กรณีศึกษาเมื่อมองโลกด้วยแว่นตาสีเทา โรคซึมเศร้าในมนุษย์เงินเดือน

วันที่: 24 ก.ค. 2562 13:30:42     แก้ไข: 28 ม.ค. 2563 13:24:30     เปิดอ่าน: 2,261     Blogs
เพราะในวัย 35-50ปี อาจจะเป็นช่วง Middle crisis หรือวิกฤติชีวิตวัยกลางคน ที่ใครหลายๆคนในช่วงอายุดังกล่าวต้องแบกรับความกดดัน ทั้งจากในเรื่องหน้าที่การงาน หนี้สิน ปัญหาทางบ้านและปัญหาสุขภาพที่เริ่มถามหาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

เมื่อไม่ไหวบอกไหว และเพราะเป็นผู้ใหญ่จึงเจ็บปวด เมื่อทั้งความเครียดและความกดดันที่สะสมไว้ภายใน ที่เราพยายามแบกรับไว้จนถึงจุดที่จิตใจไม่อาจทนรับได้ไหว กลไกของสมองจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปจนอาจทำให้เราเปลี่ยนจากการมองโลกที่เคยสดใส ทำให้ทุกอย่างกลับกลายเป็นการมองผ่านแว่นตาสีเทา

ในวันที่มองโลกผ่านแว่นตาสีเทา
โลกของผู้ป่วยซึมเศร้านั้นมักจะเป็น "สีเทา" การมองโลกและความรู้สึกนึกคิดมักจะบิดไปในแง่ร้าย มองไปทางไหนก็ไม่มีความสุข ความกังวลใจจะมีในทุกเรื่อง จนทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข จนพยายามจะเริ่มหาวิธีให้หลุดพ้นจากแว่นตาสีเทาที่ใส่อยู่

ถ้าโรคมะเร็งเป็นลักษณะของโรคร้ายทางกายภาพที่ค่อยๆกัดกินทำลายสมรรถนะในการทำงานของร่างกาย “โรคซึมเศร้า” ก็คงเปรียบเสมือนมะเร็งร้ายที่กัดกร่อนทำลายสภาพจิตใจไม่ต่างจากกัน โดยข้อมูลของกรมสุขภาพจิตในปี 2561 ที่ผ่านมามีการเปิดเผยตัวเลข จำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าในประเทศไทยที่สูงถึง 1.5 ล้านคน โดยมีผู้ที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายจากภาวะดังกล่าว 1 คน ในทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยปัจจุบันอัตราผู้ป่วยซึมเศร้ากว่า 300 ล้านคนทั่วโลก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในทุกปี โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุเฉลี่ย 35-50 ปีขึ้นไป

เมื่อ "โรคซึมเศร้า" โจมตีเรา
เมื่อภาวะซึมเศร้านั้นคือ “โรค” ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยการใช้ยาและวินิจฉัยจากจิตแพทย์ 

ฉะนั้นผู้ที่จะบอกได้ว่าเราอยู่ในภาวะนี้หรือไม่นั้นคือแพทย์ เพราะในบางครั้งที่เราเกิดภาวะซึมเศร้าในจิตใจตนเองขึ้นมา เราก็มักจะคิดและวินิจฉัยเอาเองว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้า
เพราะจุดสำคัญผู้ที่ป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" จริงๆนั้นมักจะไม่รู้ตัว และกว่าจะรู้ตัวก็มาถึงปลายทางที่โรคซึมเศร้านั้นเข้าทำลาย จนเกิดความเสียหายและผลร้ายต่อตนเองและคนรอบข้าง

เมื่อ "ป่วย" แต่ไม่ยอมรับว่าป่วย จุดตระหนักรู้และยอมรับในการเป็นโรคซึมเศร้าของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางคนนั้นรู้ตัวตอนเริ่มร้องไห้ฟูมฟาย อาละวาดฟาดงวงฟาดงาใส่ลูกน้องในความผิดเล็กๆน้อยๆ บางคนรู้ตัวตอนคนรอบข้างเริ่มมองด้วยสายตาที่สงสัยและไม่เข้าใจในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางคนเริ่มรู้ตัวตอนนั่งคุยและร้องไห้กับต้นไม้ แต่บางคนก็สายเกินไปที่จะมีโอกาสได้รู้ตัว

เมื่อต้องร่วมงานกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
เพราะซึมเศร้านั้นคือโรคที่สารเคมีในสมองที่ชื่อว่า "เซโรโทนิน" นั้นผิดปกติ การใช้ยาและรักษาตามคำแนะนำของแพทย์นั้นช่วยให้โรคนี้หายได้ โดยใช้ระยะเวลาในการปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้น
ในฐานะเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน สิ่งสำคัญที่เราต้องให้นั้นคือ "ความเข้าใจ" และให้ "เวลา"

เพราะผู้ที่ป่วยซึมเศร้านั้นส่วนใหญ่ไม่ต้องการคนปลอบใจ แต่ขอมีเพียงคนที่ไว้วางใจได้ เพื่อที่จะได้ระบายความทุกข์สาหัสในจิตใจนั้นออกมา ฉะนั้นสิ่งสำคัญของการเป็นเพื่อนร่วมหรือหัวหน้างานที่ต้องทำงานร่วมกับผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้านั้น ก็คือการฟังด้วยความเข้าใจและไม่ตัดสิน ให้โอกาสและให้อภัยในวันที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นทำผิดพลาดไป เพียงเท่านี้ก็คงจะไม่ยากเกินไปที่จะทำให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากและโหดร้ายนี้ไปด้วยกัน

#เพราะสิ่งสำคัญในการอยู่ร่วมกัน คือ การฟังอย่างเข้าใจและไม่ตัดสิน
อ้างอิง : www.dmh.go.th, www.honestdocs.co.th

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้