Crisis leadership during the COVID-19 era

วันที่: 29 ส.ค. 2564 12:32:28     แก้ไข: 14 มี.ค. 2565 10:09:44     เปิดอ่าน: 1,393     Blogs
ในช่วงวิกฤต หลายคนอาจคิดว่า ภาวะผู้นำแบบวีรบุรุษ (Heroic Leadership) และผู้นำแบบมีวิสัยทัศน์ (Visionary Leadership) คือ สิ่งที่จำเป็นที่สุด เพราะคิดว่าจะช่วยการันตี "วันพรุ่งนี้" ที่ดีกว่าได้
 
ทว่า เมื่อกำลังใจของผู้คนได้ลดลง จนเข้าใกล้ฐานล่างของพิระมิดมาสโลว์แล้ว ความต้องการด้านความปลอดภัยต่อร่างกายและจิตใจ (Safety & Security) กลับเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่า
 
ด้วยเหตุนี้ Gianpiero Petriglieri จึงได้บอกไว้ในบทความของ HBR  หัวข้อ "จิตวิทยาเบื้องหลังภาวะผู้นำในวิกฤตที่มีประสิทธิภาพ" (Psychology Behind Effective Crisis Leadership) ไว้ว่า ภาวะผู้นำแบบโอบอุ้มดูแล (Holding) ซึ่งก็คือ วิถีทางที่ผู้มีอำนาจสามารถทำให้ผู้คนเข้าใจสภาพความจริงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและช่วยบรรเทาสถานการณ์นั้นให้ทุเลาลง คือ สิ่งจำเป็นในภาวะที่ไม่แน่นอนนี้ และหากปราศจากสิ่งเหล่านี้ ความสับสน ความกังวล ความโกรธ และ ความแตกแยกของผู้คน ก็จะเกิดขึ้นตามมา
 
แนวคิดเรื่องการโอบอุ้มดูแลนี้ (Holding) เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการโค้ช ซึ่งนักจิตวิเคราะห์ที่ชื่อว่า  Donald Winnicott (1896-1971) ใช้เพื่อพูดถึงสภาพแวดล้อมแบบสนับสนุนและให้กำลังใจ (Supportive Environment) ที่ผู้บำบัดสร้างให้เกิดแก่ผู้รับการรักษา
 
เขาเทียบให้เห็นว่าการโอบอุ้มดูแล คือ การที่ผู้บำบัดใส่ใจเหมือนที่คนเป็นแม่ดูแลลูก ซึ่งผลก็คือ ทำให้เกิดความไว้วางใจและความปลอดภัย
 
ดังนั้น การโอบอุ้มดูแล จึงเกี่ยวข้องกับความพยายามเข้าอกเข้าใจ (Empathy) และสะท้อนให้เห็นถึง "ความอ่อนโยน" มากกว่า "ความแข็งแกร่ง" ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบทั่วๆ ไป
 
ในการโค้ช "การโอบอุ้มดูแล" (Holding)  มักมาพร้อมกับแนวคิดของการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้อีกฝ่ายได้สำรวยความคิดของตัวเอง เกิดความตระหนักรู้ตัว และได้คำตอบจากทางเลือกด้วยตัวเอง เพื่อที่จะได้ก้าวต่อไปข้างหน้าได้นั่นเอง
 
สำหรับผู้นำแล้ว "การโอบอุ้มดูแล" ในภาวะวิกฤต ก็คือ การใช้ทักษะของผู้นำในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ความใส่ใจและความเข้าใจ โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์จากการแปลความหมายแบบที่พวกเขาคิดเองเออเอง
 
เมื่อต้องนำแนวคิดนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จะพบว่า แนวทางของการโค้ช จะมี mindset ที่ผู้นำสามารถหยิบยืมมาใช้ เพื่อช่วยให้ทุกคนในทีมสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ ดังนี้ 

 
1. เชื่อว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพในตัวเอง
ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอยู่ในสภาวะวิกฤตจะไม่ได้แสดงความสามารถหรือศักยภาพให้เห็นชัด ผู้นำที่มีไหวพริบ จะต้องสามารถมองออกถึงศักยภาพในตัวของพวกเขาและให้เขาดึงทรัพยากรในตัวเองเหล่านั้นออกมามากกว่าที่จะปรี่เข้าไปช่วยเหลือ

2. ต้องเคารพความคิดเขา แม้ไม่เห็นด้วย
คนเรามักจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดก้วยข้อมูลที่มีในมือ ผู้นำต้องเคารพการตัดสินใจนั้น แม้ว่าจะไม่เห็นด้วย  
ด้วยการฟังอย่างตั้งใจ (Empathic Listening) และการถามแบบเจาะใจ (Insightful Question) ผู้นำสามารถเชื้อเชิญให้คนเหล่านั้น เปิดเลนส์แห่งความเป็นจริง และสร้างทางเลือกเพื่อก้าวไปข้างหน้าได้
 
ให้ทนต่อแรงยั่วที่ชวนให้เรา "โน้มน้าว" คนเหล่านั้น จากความเป็นจริงที่เขาเห็น จำไว้ว่า คนเราไม่ได้สนใจว่าคุณรู้อะไร แต่สนใจว่า คุณใส่ใจเขาแค่ไหนต่างหาก

3. เชื่อว่าคนเรารู้คำตอบของสิ่งต่างๆ อยู่แล้ว
ผู้นำหลายคนเลี่ยงที่จะโอบอุ้มดูแล เพราะเกรงว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำตามความคาดหวังของคนอื่นๆ ได้ ความกังวลเหล่านี้ มีพื้นฐานบนสมมติฐานว่า หัวหน้าต้องเป็นคนที่ให้คำตอบพวกเขาในเรื่องต่างๆ ได้เสมอ
 
แต่ว่านี่คือ "ด้านมืด" เพราะ การให้คำตอบอาจเป็นตัวช่วยที่ดี แต่มันจะทำให้คนเหล่านั้นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สร้างให้เกิดความสงสัยในความสามารถของตัวเอง (self-doubt) ความเชื่อในขีดจำกัดของตัวเอง และ เพิ่มระดับของการพึ่งพิงคนอื่นๆ
 
ผู้นำที่
โอบอุ้มดูแลเป็น จะเชื่อว่าคนอื่น มีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ของตัวเองได้ และ รู้วิธีที่จะสร้างสมดุลระหว่างการให้ข้อมูลที่จำเป็นและการให้คนอื่นๆ ได้คิดหาทางแก้ไขปํญหาด้วยตัวเอง
 
จำไว้ว่า คำตอบของคุณไม่จำเป็นต้องเป็นทางแก้ "ที่ดีที่สุด" ของพวกเขา
 
4. อย่าให้คำพูดก็เป็นอุปสรรค
หลายครั้งเมื่อคนต้องการพึ่งพา โดยปราศจากคำพูด สถานการณ์ของความโศกเศร้าเสียใจและการสูญเสียหลายครั้ง เป็นเรื่องที่ออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ และทั้งหมดนี้ต้องการความเข้าอกเข้าใจ ผู้นำสามารถอยู่ข้างเดียวกับเขา เพื่อให้พวกเขาหลุดพ้นจากความกดดัน จากกำลังใจและการสนับสนุนที่ผู้นำหยิบยื่นให้ได้
 
นอกจากนี้ Petriglieri ได้บอกว่า การโอบอุ้มดูแล มีทั้งด้านบุคคล และด้านระบบ ซึ่งผู้นำที่ดีจำเป็นต้องทำทั้งสองด้าน คือ


 
  1. ด้านระบบ ควรสร้างโครงสร้างและวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นการออกนโยบายกฎระเบียบที่ทำให้คนของตนรู้สึกปลอดภัยในวิกฤต และแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ให้ชัดเจน นอกจากนี้การแชร์ข้อมูลข้าวสารให้ทั่วถึง ความคาดหวังในงานที่ชัดเจน ลำดับความสำคัญต่างๆ รวมถึงความเป็นไปได้ของการดำเนินงานในขั้นถัดไป (Next step) และสิ่งเหล่านี้ หากทำแบบปราศจากความเข้าใจ และเห็นใจอย่างถ่องแท้ ก็เป็นเพียงการเสแสร้งเท่านั้น
     
  2. ด้านบุคคล คือ การแสดงออกต่อผู้คนของตน ผู้นำต้องเชื่อมโยงกับคนของตนได้ เข้าใจสถานการณ์และข้อกังวลที่พวกเขาต้องเผชิญ ต้องรับรู้แบบที่เขาเผชิญ แต่ต้องไม่ตัดสินใดๆ  (non-judgement) ว่าเขาทำผิด หรือ ไม่ควรแสดงออกแบบนั้น เพราะจาก Mindset ที่เราได้ทราบข้างต้นนั้น สิ่งสำคัญคือ ต้องเชื่อว่าพวกเขาเหล่านั้น มีความสามารถในตนเองที่จะจัดการกับสถานการณ์ จงฟังเขาอย่างตั้งใจให้มากที่สุด และในที่สุดพวกเขาจะหาทางออกได้ด้วยความสามารถของตน
ผู้นำหลายคนอาจกังวล หากใช้แนวทางแบบ โอบอุ้มดูแล (holding) แต่นี่คือ การแสดงออก ถึงความเป็นผู้นำในแบบมนุษย์ปุถุชน (Humanity) ที่สุด และมันช่วยช่วยให้ทุกคนยอมรับความเปราะบางในฐานะมนุษย์เหมือนๆกัน ได้อย่างไม่เคอะเขิน และความเป็นมนุษย์ปุถุชนนี้ มันจะช่วยให้ทั้งทีมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และพร้อมช่วยกันให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้
 
 

 

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้