How to Create Willingness at Work

วันที่: 19 ธ.ค. 2561 11:56:54     แก้ไข: 19 ธ.ค. 2561 13:16:03     เปิดอ่าน: 1,511     Blogs
จากที่ผมเคยพูดคุยกับผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ทั้งที่มีประสบการณ์ หรือเพิ่งได้รับตำแหน่งใหม่ สิ่งที่ยากและสร้างความปวดหัวเป็นอย่างมาก กลับไม่ใช้งานยากที่ท้าทาย แต่กลับเป็นเรื่อง “การบริหารคน”  ที่มักจะ “ทำ”หรือ “ไม่ทำ” อะไรตามที่ผู้บริหารต้องการอยู่เสมอ หรืออาจเรียกง่ายๆว่า “ขาดความใส่ใจในการทำงาน” บางเรื่องก็ดูแล้วน่าจะเป็นเรื่อง Common Sense ธรรมดาๆ แต่ทำไมกลับคิดเองไม่ได้  หรือ บางเรื่องก็เป็นเรื่องสำคัญต่อองค์กร หรือความเป็นความตายของงาน กลับทำเฉยๆ แล้วดูไม่ใส่ใจมากเท่าที่ควร

จนหัวหน้าหลายคนตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับคนของเขา? ทีมงานไม่เก่ง ไม่ฉลาด ไม่มีไหวพริบหรือเปล่า? แต่คำตอบส่วนใหญ่ ก็จะเหมารวมว่า ทีมงานหรือลูกน้องคนนั้นๆ “ทัศนคติ” ไม่ดี เป็นตัวก่อปัญหาให้ทีมงาน และทางแก้ที่มักทำกันคือ การเพิกเฉยต่อเขาจนกลายปัญหาเรื้อรังในหน่วยงาน!  

จากปัญหาเพียงปัญหาเดียวว่า “ทำไมลูกน้องถึงไม่ใส่ใจในการทำงานเท่าที่ควร”  ผมว่าสาเหตุของปัญหาสามารถเกิดขึ้นได้หลายทางมาก  บางคนอาจเกิดจากปัจจัยภายในของตัวลูกน้องเอง แต่ในบางคนอาจเกิดปัจจัยแวดล้อมภายนอกตัวเขาก็ได้  สำหรับในครั้งนี้ผมขอกล่าวถึงเฉพาะในส่วนปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในตัวลูกน้องก่อนนะครับ

ก่อนตอบปัญหานี้ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ความใส่ใจ” หรือ Willingness ของคนเกิดขึ้นจากอะไร?

สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ ตามลำดับเริ่มจาก   I Know”  ก่อนแล้วนำไปสู่ I Understand” จนเกิด “I Can” จนผลสุดท้ายเกิด I Will” ดังนั้นการจะสร้างความใส่ใจในการทำงานจึงมีขั้นตอน ไม่ใช่แค่เพียงบอกให้ “รู้” จะนำไปสู่ “ความใส่ใจ” ได้เลย

ขั้นตอนแรก การบอกให้ “รู้” จะเป็นขั้นของ “สมอง” เป็นเรื่องของเหตุและผล การทำแค่เพียงสั่งๆ โดยไม่มีเหตุผลที่สมเหตุ สมผลมาประกอบ ก็อาจทำให้คนรับรู้สึกว่ายังมีอะไรติดๆอยู่ อย่าคาดหวังว่าจะกระโดดไปถึงขั้นใส่ใจเลย แต่ขั้นรู้ ก็อาจจะยังไม่เกิดขึ้น

ขั้นที่สอง “เข้าใจ” ขั้นนี้เป็นขั้นที่เกี่ยวข้องกับ “จิตใจและอารมณ์” ล้วนๆ ดังนั้นขึ้นนี้คือขั้นการทำให้ลูกน้องมีความรู้สึกที่ดี และยอมรับมัน ซึ่งต้องอาศัยการเปิดใจซึ่งกันละกัน ขั้นนี้อาจจะใช้เวลาบ้าง แต่ถ้าเปลี่ยนใจลูกน้องได้ คุณจะได้ลูกน้องทีมีทัศนคติที่ดีต่องานชิ้นนั้นๆเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน

ขั้นที่สาม “สามารถ” ขั้นนี้เกี่ยวข้องกับ “การลงมือทำ” ซึ่งขั้นนี้จะช่วยเสริมทั้งทักษะ และทัศนคติ เพราะการได้ลงมือทำ ลูกน้องนั้นจะพบว่ามันไม่ยากอย่างที่คิด แต่การมาถึงขั้นนี้ได้ อย่าลืมว่าต้องผ่านสองขั้นก่อนหน้านี้มาก่อนนะครับ เพราะถ้าไม่ผ่าน นอกจากจะไม่ส่งผลดีแล้ว ยังอาจทำให้รู้สึกว่าเป็นการกดดัน หรือบีบบังคับได้

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ถ้าหัวหน้าคนใดที่ได้ทำสามขั้นตอนนี้ครบ จะทำให้ลูกน้อง “เกิดความใส่ใจ” ในการทำงานมากขึ้น ถึงแม้จะเสียเวลาไปบ้างในช่วงเริ่มต้นเมื่อเปรียบเทียบกับการสั่งการไปเลย แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ลูกน้องที่มีความตั้งใจในงาน และลดเวลาที่อาจใช้ในการแก้ไขปัญหาที่จะตามมาอีกมากมาย
“คุ้มมาก! ลองทำดูนะครับ”  

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน

ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism ทักษะการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต และคนทำงานจะอยู่ยากถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม  กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิด ซึ่งได้แก่
ทักษะการคิดจะเพิ่ม ถ้าเริ่มพัฒนา Thinking Mechanism

ทักษะการคิด เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต และคนทำงานจะอยู่ยากถ้าปราศจากระบบความคิดที่เหมาะสม กูรูหลายท่านระดับโลกจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันครับว่า ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่จะช่วยได้ ก็คือ การยกระดับระบบการคิด ซึ่งได้แก่