15 อันดับ งานที่น่าสนใจ ปี 2020

วันที่: 05 ก.พ. 2563 14:29:05     แก้ไข: 16 ก.ค. 2563 11:06:19     เปิดอ่าน: 1,564     Blogs
Linkedin หรือ โซเชียลเน็ตเวิร์คของคนทำงาน
คาดการณ์ว่า 15 อันดับงานที่น่าสนใจ ในปี 2020 กว่าครึ่ง
เป็นอาชีพทางข้อมูล ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีโลกสมัยใหม่ทั้งนั้น


นี่คือ การตอกย้ำชัดเจนว่า ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกใบใหม่
เป็นยุคของ Raise of the Machines แล้ว


ยิ่งเทคโนโลยีเหล่านั้นสามารถ ทำสิ่งต่างๆ ได้ทัดเทียม (หรือมากกว่า) มนุษย์เท่าไร
ยิ่งถูกคนทำงานมองว่า เป็นศัตรูตัวร้าย หรือ คู่แข่งขันที่จะมาทดแทนแรงงานคน
ไม่แปลกที่หลายคนเริ่มกังวลและกลัวว่า..

นี่คือ จุดเริ่มสงครามการแย่งอาชีพ ระหว่าง"หุ่นยนต์" และ "คน"

แล้วคนทำงานต้องทำอย่างไร เพื่อไม่ให้พ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้?
ผมมีข้อแนะนำเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ครับ

1. "อย่าวิ่งแข่งกับม้า"
ไม่ใช่แค่หุ่นยนต์ นับตั้งแต่อดีต แม้แต่สัตว์อื่นๆ คนก็ไม่เคยเอาชนะได้

คนไม่มีพลังและคมเขี้ยวแบบเสือเพื่อล่าสัตว์อื่น ไม่มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงวิ่งได้รวดเร็วเท่าม้า
แต่คนก็ยังรอดและวิวัฒนาการมาได้จนถึงปัจจุบัน และอยู่บนยอดพิระมิดของห่วงโซ่อาหารได้


งานบางอย่างหุ่นยนต์ทำได้ดีกว่าคนแน่ๆ เช่น การคำนวณเชิงตัวเลข
ความรวดเร็วและแม่นยำในกระบวนการ ฯลฯ ขนาดอดีตแชมป์โกะ มือ 1
อย่าง อี เซ-ดล ที่ว่าแน่ๆ ยังแพ้ AI อย่าง AlphaGo อย่างหมดรูปเลยครับ และตอนรีไทร์ เขาได้กล่าวว่า


“แม้ว่าผมจะได้เป็นอันดับหนึ่ง แต่มันยังมีสิ่งที่ไม่สามารถเอาชนะได้อยู่”

ดังนั้น อย่าไปวิ่งแข่งกับม้า เพราะวิ่งยังไงไม่ชนะ แต่ต้องหรือรู้จักวิธีควบคุม
และใช้งานม้าให้เป็น หรือดูว่าเราจะอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์ได้อย่างไร
เพื่อให้เกิดการทำงานที่ลงตัวและได้ผลลัพธ์ขององค์กร


2. "มองหาคุณค่าที่แตกต่าง"
ใช้กลยุทธ์แบบน่านน้ำสีคราม (blue ocean) ลองมองหาคุณค่าอื่นๆ
ที่แตกต่างที่เรามอบให้องค์กรได้ ถ้าจุดแข็งของ "หุ่นยนต์" มีมากมาย
แต่จุดไหนล่ะที่ แมชชีนเหล่านี้ ยังไม่ตอบโจทย์ขององค์กร?


เช่น งานที่ต้องใช้ความรู้สึกระหว่างมนุษย์ด้วยกัน งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์
ออกนอกกรอบ หรือ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ฯลฯ
และพยายามเพิ่มศักยภาพของตัวเราในจุดนั้น


3. "พัฒนาทักษะความเป็นคน"

หนทางที่จะชนะได้เด็ดขาด คือ คงความเป็นมนุษย์ไว้ ซึ่งมันก็คือความสามารถทั่วๆไป
ที่ติดตัว และเป็นเอกลักษณ์ของคนที่แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ และทำให้เรามีวิวัฒนาการมาจนวันนี้ได้


เช่น ความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) อารมณ์ (Emotion) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
ความเข้าใจในนามธรรม (Abstract) ความลึกซึ้งในเรื่องคน (Human Insight)
ประสบการณ์ส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไป (Exprerience) ฯลฯ


ฟังดูเหมือนเรื่องเดิมๆ แต่ล้วนเป็นคุณค่าที่คนได้เปรียบหุ่นยนต์ชัดเจน อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาอันใกล้นี้


สิ่งเดียวที่น่าเป็นห่วง คือ ปัจจุบันคนเรายังมีจุดแข็งนี้ไหม?

เราสามารถการทำงานเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจแบบสัตว์สังคมอยู่หรือเปล่า?

เราพยายามทำความเข้าใจ ลูกค้า ลูกน้อง หรือ คนรอบข้างอย่างแท้จริงไหม?
หรือมองแต่ ตรรกะ เหตุผล ว่าจำเป็นมากกว่า จนละทิ้ง จนเพิกเฉยปัจจัยด้านอารมณ์


เราใช้จินตนาการและประสบการณ์ เพื่อพัฒนางานได้ไหม? หรือยังคงทำเหมือนเดิม
โดย copy & paste ในทุกๆ ปี แล้วคาดหวัง ความมั่นคง หรือเงินเดือนและโบนัสที่มากกว่าเดิม


เพราะหากปราศจากความได้เปรียบเหล่านี้ คนก็จะไม่ต่างจากหุ่นยนต์
และคงไม่ต้องเดาว่าฝ่ายไหนจะเสียท่า

หากคนจะเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามอาชีพนี้ ไม่ใช่เพราะหุ่นยนต์
แต่อาจเป็นตัวเราที่ตัดหนทางชนะด้วยตัวเอง


ดังนั้น เตรียมตัว Upskill / Reskill หรือ แม้แต่ Reinvent ทักษะความเป็นคนให้มากขึ้น
จะเป็นหนทาง ที่จะเติมเต็มความสำเร็จให้กับองค์กรในสิ่งที่ขาด และหากผสานและผนึกกำลังกับเทคโนโลยีได้
ทุกคนจะก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงนี้ไปด้วยกัน และนี่คงเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์แบบนี้ครับ

----------------------------------
Content: aniruthT
Photo: Webster2703 จาก Pixabay

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้ องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ
Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้

องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ

Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้ Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ
Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้

Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ

Pakinson
Pakinson's Law เวลาที่มีไม่เคยพอ เพราะเราจะรอจนถึง Deadline New

Parkinson's Law ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคร้าย แต่ความหมายของมันคือ “Work expands so as to fill the time available for its completion.” หรือว่าง่ายๆ เวลามีมากแค่ไหน สุดท้ายก็ทำงานเสร็จตอน deadline อยู่ดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ คุณโดน Pakinson's Law จ้องเล่นอยู่ครับ

Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ
Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว

ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ

World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่ ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย
World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่

ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย

ผลการสำรวจ  3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน
ผลการสำรวจ 3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม

ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน