แวดวง HR สะเทือนอีกครั้ง เมื่อมีข่าวว่า AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ สามารถทำนายแนวโน้มการลาออกของพนักงานได้ ด้วยความแม่นยำถึง 95% แล้ว
โปรแกรมที่ว่า คือ โครงการ Predictive Attrition Program เพื่อการทำนายการลดจำนวนพนักงาน นั่นเอง
IBM HR ได้จดสิทธิบัตรของโปรแกรมนี้ไว้แล้ว ซึ่งมันทำงานด้วยการใช้ AI ที่พัฒนาต่อยอดจาก IBM Watson ซึ่งเป็น product หนึ่งของบริษัทที่พัฒนาขึ้นตามแนวทางการเรียนรู้ของมนุษย์ นั่นคือ ไม่ใช่แค่ ระบบ ถาม-ตอบคำถาม ตามฐานข้อมูลเท่านั้น แต่ระบบสามารถ ทำความเข้าใจ (understand) ให้เหตุผล (reason) และสามารถเรียนรู้ (learn) จากข้อมูลรวมถึงปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ได้
AI ตัวนี้ จะวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆของพนักงาน จากนั้นจะทำนายผลว่าพนักงานมีแนวโน้มจะลาออกจากบริษัทมากน้อยแค่ไหน แล้วจึงแนะนำสิ่งที่ผู้จัดการ หรือ หัวหน้าทีมควรทำในการเข้าหาพูดคุยกับพนักงานรายนั้น
Ginni Rometty ซีอีโอของ IBM บอกว่า บริษัทของเธอได้ใช้ AI นี้ช่วยคาดการณ์การลาออกของพนักงานได้แม่นยำถึง 95 เปอร์เซ็นต์ !
พูดถึงแค่ความแม่นยำ ยังอาจน่าตกใจไม่พอ แต่ถ้าบอกว่าเม็ดเงินที่ AI สามารถลดค่าใช้จ่าย ในการรักษาพนักงาน (Retention) ได้ถึง ราวๆ 300 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 9 พันล้านบาท !!
คงไม่ใช่แค่ผู้บริหารองค์กรที่หูผึ่งกับสิ่งนี้แล้วล่ะ เพราะทาง HR เองก็คงเสียวแว๊บเช่นกัน เพราะ ทาง IBM เผยว่า เมื่อใช้งาน AI ตัวนี้ แล้ว ขนาดฝ่ายทรัพยากรบุคคลลดลงไปถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เรียกได้ว่า ถ้ามีบริษัทเรามี HR สัก 10 คน เพื่อนเราก็จะหายไป 3 คน นั่นแหละ
แต่ ซีอีโอ IBM ยังมองในแง่ดีว่า เพราะ ถึง AI จะเข้ามามีบทบาท ก็ในความเป็นจริง องค์กรก็ยังต้องพึ่ง ทักษะฝ่าย HR ที่เป็นคนจริงๆ อยู่ดี เพื่อพิจารณาในรายละเอียดว่าพนักงานต้องการอะไร หรือ แม้แต่ต้องใช้ทักษะ การพูดคุยประสามนุษย์ที่มีเลือดเนื้อจิตใจเหมือนกัน เพื่อรั้งพวกเขาไว้กับบริษัท
ดังนั้น การลดเวลาที่ไม่จำเป็นด้วยการใช้ AI ทดแทน จึงทำให้ มนุษย์ชาว HR อย่างเราๆ ได้มีเวลาไปพัฒนาทักษะด้านอื่นที่จำเป็นจริงๆ ต่างหาก
ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นแค่คำพูดปลอบใจหรือเปล่า แต่สิ่งหนึ่งที่น่าคิด คือ ไม่ว่าจะเป็น HR หรือ พนักงานในบทบาทใดก็แล้วแต่ ต้องได้ระบบผลกระทบจาก AI แน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว
และ ผู้ที่จะอยู่รอดได้ คือ คนที่มุ่งพัฒนาตัวเองในทักษะที่สำคัญต่องานอยู่เสมอ และหนึ่งในนั้น คือ ทักษะด้านคน ที่ AI เหล่านี้ ยังทำไม่ได้ดีนั่นเอง
![]() |
Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking |
เชื่อหรือไม่ว่า การสร้างบรรยากาศการทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น กลับเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากๆ และไม่สามารถสร้างได้ภายในระยะเวลาอันสั้น เพราะมันเป็นเรื่องของความรู้สึกของแต่ละบุคคลภายในทีมมารวมกัน อีกทั้งการวัดผลการยาก เพราะการสร้างบรรยากาศแบบ Effective Environment ต้องอาศัย ความไว้วางใจซึ่งกันและกันภายในทีม ดังนั้นการบริหารแบบนี้ หัวหน้าโดยส่วนใหญ่ก็จะ รู้ว่าต้องทำ(What) และรู้ว่าต้องทำอย่างไร (How) ด้วย แต่มักจะปฏิบัติจริงไม่ค่อยสำเร็จมากนัก มาดูกันว่าจะต้องทำอย่างไร?
การที่มีทีมงานที่เก่งขึ้น จะช่วยส่งเสริมเป้าหมายด้านการเติบโต (Growth)ขององค์กร แต่อีกสิ่งหนึ่งที่มักถูกมองข้ามไป คือ จิตใจของคน ซึ่งถ้าเขาสามารถทำงานที่รับผิดชอบได้สำเร็จหรือ ยิ่งทำงานยิ่งเก่ง ก็จะช่วยให้คนทำงานรู้สึกดีต่อองค์กรนั้นๆ จน ทำให้เกิด Engagement ต่อองค์กร ซึ่งวิธีที่จะพัฒนาคนให้เก่งขึ้นนั้น หลายคนคิดว่าเป็นความรับผิดชอบของ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นหน้าที่หลักของหัวหน้างานโดยตรง การพัฒนาผู้นำให้บริหารทีมได้ มีแนวทางดังนี้
จากการบริหารแบบ Diamond Management ซึ่งเป็นวิธีการบริหารที่สร้างความสมดุล ของเป้าหมายองค์กรทั้ง 4 ด้าน ตามที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ สำหรับในบทความนี้ จะพูดถึง การบริหารแบบ Effective Execution ซึ่งเป็นการบริหาร ที่ทำให้กลยุทธ์ที่กำหนดไว้สามารถนำไปปฏิบัติจริงจนส่งผลลัพธ์ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยหลักการของการบริหารแบบ Effective Execution มีดังนี้
หนึ่งในการบริหารแบบ Diamond Management คือ การบริหารแบบ “Driving Result” ซึ่งเป็นการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ด้านการเติบโต (Growth) กับการสร้าง ผลผลิตที่ดี (Productivity) การบริหารแบบนี้ให้ประสบความสำเร็จได้จะต้องพัฒนาผู้จัดการให้เป็นหัวหน้าประเภท Result- Oriented Leader มาทำความเข้าใจในบทความนี้กันว่า หัวหน้าแบบนี้มีลักษณะอย่างไร? และจะพัฒนา ผู้จัดการให้เป็นหัวหน้าแบบนี้ได้อย่างไร?
โลกในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก จนถึงขนาดว่ามีการให้นิยายของโลกยุคนี้ว่าเป็นโลก VUCA WORLD หรือโลกที่มีความผันผวน ไม่แน่นอนซับซ้อนและคลุมเครือ และต่อมาก็เปลี่ยนคำนิยามอีกว่าเป็นโลคยุค BANI WORLD คือเป็นโลกที่เปราะบางและคาดการณ์อะไรไม่ได้ ซึ่งในอนาคตก็คงมีการเปลี่ยนแปลงคำนิยามนี้อีกเช่นกัน แต่ไม่ว่าโลกจะถูกนิยามว่าอะไร พื้นฐานอย่างหนึ่งของโลกยุคนี้ ก็คือ โลกที่ไม่มีความแน่นอน
นิยามใหม่ของโลกธุรกิจ เปลี่ยนจาก VUCA world เป็น BANI world แล้ว องค์กรควรจะต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคนอย่างไร? บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญไม่ด้อยไปกว่า CEO หรือ ผุ้บริหารระดับสูง ที่จะพาให้องค์กรสามารถรับมือกับความท้าทายในยุคของ BANI World ได้ ก็คือ ผู้นำในระดับกลาง (Middle Management) เนื่องจากผู้บริหารระดับกลาง คือ ผู้นำที่ต้องประสานระหว่างองค์กรและพนักงาน โดยต้องส่งผ่านจุดมุ่งหมายที่องค์กรต้องการจะไป และสนับสนุนการทำงานของทีมงานให้ไปสู่เป้าหมายนั่นให้ได้