทำงานเลย
-----------------------
อ่าน Burnout แค่หมดไฟหรือใจอ่อนแอ (ตอนที่ 1) ที่ https://bit.ly/2JIOO7H
อ่านสาเหตุการ Burnout จาก Havard Business Review (ตอนที่ 2) ที่ https://bit.ly/2xP439P

Reference: www.parkerbridge.co.th, lab.sal.mm,www.hbr.org

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน

ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism ทักษะการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต และคนทำงานจะอยู่ยากถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม  กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิด ซึ่งได้แก่
ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism

ทักษะการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต และคนทำงานจะอยู่ยากถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิด ซึ่งได้แก่