4 สิ่งที่ช่วยให้คุณตั้งหลัก จากความล้มเหลวได้ (4 Pillars of resilience)

วันที่: 17 มี.ค. 2565 16:40:18     แก้ไข: 27 เม.ย. 2565 10:49:15     เปิดอ่าน: 2,080     Blogs
เมื่อพูดถึง #Resilience หรือ #การฟื้นตัวจากความล้มเหลว นั้น หลายคนอาจนึกแต่ด้านการทำงาน แต่แท้จริง พลังแห่งการล้มแล้วลุก ควรในวิถีชีวิตของเราตลอดเวลา เพื่อให้เราผ่านอุปสรรคในชีวิตได้ เช่น ความเสียใจจากความผิดหวัง หรือ ความเศร้าโศกจากการสูญเสียใดๆ

ดังนั้น การพัฒนาความสามารถในการฟื้นตัวนี้ จึงไม่ต้องพึ่งแต่การอบรมในห้องเรียน แต่เราสามารถสร้างมันได้จากการพัฒนา 4 เสาหลัก ดังนี้ครับ

1. จุดมุ่งหมายในชีวิต เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการหา "เหตุผล (Why)" ของสิ่งที่เราทำในทุกๆ วัน แม้บางครั้งอาจเป็นเรื่องยากที่เราจะทำทุกเรื่องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย แต่ไม่ต้องกังวลครับ เพราะขอแค่เริ่มทำสิ่งเล็กๆ นั้นไปก่อน แล้วสิ่งใหญ่จะตามมาเอง เช่นการทำงานอดิเรกที่ชอบ หรือ กิจกรรมที่ทำให้เราผ่อนคลายตัวเองได้จริงๆ

2. ความสัมพันธ์ที่ดี เป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับจิตวิญญาณของเรา ทำให้เราอยู่ในอารมณ์ที่ดี และเตือนให้เราดีขึ้นในทุกๆ วัน ลองติดต่อเพื่อนรู้ใจ ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ก็จะช่วยเยียวยาคุณได้ครับ

3. นิสัยที่สร้างสุขภาวะ เพราะ จิตใจที่แข็งแรงย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง ลองปรับพฤติกรรมการกินอาหาร ออกกำลังอย่างน้อยสัก 20 นาที ก็ช่วยให้ร่างกายสดชื่นได้ เริ่มทีละนิดแล้วปรับให้ท้าทายมากยิ่งขึ้น เราก็จะมีนิสัยที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดีได้เองครับ

4. ความเชื่อ เพราะ ทุกการกระทำของเราเป็นผลพวงมาจากโปรแกรมทางความคิดที่เรียกว่า "ความเชื่อ" หลายครั้ง ที่คนเราอยู่ใน "ภาวะล้ม" ซึ่ง คนที่ล้มแล้วล้มเลย จะเชื่อและบอกกับตัวเองว่า "เราลุกไม่ไหวแล้ว" ส่วนคนที่ลุกได้ จะทำในสิ่งตรงกันข้ามครับ

การฝึกสร้างความเชื่อให้ "ล้มและลุกได้" นั้น เริ่มได้ง่ายๆ คือ ลองเขียนสิ่งที่คุณเคยทำได้มาก่อน เพื่อให้คุณได้ทบทวนเรื่องราวหล่านั้น หรือ แชร์ประสบการณ์กับคนอื่นๆ ที่เคยฝ่าสถานการณ์ที่ยากลำบาก สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณได้คิดทบทวน เรื่องราวจริงๆ เปิดมุมมอง ให้เห็นสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ หรือเห็นแง่มุมที่เอาไปปรับให้ดีขึ้นได้

ด้งนั้น ฝึก 4 เสาหลักนี้ให้แข็งแกร่ง แล้วเราจะมีแรงที่จะ Resilience หรือ ล้มแล้วลุกได้ไวกว่าเดิมครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 
อ้างอิง : Photo:www.freepik.com/vectors/fall

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้