Dunning-Krugger Effect: ยิ่งรู้น้อย ยิ่งเข้าใจว่าตัวเองเก่งมาก

วันที่: 24 ก.ค. 2562 13:42:10     แก้ไข: 21 ก.ค. 2563 15:50:42     เปิดอ่าน: 3,892     Blogs
เคยสังเกตไหม ว่าทำไมบางคน จึงมั่นใจว่าตัวเองเก่งกว่าความเป็นจริง จนบางที เราถึงกับนึกว่า หากเขามีความสามารถนั้นได้เศษเสี้ยวของความมั่นใจคงจะดี 

คำตอบของสิ่งนี้ถูกเฉลยด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อนักจิตวิทยาสองคน ได้แก่ Dunning & Kruger ได้ทำการวิจัย ซึ่งสามารถสรุปใจความสั้นๆ ได้ว่า
ที่คนเรามั่นใจเกินความรู้ เพราะว่า "รู้น้อยจนไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไรอีกมาก" 

ช่วงแรก ที่ไม่รู้อะไรเลย คนเรารู้ตัวดีว่ายังขาดความรู้ ต่อมา เมื่อเริ่มรู้เล็กน้อย หลายคนจะเกิดอาการ "ร้อนวิชา" และเข้าใจผิดว่า ตัวเองรู้มากเกินกว่าความเป็นจริง ความมั่นใจจะถาโถมเข้ามาจนล้นปรี่ บ้างก็คุยโวจนเป็นที่น่าหมั่นไส้ของเพื่อนๆ

ปรากฏการณ์รู้น้อยแต่มั่นใจมาก จึงเกิดขึ้นตอนนี้ และเป็นอคติทางความคิด (Cognitive Bias) แบบหนึ่งที่ทำให้คนคิดและแสดงพฤติกรรมเหมือนกับสำนวนไทยที่ว่า "กบในกะลา" ที่เข้าใจว่าภายใต้กะลา คือ โลกทั้งหมด และไม่รู้ว่ายังมีโลกใบที่ใหญ่กว่าอยู่ จึงคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่ และไม่เห็นว่าต้องรู้อะไรเพิ่มอีก

ที่สำคัญ #มันเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้แต่ตัวเรา และความหลงผิดนี้ เป็นศัตรูตัวร้ายลำดับต้นๆ ของการเรียนรู้ และพัฒนาตัวเอง!!
จนกว่าจะมีความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น และมากเพียงพอที่ทำให้รู้สึกตัวได้ว่า กะลาใบนั้นเป็นเพียงโลกปลอมๆ ที่ตนเองสร้างขึ้น และมันไม่ใช่โลกที่แท้จริง 


เมื่อเริ่มรู้สึกตัว การเรียนรู้ที่แท้จริง ก็เริ่มต้น ณ จุดเดียวกัน

ผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ (เรียกแบบนี้ เพราะคิดว่าเขาคงไม่เคยยืดอก เที่ยวป่าวประกาศตัวเองว่า ฉันคือนักปราชญ์นะโว้ย) จึงมักใช้วิธีนี้ เพื่อสร้างการเรียนรู้

เช่น ขงจื้อที่มองว่า หนทางสู่การเรียนรู้ คือ ต้องรู้ว่าตัวเองไม่รู้เสียก่อน 
ส่วนโสกราติส ที่อยู่ห่างออกไปในอีกซีกโลก ก็คิดคล้ายกัน
โดยแกมักบอกเสมอว่า “ข้าพเจ้ารู้อย่างเดียวว่าข้าพเจ้าไม่รู้”
(ซึ่งกลายเป็นวาทะซิกเนเจอร์ที่สร้างความประทับใจ และงงงวยแก่ผู้คนไปพร้อมๆกัน) เพื่อ เคาะกะโหลก เตือนตัวเองว่ายังต้องค้นหาความรู้อีกเยอะ
ยิ่งกว่านั้น แกยังเริ่มต้นเคาะกะโหลก เปิดกะลาคนอื่นๆ ด้วยการเที่ยวไล่ถามคนที่เข้าใจว่ารู้เยอะ รู้มากแล้ว จนคนพวกนั้นจนมุมกับคำถามพิสดารเจาะลึกของแก จนตระหนักรู้ตัว (ทั้งในแบบเต็มใจและไม่เต็มใจ) ว่าจริงๆแล้ว (กรู) ก็ไม่ได้รู้อะไรมากเท่าไรนี่หว่า 

เรียกว่าเป็นวิธีการสร้างการรู้ตัว (Self-awareness) ที่แสบสันต์ไม่เบา แต่ก็ได้ผลชะงัก

ขงจื้อ จากโลกไปแล้ว กว่า 2,500 ปี ...
ในอีกเกือบร้อยปีถัดมา โสกราติสก็ไม่อยู่เคาะกะโหลกใคร ให้ออกจากกะลาแล้ว .....

แต่ "ความไม่รู้" ยังคงอยู่กับเราทุกคนเหมือนเดิม
และ "การนึกว่าตัวเองรู้ทั้งๆ ที่ไม่รู้" ก็ยังตามติดกับคนบางคนต่อไป

ตราบเท่าที่ยังไม่รู้ตัวว่า ยังโลกใบนี้กว้างใหญ่กว่ากะลาที่ครอบอยู่ 
ความมั่นใจผิดๆ ที่ทำให้มนุษย์เราคุยโอ่ ทั้งที่รู้น้อย ก็ยังทำหน้าที่ของมันต่อไปเรื่อยๆ 


ว่าแต่ ตอนนี้คุณยังมีเรื่องไหน ที่มั่นใจว่าตัวเองเก่งมากๆ จนไม่ต้องเรียนรู้บ้างไหมล่ะ?

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 
อ้างอิง : Kruger and Dunning's 1999 study, "Unskilled and Unaware of It: How Difficulties in Recognizing One's Own Incompetence Lead to Inflated Self-Assessments"

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ