"จินตนาการสำคัญ กว่าความรู้"
เมื่อไอน์สไตน์ ว่าอย่างนั้น จึงทำให้เกิดการถกเถียงกันว่า
แล้วผู้นำควรจะมีจินตนาการที่คิดโครงการแปลกใหม่ ไอเดียบรรเจิด
มากกว่า เน้นความรู้วิชาการ งานวิจัยให้แน่นๆ ใช่ไหม?
ฝ่ายที่เห็นด้วย จะยืดอกบอกตัวเองว่า
ผู้นำต้องมีความฝันนำหน้า จึงถือว่ามีวิสัยทัศน์ มองไกล ไอเดียแจ่ม
ดูอย่าง สตีฟ จ๊อบส์สิ จินตนาการของเขาทำให้ Apple เติบโตดีแค่ไหน
ส่วนอีกฝ่าย ก็จะโต้ว่า ถ้ามีแต่ไอเดีย แต่ขาดกรณีศึกษา
ขาดวิชาความรู้เท่ากับมั่วนิ่ม พากันไปตายเสียมากกว่า เพราะวิธีใหม่ๆนั้น
ไม่มีใครเขาทำกัน ดูอย่างบิลเกตส์ สิ เขาบริหาร Microsoft จนเป็นยักษ์ใหญ่ได้
ก็เพราะ อ่านหนังสือหาความรู้มากมาย
ก่อนการถกเถียงจะบานปลายกว่านี้ ลองย้อนกลับมาดูบริบท ที่ไอน์สไตน์พูดให้มากขึ้นอีกหน่อย
"Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited,
whereas imagination embraces the entire world, stimulating progress, giving birth to evolution."
มุมมองของไอน์สไตน์ มองว่า ความรู้นั้นมีข้อจำกัด (กล่าวคือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต)
แต่จินตนาการเป็นการมุ่งไปข้างหน้า กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนที่ และเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการ"
ซึ่งเขาก็ไม่ได้บอกให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพียงแต่ถ้าให้ชั่งน้ำหนัก เขาเลือกให้ "จินตนาการขี่กว่าอยู่หน่อยๆ" เพราะเหตุผลที่ว่าไปข้างต้น
และมันทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ เสมอ
หากจะคิดต่อยอดไปอีก ลองสมมติดูว่า
ถ้าผู้นำมีแต่ไอเดียความฝันเพียวๆ ขาดองค์ความรู้ในการดำเนินการ ก็คงจะไม่มีรางวัลใดๆ
แก่คนช่างฝัน เวลาผ่านไปสักสิบปี เขาก็ยังอาจจะคงนั่งอยู่กับความฝันเหมือนเดิม
ตรงข้าม หากเอาแต่ความรู้ล้วนๆ ก็อาจมองเห็นแต่หนทางเดิม ที่มีแต่รอยเท้าคนอื่นๆ
เดินผ่านมาแล้ว ไม่อาจมองเห็นทิศทางใหม่ๆ การคิดค้นสิ่งใหม่ก็ไม่เกิด
ยิ่งเป็นยุค Disruption นี้ ที่โลกเรามีซับซ้อนรวดเร็ว บางทีความรู้เดิมๆ อาจใช้ไม่ได้ผลด้วยซ้ำไป
ก็ต้องใช้จินตนาการเข้ามาช่วยเสริมด้วย
สรุปแล้ว ผู้นำจึงควรต้องมีทั้งสองอย่าง เพราะทั้งคู่เป็นเรื่องสำคัญ เหมือนขาข้างซ้ายและขวา
ที่ทำให้งานเดินไปได้ และไม่มีใครมาจำกัดว่าต้องมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
อย่าง บิล เกตส์ แม้คนทั่วไปจะรับรู้ว่า เขาเป็นหนอนหนังสือ แต่จริงๆ แล้วเขาก็มีจินตนาการมากพอ
ที่จะเห็นภาพของโลกที่ทุกคนมีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวอยู่บนโต๊ะ ตั้งแต่ ปี 1975 แล้ว
ทำให้เขามุ่งมั่นที่จะสร้างบริษัท ไมโครซอฟท์ขึ้นมา โดยมีแนวร่วมคือ พอล อัลเลน
ส่วนกรณีของ จ๊อบส์เอง ก็มีคู่หูที่มีความรู้ทางเทคนิคอย่าง สตีฟ วอซเนียก ที่ช่วยส่งเสริม
ทำให้จินตนาการของเขาเป็นจริง ดังนั้น ผู้นำคนใด มีส่วนใดมากน้อย ก็สามารถพัฒนาทักษะอีกด้านเสริมได้
หรือ ลองหาตัวช่วยจากทีมงาน เพื่อให้งานเดินได้ ก็เป็นอีกทางเลือก
ไม่ต้องเสียเวลาเถียงกัน ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ หรือ ความรู้สำคัญกว่าจินตนาการ
เพราะ สิ่งสำคัญกว่าทั้งคู่ คือ การเริ่มลงมือทำ
เอ้า! วันจันทร์แล้ว เริ่มต้นลงมือทำงานกันเถอะครับ
----------------------------------
Content: อนิรุทธิ์ ตุลสุข
Sources: Start with Why
![]() |
Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking |
องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ
Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ
Parkinson's Law ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคร้าย แต่ความหมายของมันคือ “Work expands so as to fill the time available for its completion.” หรือว่าง่ายๆ เวลามีมากแค่ไหน สุดท้ายก็ทำงานเสร็จตอน deadline อยู่ดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ คุณโดน Pakinson's Law จ้องเล่นอยู่ครับ
ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ
ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย
ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน