ทำไมคนเราจึงเอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้สิ่งรอบข้าง?
เหตุผลของการกระทำแบบนี้ มีคำตอบเดียว คือ เป็นธรรมชาติของคน ที่มักอธิบายทุกสิ่งที่ตนทำไป เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีต่อใจ และดำรงไว้ซึ่งความภูมิใจในตนเอง แม้ว่าคำอธิบายนั้น มันจะไม่สมเหตุสมผลก็ตาม
เรียกว่ารู้ทั้งรู้ว่า "ไม่จริง" แต่ก็ยอมเชื่อ เพื่อให้ "สบายใจ" ไปวันๆ
การคิดทำนองนี้ ทางจิตวิทยาเรียกว่า Cognitive Bias หรือ อคติทางความคิด ซึ่งมีเป็นร้อยแบบร้อยชนิด แต่ทั้งหมดนั้นมีแก่นเหมือนกัน คือการรับรู้ที่บิดเบือน คลาดเคลื่อนจากความจริง จนประเมินสิ่งต่างๆไม่ถูกต้อง
ประโยชน์เดียวของมันคือ การทำให้เรามีความสุขอยู่ใน "ความจริงเสมือน" ที่สมจริงยิ่งกว่าแว่น VR (virtual reality)
ในการทำงาน ก็มีตัวอย่าง Cognitive Bias ที่พบบ่อยๆ คือ
อคติทางความคิดแบบแรก คือ การคิดเข้าข้างตัวเอง (Self Serving Bias)
สังเกตง่ายๆ คือ หากเป็นเรื่องที่ตัวเองทำได้ดี คนเรามักจะรีบบอกทันที ว่าความสำเร็จนี้ เกิดจากฝีมือของตนเอง เช่น ได้เลื่อนขั้น เพราะตั้งใจทำงาน หรือ มีฝีมือโดดเด่น หรือ เจรจากับลูกค้าจนได้ออร์เดอร์ เพราะเรามีการเตรียมตัวมาอย่างดี
แต่หากทำได้ไม่ดี หรือ ล้มเหลว ก็จะโทษว่าเป็นเพราะปัจจัยภายนอกรอบตัว คน/หน่วยงานอื่น ที่ส่งผลให้ทำงานนี้ไม่สำเร็จ เช่น ฝ่ายการตลาดทำส่วนลด โปรโมชั่นไม่ดี ทำให้เราขายของไม่ได้ หรือ ขาดการสนับสนุนจากเจ้านาย ฯลฯ
ถ้าสรุปเป็นสำนวนไทย จะเข้าใจง่าย แต่ก็แร๊งส์ นั่นคือ เอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คนอื่น (หรือ โบ้ยตามสถานการณ์)
แบบที่สอง คือ การอธิบายสาเหตุที่ผิดๆ ไม่คิดจะดูให้รอบครอบคลุมทุกปัจจัย (Fundamental Attribution Error-FAE)
มักเกิดเวลามองพฤติกรรมคนอื่นๆ แล้วด่วนสรุปว่า สาเหตุเกิดจากนิสัยของตัวเขา โดยไม่ได้ดูองค์ประกอบอื่นๆ เช่น มองเพื่อนร่วมงานที่ปิดการขายไม่ได้ว่าเป็นคนไร้ความสามารถ ไม่ทุ่มเทในการทำยอด ไร้ Can do Attitude หรือ แบบเบาๆ ก็เช่น มองคนที่เขามาทำงานสายว่า เป็นคนไม่รับผิดชอบ ซึ่งในบางครั้ง อาจมีสาเหตุอื่นๆ ที่มากกว่านั้น
ผลก็คือ ทำให้แก้ปัญหาไม่ตรงสาเหตุที่แท้จริง หรือ เป็นการด่วนตัดสินจนรู้สึกไม่ดีต่อกัน โดยเฉพาะในการพัฒนาทักษะลูกน้อง เพราะเอะอะก็ตราหน้าว่า เป็นคนไม่ได้เรื่องไปก่อนแล้ว
การมีอคติทางความคิดแค่ตัวใดตัวหนึ่งก็หนักแล้ว ถ้ามีครบทั้งคู่ยิ่งทำให้เกิดการมองคนอื่นๆ ผิดเพี้ยนไปจากความจริง จนอาจคิดว่า ข้าแน่ข้าเก่งคนเดียว รวมทั้งตัดสินเพื่อนร่วมงานคนอื่น เป็นคนไม่ได้เรื่องด้วย ท้ายที่สุดก็จะนำมาซึ่งบรรยากาศการทำงานที่ไม่น่าอยู่ในเร็ววัน
ลองหันมาดูไหมว่า เราเคยหลุดคำพูดไหนบ้าง? ถ้ามีดึงสติด่วน!
![]() |
Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking |
คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
หัวหน้าแต่ละคนบริหารต่างกัน ส่วนหนึ่งเกิดจาก "ค่านิยมส่วนบุคคล" (Personal Values) ซึ่งก็คือ ความเชื่อที่เกิดจากประสบการณ์ ที่หล่อหลอม เรียนรู้ และยึดถือ ความเชื่อนั้นว่าเป็นจริง เป็นสิ่งที่ดีสำหรับชีวิตตัวเอง โดยทั่วไปค่านิยมส่วนบุคคลนั้น มี 2 ระดับ คือ