คณะละครสัตว์ดัง เซิร์ค ดู โซเลย์ ประกาศล้มละลายแล้ว!

วันที่: 21 ก.ค. 2563 16:26:57     แก้ไข: 21 ก.ค. 2563 16:31:19     เปิดอ่าน: 2,705     Blogs
คณะละครสัตว์ดัง เซิร์ค ดู โซเลย์ ประกาศล้มละลายแล้ว!

เป็นหนึ่งในเคสที่ทำให้ผมใจหายช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้เลย
แม้ว่าผมไม่ได้เป็นแฟนพันธ์ุแท้ หรือเคยดูโชว์ของเขาก็ตาม

แต่มีความผูกพันแบบบางๆ เพราะคณะโชว์นี้ เคยเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่ดีของการปรับกลยุทธ์ในแบบนวัตกรรมเพื่อเข้าสู่น่านน้ำใหม่ หรือ ที่เราคุ้นกันดีในชื่อ Blue Ocean Strategy นั่นเอง

"เซิร์ค ดู โซเลย์” แปลว่า “คณะดวงตะวัน” เป็นคณะละครสัตว์ดาวเด่นในระดับที่เรียกว่า ใช้เวลาก่อตั้งแค่ 20 ปี ก็ทำรายได้เทียบเท่า คณะละครสัตว์ของบานัม (Ringling Bros. and Barnum & Bailey) ซึ่งใช้เวลามากกว่าร้อยปี โดยการแสดงของคณะนี้ได้ปรากฏต่อสายตาของชาวโลกมากกว่าหลายร้อยล้านคู่มาแล้ว จนได้รับการขนานนามว่าเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิใจของแคนาดาเลยครับ

ที่สำคัญ "เซิร์ค ดู โซเลย์” คือ คณะละครสัตว์ที่ไม่มีสัตว์แต่อย่างใด!

ก่อนจะต้องยอมแพ้กับวิกฤตในครั้งนี้ ในอดีต เซิร์ค ดู โซเลย์ เคยผ่านช่วงเวลาวิกฤตของอุตสาหกรรมละครสัตว์ ซึ่งเกือบถูก disrupt จากพฤติกรรมของผู้คนที่ผันเปลี่ยนไปตามกาลเวลา

เด็กๆ ยุคใหม่ๆ หันมาเล่นเกม มีกิจกรรมยามว่างหลากหลาย ขณะที่กลุ่มพิทักษ์สัตว์ก็จับจ้อง และต่อต้านการนำสัตว์มาแสดงละครสัตว์มากขึ้น จนตลาดเดิมๆ ของคณะละครสัตว์มีแต่จะเล็กลงเรื่อยๆ และแข่งขันกันสูงขึ้นในอุตสาหกรรมนี้

แต่สองหนุ่ม Gilles Ste-Croix และ Guy Laliberte ซึ่งเติบโตมาจากการแสดงกายกรรมข้างทาง มองเห็นโอกาสบางอย่าง และร่วมกันก่อตั้งคณะละครสัตว์นี้ และสร้างปรากฏการณ์ ในแบบนวัตกรรมของวงการละครสัตว์ขึ้นมา จนกลายเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาของการวางกลยุทธ์แบบน่านน้ำสีคราม หรือ Blue Ocean Strategy ที่เป็นปรัชญาของการสร้างพื้นที่การตลาดใหม่ด้วยนวัตกรรม จนทำให้หลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงได้

พวกเขาทำสิ่งที่ #แตกต่างจากคณะละครสัตว์อื่นๆ ที่มักจะใช้ เต๊นท์การแสดง มีตัวตลก และกายกรรมต่างๆ ในแบบคล้ายๆ กันไปหมด

เซิร์ค ดู โซเลย์ เลือกที่จะ #เพิ่ม ความหรูหราให้กับเต๊นท์การแสดง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ชม เพิ่มความลุ่มลึกของโชว์จากละครสัตว์ให้เป็นการแสดงความเป็นศิลป์ที่ดึงดูดใจ ผสมผสานศาสตร์ต่างๆทั้งภาพและเสียงในแบบละครเวทีบรอดเวย์ บัลเลต์ จนการแสดงมีความเลิศหรูอลังการ

และเลือกที่จะ #ตัด ซูเปอร์สตาร์ของคณะ ให้ความสำคัญกับทีมงาน ไม่มีการแสดงของสัตว์ และการขายขนมในขณะรับชม

แน่นอนว่า #กลุ่มผู้ชมไม่ได้ถูกจำกัดว่าเป็นแค่เด็กๆ อีกต่อไป แต่เป็นทุกคนที่ชื่นชอบในงานศิลป์ และการสิ่งมอบประสบการณ์ที่ดี (Customer Experience) ทำให้พวกเขายอมจ่ายค่าบัตรในราคาสูง ซึ่งเป็นคุณค่าที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ในท้องตลาด

และสิ่งเหล่านี้ คือ #การปรับกลยุทธ์ที่ถูกวางจากผู้นำ ที่เราสามารถนำมาเรียนรู้ได้เช่นกันว่า ในวิกฤตินี้ ผู้อ่านที่เป้นผู้นำจะวางกลยุทธ์อย่างไร ต้องเพิ่มอะไร ลดตรงไหน เพื่อปรับและส่งมอบคุณค่าให้กลุ่มเป้าหมาย และสร้างผลประกอบการ และธุรกิจอยู่รอดได้

จน Cirque du Soleil สามารถบอกกับโลกได้เต็มปากว่า “We Reinvent the Circus-เราสร้างละครสัตว์ขึ้นมาใหม่”

แม้วันนี้ คณะละครสัตว์เลืองชื่อ จะต้านทานวิกฤตไม่ไหว จนล้มละลาย (เพราะมันสาหัสและสุดวิสัยจริงๆ) และอาจต้องปลดพนักงานมากกว่า 3,500 คน แต่ก็ยังพอมีข่าวดีๆ อยู่บ้างว่า

บริษัทจะได้รับเงินทุนจำนวน 3-400 ล้าน USD จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ได้แก่ TPG Capital บริษัทที่อยู่ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งถือหุ้นอยู่ 55% และกลุ่มทุน Fosun ของจีนซึ่งถือหุ้น 25% สำหรับการรีสตาร์ทธุรกิจ ตลอดจนรับภาระหนี้สินบางส่วนของบริษัท

รวมทั้งข่าวว่าผู้นำเก่า อย่าง กีย์ ลาลิแบร์เต้ (Guy Laliberte) ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และ 1 ในบอร์ดบริหาร อาจกลับมาคุมบังเหียนอีกครั้ง

เพราะเคยลั่นวาจาไว้ว่า พร้อมที่จะทำทุกวิถีทางไม่ให้คณะนี้ ตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่มีทักษะในการบริหารจัดการโชว์ใหญ่ๆ แบบนี้เด็ดขาด

ผมได้แต่หวังว่า เมื่อปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินงานครั้งนี้ แฟนๆ คงได้เห็น "เซิร์ค ดู โซเลย์" ตำนานแห่งนวัตกรรมของวงการละครสัตว์ กลับมาโลดแล่น เพื่อจะได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจให้ Reinvent the Business ได้อีกครั้ง
---------------------------------
Content: อนิรุทธิ์
Photo: curiocity.com
References:
https://marketeeronline.co/archives/173670…
https://genonline.co/2018/12/27/circus-without-animal/
https://thestandard.co/cirque-du-soleil-filed-bankrupt/
- Blue Ocean Strategy (Book)
---------------------------------
#CoachForGoalArticle #CFG
สร้างทัศนคติการทำงานให้ดีขึ้นในทุกวันแบบง่ายๆ
---------------------------------
รายละเอียดโปรแแกรมพัฒนาบุคลากรองค์กรที่
www.coachforgoal.com

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้