“จงตั้งเป้าหมายไว้ที่ดวงจันทร์ เพราะถึงแม้ว่าคุณจะไปไม่ถึง คุณก็ยังได้อยู่ท่ามกลางหมู่ดาว”
.
ผู้อ่านหลายคน คงเคยได้ยินคำคมนี้ผ่านหูกันนะครับ
ผมเองได้ยินคำพูดนี้ครั้งแรกจากโฆษณาชุดหนึ่งนานมาแล้วครับ
ต้องขออภัยจริงๆที่จำไม่ได้ว่าเป็นโฆษณาตัวไหน
.
คำพูดสุดคลาสสิกนี้ เป็นวาทะของเลส บราวน์ (Les Brown) นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ และนักการเมืองของอเมริกา โดยมุ่งหมายให้คนทุกคน กล้าที่จะฝัน กล้าที่จะทำ
.
Moonshot จึงถูกนำมาใช้ในภารกิจยิ่งใหญ่ ที่ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก จนบางทีอาจถูกตั้งคำถามว่า คนตั้งเป้าหมายบ้าหรือเปล่า ที่ตั้งเป้าแบบนี้ขึ้นมา
.
คำว่า Moonshot นี้ เกิดครั้งแรก ในสมัยของการปล่อยจรวดไปสำรวจดวงจันทร์ของอเมริกาในปี 1969 สมัยของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดีครับ
.
จากนั้น องค์กรระดับโลกเอง ก็นำคำว่า Moonshot มาใช้ โดยผู้นำจะตั้งเป้าหมายที่ท้าทายมากๆ ที่ไม่เคยมีการคิดมาก่อน เพื่อพลิกโลก แล้วทุ่มทรัพยากรและสรรพกำลังให้สุดความสามารถ เพื่อที่จะไปให้ถึงจุดนั้นให้ได้
.
เช่น Google ที่นิยามโปรเจคที่เป็น Moonshot ของตัวเองว่ามีองค์ประกอบสามด้านคือ
1. ต้องมุ่งแก้ปัญหาที่บิ้กเบิ้มจริงๆ (huge problem)
2. เป็นวิธีแก้ปัญหาถึงรากถึงโคน (radical solution)
3. ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง (ฺbreakthrough Technology)
.
ทำให้เกิดโปรเจคต่างๆ เช่น รถไร้คนขับ (Driverless Car) และแว่นตากูเกิ้ล (Google Glasses)
.
หรืออย่าง SpaceX ของอีลอน มัสก์ ก็มี Moonshot ที่สุดโต่ง คือ การอพยพคนไปดาวอังคารให้ได้ เป็นต้น (ซึ่งจริงๆ ควรเรียกว่า Marshot อาจจะตรงกว่า)
.
ปัจจุบันการตั้งเป้าหมายแบบนี้ ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้ง
เนื่องจาก โลกธุรกิจกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติจากหลายด้านมากๆ และปัญหาที่ต้องเผชิญก็มีความไม่แน่นนอน ซับซ้อน คลุมเคลือ ตลอดเวลา (อย่างปัญหาโควิดก็รวมอยู่ในนี้ด้วย)
.
คำว่า Moonshot Thinking จึงถูกนำมาใช้ เพื่อให้ผู้นำทุกคนมุ่งตั้งเป้าหมาย "ยิ่งใหญ่" ในแบบ "ยั่งยืน" และทำให้โลกโดยรวมของเราดีขึ้นและ "ยืนยง" ด้วย
.
ที่ว่าฟังดูเหมือน Moonshot จะต้องยิ่งใหญ่อลังการงานสร้าง และเป็นหน้าที่ของผู้นำระดับบนใช่ไหมครับ?
.
แต่จริงๆ แล้ว หากผู้อ่านเอง อยากจะตั้งเป้าหมายในแบบ Moonshot บ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือ เรื่องทั่วไป ก็สามารถทำได้นะครับ เพียงแค่ตั้งเป้าหมายให้มีสามด้านดังนี้ คือ
..
1. เป็นเป้าหมายที่สร้างแรงบันดาลใจให้เรามากๆ
2. ต้องยาก ไม่ง่ายที่จะเอื้อม อยู่นอก Comfort zone แต่มีทางที่จะสำเร็จได้
3. มองเห็นภาพอนาคตว่า หากสำเร็จ มันจะมีความหมายต่อชีวิต หรือ งานชิ้นนั้นจริงๆ
.
ฝันให้ไกล ตั้งใจให้เต็มที่ครับ แม้ไปไม่ถึง ก็ยังได้อยู่ท่ามกลางหมู่ดาวที่เรียกว่า "ประสบการณ์" และ "การเรียนรู้"
.
แล้ว Moonshot ของคุณ จะสำเร็จได้ในวันใดวันหนึ่งแน่นอนครับ
--------------------------------------------------
Content: อนิรุทธิ์

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ