ภาวะ “Burnout” ตอนที่ 3: กรณีศึกษา Brownout “ภาวะหมดใจ” แต่ไฟยังมี

วันที่: 24 ก.ค. 2562 13:12:54     แก้ไข: 08 ส.ค. 2562 09:28:29     เปิดอ่าน: 3,177     Blogs
ก่อนหน้านี้เราได้เรียนรู้ภาวะหมดไฟ หรือ “Burnout” กันไปแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าภาวะ “Brownout” ก็เป็นสภาวะสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน

“Brownout” เป็นอาการของคนทำงานที่รู้สึกเหนื่อยหน่ายไม่มีความสุข ทุกข์ทนกับเงื่อนไขและระบบขององค์กร และมักจะไม่แสดงอาการให้เห็น มีแต่เจ้าตัวที่รู้ว่า ตัวเองจะมีอาการเหมือนถูกกดดันตลอดเวลา และความสัมพันธ์กับคนรอบตัวย่ำแย่ลงเรื่อยๆ ทว่า ความผูกพันกับองค์กร (Engagement) จะน้อยลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็ลาออกจากองค์กรไปในที่สุด

เรียกง่ายๆว่า “Brownout” คือภาวะหมดใจแต่ยังมีไฟในการทำงาน แต่ “Burnout” คือภาวะหมดไฟและหมดใจกับทุกสิ่งทุกอย่างในการทำงานนั้นเอง แต่ไม่น่าเชื่อว่า ผลจากการสำรวจของ HBR พบว่า อัตราส่วนในการลาออกของจากภาวะ“Brownout”นั้นมีสูงถึง 40% มากกว่าภาวะ “Burnout” ที่มีเพียง 5%เท่านั้น

เพราะเงินอาจไม่ใช่การแก้ปัญหา 
หลายๆครั้งที่ HR หรือ “หัวหน้างาน” มักจะติดกับดักที่ว่า เมื่อหมดใจก็ให้ “Rewards” เพื่อแก้ไขปัญหา แต่ทว่าบางอย่างเงินก็ซื้อไม่ได้ .
เพราะว่าถ้าไม่มีใจให้เงินมากแค่ไหนก็ไปอยู่ดี


จริงๆ แล้ว ใครควรแก้ปัญหาภาวะ “Brownout” ? HR หรือ หัวหน้างาน ?

คำตอบ คือ #ทุกคนในองค์กรนั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหานี้ 
เพราะการที่พนักงานจะมี engagement กับองค์การได้ บรรยากาศในการทำงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดสภาวะหมดใจในการทำงานลงได้ 
เพราะเราต่างก็รู้กันดี ว่า #เรื่องงานไม่หนักหนาเท่าเรื่องคน

HR ในฐานะตัวแทนขององค์กร ก็ต้องหมั่นทบทวนภาพรวมของระบบที่เอื้อต่อการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ หรือ การส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานที่เหมาะสม
หัวหน้างาน ก็ต้องสื่อสารทิศทางการทำงานให้ชัดเจน และดูแลสมาชิกในทีมอย่างเท่าเทียมและเหมาะสม
พนักงานเอง ก็ต้องทำหน้าที่ของตนให้ดี มีทัศนคติที่เหมาะสมในการทำงาน ไม่สร้างปัญหาที่เกิดผลกระทบต่อคนอื่นๆ

หากต่างคนทำหน้าที่ของตนเองอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และลดอคติในการทำงานงาน บรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตรของผู้คนในการทำงาน ช่วยเยียวยาความหนักหนาสาหัสของงานหนักๆ ได้มาก โดยแทบไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆ มาบรรเทาความเสียหายทางจิตใจของคนทำงานเลย
-----------------------
อ่าน Burnout แค่หมดไฟหรือใจอ่อนแอ (ตอนที่ 1) ที่ https://bit.ly/2JIOO7H
อ่านสาเหตุการ Burnout จาก Havard Business Review (ตอนที่ 2) ที่ https://bit.ly/2xP439P

Reference: www.parkerbridge.co.th, lab.sal.mm,www.hbr.org

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้