5 สิ่งที่บอกว่าคุณเป็นหัวหน้าที่ EQ ดี หรือไม่?

วันที่: 06 พ.ย. 2565 20:15:42     แก้ไข: 07 พ.ย. 2565 08:51:42     เปิดอ่าน: 1,109     Blogs
Danial Goldman อธิบายว่า ความฉลาดทางอารมณ์นั้น มีส่วนผสมของทั้งทักษะ (Skills) และ คุณลักษณะ 5 ประการ ที่คนเราสั่งสมมา ดังนี้
  1. Self-awareness การรู้จักตัวเอง หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ และเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก และแรงจูงใจภายในตัวเอง รวมถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและคนอื่นๆ
  2. Self-regulation การรู้จักควบคุมตนเอง หมายถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนอารมณ์ แรงกระตุ้นในทางลบ ไม่ด่วนตัดสิน และควบคุมการกระทำของตนเองได้
  3. Motivation มีแรงจูงใจ หมายถึง การมีเป้าหมายในการทำงาน ที่เกิดจากความมุ่งมั่นภายในตนเอง มากกว่าแรงจูลใจภายนอก เช่น เงิน หรือ สถานะทางสังคม และแรงจูงใจนี้จะทำให้เกิดความพยายามไปสู่เป้าหมาย
  4. Empathy ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น หมายถึง ความสามารถในการทำความเข้าใจอารมร์ผู้อื่น และทักษะในการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม
  5. Social Skills ทักษะทางสังคม หมายถึงความสามารถในการบริหารจัดการความสัมพันธ์ การสร้างเครือข่าย และการแสวงหาจุดร่วม

งานวิจัยหลายด้านได้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า ความฉลาดทางอารมณ์เป็นปัจจัยที่กำหนดความเป็นผู้นำได้มากกว่าความรู้ความสามารถ และสติปัญญา

ความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้คนประสบความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงาน เราจะเห็นได้ว่า ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง จะเป็นคนที่มีภาวะผู้นำที่ดีกว่า เพราะจะมีสติรู้ตัวว่า ตัวเองมีจุดดี-จุดด้อยอย่างไร และควบคุมการกระทำตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้

ในการบริหารงาน ก็มักจะเป็นผู้ที่มีแรงจูงใจ ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ เพื่อไปถึงเป้าหมาย ซึ่งในยุคใหม่ ก็เรียกว่า resillence นั่นแหละครับ นอกจากนี้ก็ยังเป็นคนที่ลงมือทำงาน และจัดการปัญหาต่างๆ (Execute) ได้ดีอีกด้วย

ด้านการบริหารคนก็ตาม ลูกน้องก็จะเคารพนับถือ เพราะปฎิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม มีสติ คุมการกระทำได้ ไม่ระเบิดอารมณ์ใส่ลูกน้อง อีกทั้งสามารถโน้มน้าว จัดการปัญหาในเรื่องคนได้อย่างลงตัว ยิ่งหากเห็นอกเห็นใจ และมีทักษะทางสังคมดีด้วยแล้ว ลูกน้องจะตามด้วยความเต็มใจ ไปถึงไหนถึงกันเลย

ลองตรวจเช็คทั้งห้าด้านนี้กันนะครับ ว่าปัจจุบันเรามีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ มากแค่ไหน และต้องปรับด้านใดกันบ้าง แล้วเริ่มฝึกกันเลยครับ

ป.ล. ความฉลาดทางอารมณ์ เดิมทีในหนังสือของ Goleman ใช้คำว่า Emotional Intelligence แต่ผมขออนุญาตใช้คำว่า EQ หรือ Emotional Quotient ซึ่งเป็นคำที่เราคุ้นหูกันมากกว่าครับ โดยรวมความหมายไม่ต่างกันนัก

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้