Pakinson's Law เวลาที่มีไม่เคยพอ เพราะเราจะรอจนถึง Deadline New

วันที่: 07 ก.พ. 2566 16:31:33     แก้ไข: 14 ก.พ. 2566 16:42:57     เปิดอ่าน: 811     Blogs
เวลามีมากแค่ไหน สุดท้ายก็ทำงานเสร็จตอน deadline อยู่ดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ คุณโดน Pakinson's Law จ้องเล่นอยู่ครับ

Parkinson's Law ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคร้าย แต่ความหมายของมันคือ
“Work expands so as to fill the time available for its completion.”

งานต่างๆ มักมากขึ้น ตามเวลาที่คุณมีนั่นแหละ

ตัวอย่างที่ชัดๆ ของคำกล่าวนี้ เราเคยเห็นตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนกันแล้ว
ที่พอเวลาครูให้การบ้านแล้วบอก Deadline ที่ต้องส่ง หลายๆ คนจะโวยทันทีว่า เวลาน้อยเกินไป ส่งไม่ทัน

แล้วถ้าครูขยายเวลาส่งเพิ่มล่ะครับ
คิดว่าจะทำการบ้านนั้นเสร็จเร็วกว่ากำหนดส่งไหม?

ผมเชื่อว่า คนที่ต้องการเวลาเพิ่ม ก็ยังส่งไม่ทันเหมือนเดิมแหละครับ อย่างดีก็ส่งในวัน Deadline นั่นแหละครับ เพราะเหตุการทำนองนี้เกิดเสมอ เวลาที่ผมให้การบ้านหลังการอบรม 555+

ในการทำงานเช่นกันครับ Parkinson's Law ก็มักเกิดในหลายสถานการณ์ โดยที่หัวหน้าอย่างเราๆ ไม่ทันสังเกตครับ

ตัวอย่างเช่น เวลาที่ต้องมอบหมายงานให้ลูกน้อง บางคนก็มักจะขอเวลาเพิ่มเสมอ แต่ไม่เคยทำทัน

บางสถานการณ์ ก็เกิดกับตัวหัวหน้าเสียเอง เช่น ในการประชุมหลายๆ ครั้ง จบเร็ว เพราะไม่มีประเด็นยุ่งยาก แต่เมื่อมีเวลาเหลือ หัวหน้าก็จับเรื่องสัพเพเหระมาคุย เพื่อใช้เวลาให้หมดๆ ไป ดูแล้วเหมือนคุ้มค่าที่เจอกัน แต่จริงๆ ไม่เกิดประโยชน์ก็มีครับ

หรือ เวลาคุณต้องทำงานโปรเจคต่างๆ ที่บางครั้งมันสามารถปิดจ๊อบได้เร็วว่ากำหนดการ แต่หลายๆ คนกลับทำไปเรื่อยๆ เนือยๆ ไม่รีบเร่ง เพราะเห็นเวลายังมีน่า

อุปมาคล้ายการทำข้อสอบสมัยเรียน ที่ต้องใช้เวลาให้เต็มชั่วโมง จะได้คุ้มๆ

แต่รู้ไหมครับว่า การทำงานตามกฎของ Parkinson เนี่ย ทำให้เราเสียเวลาการทำงาน ท้ายที่สุด Productivity ในงานก็ไม่เกิด เพราะเราถลุงทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในชีวิต ซึ่งก็คือ "เวลา" ไปอย่างไม่รู้ตัว แถมยังให้เหตุผลเข้าข้างตัวเองว่าที่ทำช้า เพราะจะได้พร้าเล่มงาม อีกด้วย

บางคนคิดไปขนาดว่า ทำช้า ถ้าสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะได้แก้ทัน หรือ แม้แต่คิดไปว่า จะมีโอกาสตรวจทานหลายรอบ ลดความผิดพลาดก็ยังมี

อย่างไรก็แล้วแต่ สิ่งที่ผมอยากจะบอกคือ ให้ลองพิจารณาดูอีกที ว่าที่ทำงานช้าๆ นั้น เป็นเพราะ parkinson's Law หรือ งานมันต้องใช้เวลาเท่านั้น อย่างสมเหตุสมผลแล้ว

หากเป็นตามกฎ parkinson ละก็ สิ่งที่จะช่วยคุณได้ คือ การประเมินเวลาตามจริง แล้ว บล็อคเวลาซะ!

จากนั้นหาวิธีการทำงาน หรือ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นมาช่วย เพื่อทำงานให้เสร็จในเวลานั้นให้ได้

เช่น หากต้องเช็คอีเมล์ ให้กำหนดเลยว่า ควรใช้เวลาเท่าไร ช่วงไหน แล้วถ้ามีเวลาจำกัด (เช่น จะใช้เวลาแค่ 30 นาที) เราจะต้องมีวิธีการเช็คอย่างไร

เมื่อชำนาญแล้ว อาจลองเพิ่มทักษะบริหารเวลา ด้วยการจัดลำดับความสำคัญของงาน แล้วทำตารางการทำงานที่เหมาะสมให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้ใช้เวลาได้คุ้มค่ามากขึ้นครับ

ทุกคนมีเวลาเท่ากัน ไม่มีใครมีมากกว่าใคร แต่ที่บางคนมีมากพอ เพราะเขารู้จักวิธีหาเวลาและบริหารเป็นมากกว่า เท่านั้นเองครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้