เมื่อองค์กรคุณเริ่มเป็นไซโล จะมี 5 สัญญาณบ่งบอกดังนี้

วันที่: 20 ก.พ. 2563 16:12:10     แก้ไข: 27 มี.ค. 2565 21:26:37     เปิดอ่าน: 1,804     Blogs
โพสก่อนหน้านี้ ได้พูดถึง เรื่อง องค์กรไซโล (Silo Organization) จึงอยากขยายความ
เผื่อว่าท่านใดอยากรู้ว่า องค์กรเราแปรสภาพจากบริษัทเป็นไซโลไปรึยัง? จะสังเกตยังไงดี


เมื่อองค์กรคุณเริ่มเป็นไซโล จะมี 5 สัญญาณบ่งบอกดังนี้ ครับ

1. เริ่มรู้สึกว่าไม่รู้จักคนอื่นๆ นอกจากคนในทีมตัวเอง

2. เริ่มมีบรรยากาศการทำงานแบบ "พวกเขา" และ "พวกเรา" เป็น
พวกแผนกบัญชี พวกมาเก็ตติ้ง หรือ พวกเซลส์ ฯลฯ และรู้สึกว่าพวกทีมอื่นๆนี้
มักจะสร้างภาระ จนไม่อยากดีลงานด้วย เช่น พวกบัญชีชอบเขี้ยวในเรื่องไม่เป็นเรื่อง
จุกจิก หรือ พวกเซลส์ชอบรับปากลูกค้าและสร้างปัญหาตามมาเสมอ

3. พนักงานหลายคน เกิดความรู้สึกว่าไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
ไม่มีความสุขกับการทำงาน ประสานงานลำบาก

4. พนักงานรู้สึกว่าแต่ละทีมทำงานซ้ำซ้อนกัน เนื่องจากขาดการสื่อสารระหว่างกัน
ซึ่งนำไปสู่ความไร้ประสิทธิผลและสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานไป

5. ลูกค้าเริ่มบ่นว่าองค์กรของคุณทำงานไม่ประสานกัน จนเขาเสียความรู้สึกเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์
และได้รับประสบการณ์ที่แย่ๆ เมื่อต้องติดต่อองค์กรของคุณ เช่น "คราวที่แล้วติดต่อมา
บริษัทคุณไม่ส่งต่อข้อมูลกันรึไง" หรือ ทำนองว่า "เซลส์ของคุณบอกไว้อย่างนี้ ทำไมไม่ตรงกันล่ะ"

หากปล่อยไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดผลกระทบต่อองค์กรหลายด้าน
และหนีไม่พ้นผลประกอบการขององค์กรในท้ายที่สุด
ซึ่ง #ทุกคนจะโดนถ้วนหน้าไม่ว่าแผนกไหน

แม้เราจะรู้ว่าการแก้ไข ว่าต้องเริ่มที่ความคิด หรือ Mindset ที่เหมาะสม
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องของใครคนหนึ่ง แม้แต่ HR

แต่วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ต้องเริ่มที่ทีมผู้บริหารระดับสูง (Executive team)
ตระหนักถึงผลกระทบนี้ และผู้บริหารทุกแผนก ต้องเป็นผู้เริ่มต้นแก้ไขร่วมกัน

เพราะองค์กรแบบไซโลยิ่งไม่เอื้อต่อการอยู่รอดและเติบโตทางธุรกิจยิ่งกว่ายุคก่อนมาก
เนื่องจากยุคนี้ การเรียนรู้ให้เร็วเป็นปัจจัยสำคัญ ทุกฝ่ายต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพงานให้เร็ว

รวมทั้งต้องประสานงาน ทำงานเป็นทีมให้มาก (cross-function)
เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีต่อบริการและผลิตภัณฑ์มากที่สุด (customer exprerience)

ตรงข้าม ต้องลดโครงสร้าง กฎระเบียบ และขั้นตอนต่าง ๆ ให้น้อยลง
เพื่อเอื้อการตัดสินใจของพนักงานเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์หน้างานให้มากที่สุดด้วย

ดังนั้น ถ้าอยากให้องค์กรเติบโต "ผู้นำ" ต้องเริ่มทำลายกำแพงไซโลที่ขวางกั้นก่อน
และเมื่อทำให้ผู้ตามร่วมแรงร่วมใจกันได้ "องค์กรของเรา" ก็จะเติบโตและอยู่รอดในยุคสมัยนี้ได้ครับ

----------------------------------
Content & PhotoKnowledge: อนิรุทธิ์ ตุลสุข

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้ องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ
Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้

องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ

Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้ Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ
Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้

Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ

Pakinson
Pakinson's Law เวลาที่มีไม่เคยพอ เพราะเราจะรอจนถึง Deadline New

Parkinson's Law ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคร้าย แต่ความหมายของมันคือ “Work expands so as to fill the time available for its completion.” หรือว่าง่ายๆ เวลามีมากแค่ไหน สุดท้ายก็ทำงานเสร็จตอน deadline อยู่ดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ คุณโดน Pakinson's Law จ้องเล่นอยู่ครับ

Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ
Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว

ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ

World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่ ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย
World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่

ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย

ผลการสำรวจ  3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน
ผลการสำรวจ 3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม

ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน