3 แนวทาง สร้างองค์กรดิจิทัลที่เริ่มจากคน

วันที่: 24 มี.ค. 2565 16:38:29     แก้ไข: 27 เม.ย. 2565 10:46:42     เปิดอ่าน: 1,107     Blogs
Digital Transformation ไม่ใช่เรื่องของ IT แต่เป็นหน้าที่เราทุกคนในองค์กร แต่ทำไมหลายคนเข้าใจแบบนั้น?

นั่นเป็นเพราะ คำว่า Digital นี่แหละ พอมันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใช่ป่าว? มันก็ต้องอยู่ในหมวดหมู่ IT ไงเล่า ยากตรงไหน

ที่มาก็เป็นแบบนี้แหละครับ ดังนั้นผมจึงอยากจะเปลี่ยนจาก การทำให้ "องค์กรเป็นดิจิทัล" เป็น ทำให้ "องค์กรพร้อมรับมือกับอนาคต" ทีนี้ ก็จะดูเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำร่วมกันแล้วล่ะ

เพียงแต่เราต้องฝึกใช้ Digital Technology เพื่อเป็น เครื่องมือ (Tools) ในการสร้างองค์กรร่วมกันอีกที ตามหน้าที่แต่ละคนครับ

สาเหตุที่ต้องปรับองค์กร ก็เพราะว่า โลกยุคดิจิทัลนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีก้าวกระโดด การปรับตัวให้ทัน จึงไม่ใช่แค่ "การหนีตาย" แต่เป็นการ "วิ่งให้ได้เค้ก"
ใครมองโอกาสได้ก่อน ก็ได้เค้กก้อนโตไป ส่วนใครช้าก็ได้แต่มอง แล้วท้องร้องต่อไปครับ

โดยทาง Management จะมองเห็นเรื่องเหล่านี้ก่อนแล้ว จึงให้ทิศทางของการปรับตัว เพื่อให้แต่ละแผนกได้ (นำทีมโดย Department/Function Head) นำไปสานต่อและปรับเป้าหมาย โครงสร้างทีม กระบวนการทำงาน และ คน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีได้

ตรงนี้จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีเป็นแค่ส่วนหนึ่งจริงๆ นะครับ การปรับคนให้ทำงานกับสิ่งรอบตัวที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วต่างหากที่เป็น Key สำคัญจริงๆ เพราะ ปกติแล้ว คนเราก็ปรับตัวได้ช้ากว่าเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว การจะทำให้ Digital Transformation นี้สำเร็จ จึงอยู่ที่ว่า "ใครจะปรับคนได้เร็วกว่ากัน"

จุดนี้แหละครับ HR ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญที่สุดแล้วในด้านคน จึงตัวช่วยที่สำคัญมากๆ เพราะมีความเข้าใจคนในองค์กรมากที่สุด เพียงแค่ HR ต้องเติมความเข้าใจ ในเรื่องของหัวใจสำคัญของการปรับคนให้ได้ แล้ว HR จะช่วยคนในองค์กรได้ในด้านต่างๆ เหล่านี้ครับ

1. สร้างความคุ้นชินกับเทคโนโลยี และใช้เป็น tools เพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำงานของแต่ละคน แต่ละหน่วยงานให้ได้ เพื่อสร้างคุณค่า (Values) ใหม่ๆ ในงาน และ มี Productivity ในการทำงานที่มากขึ้น

2. อำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ เพื่อให้พนักงานเกิดประสบการณ์ที่ดีมากขึ้นกับองค์กร (Employee Experience) ด้วยการใช้เทคโนโลยีสนับสนุน HR Services ต่าง ก็เป็นอีกทางหนึ่งด้วยครับ เพราะจะทำให้คนในองค์กรสะดวกขึ้น มี engagement มากขึ้น เช่น การพัฒนาผ่านแพลตฟอร์ม หรือ การเช็คข้อมูลที่จำเป็นด้าน HR แก่พนักงาน แล้วพวกเขาก็จะมีเวลาไป Focus กับการทำงานมากขึ้น

3. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ผ่านเทคโนโลยีทางด้าน HR อย่างเช่น Predictive Analytics เพื่อเพื่อเปรียบเทียบหาผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับทีมและ วัฒนธรรม และจุดมุ่งหมายขององค์กร หรือ การใช้ AI เพื่อตรวจเช็ค Engagement ของพนักงานในองค์กรและให้คำแนะนำแก่หน่วยงานต่างๆ ให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

ผมขอเน้นในฝั่ง HR มากหน่อย หวังว่าผู้อ่านคงไม่ว่ากันนะครับ เพราะว่า พวกเขาเป็นตัวช่วยที่สำคัญมากๆ จริงๆ ที่จะส่งให้ทุกส่วนไปถึงฝั่งของการทำ Digital Transformation และ คงระบบนี้ไว้ในการทำงานในชีวิตประจำวันของทุกคน

สำหรับรายละเอียดของการทำ Digital Transformation ด้าน HR นั้น สามารถชมเพิ่มเติมได้ที่คลิปปักหมุดของเพจนะครับ ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณประสงค์ ถึงแสง (คุณมะลิ) Head of People & Development ของ Krungsri Consumer มาร่วมแชร์ ประสบการณ์ตรงเลยครับ (https://bit.ly/3ko0Kz6)




อย่าลืมนะครับว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของทุกคนในองค์กรที่ต้องช่วยกันปรับตัวกับโลกดิจิทัล เพื่อให้ได้เป้าหมายสูงสุดนั่น คือ การเป็นองค์กรที่รับมือกับอนาคตที่รวดเร็วและไม่แน่นอนได้ดียิ่งกว่าเดิมครับ

ไม่ใช่ทำ Digital Transformation เพื่อเป็นองค์กรดิจิทัลอย่างเดียวครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้