บริหารเวลาเป็น จะไม่เห็นดินพอกหางหมู ด้วยเทคนิค ​OHIO

วันที่: 13 มิ.ย. 2566 09:33:34     แก้ไข: 15 มิ.ย. 2566 14:29:39     เปิดอ่าน: 339     Blogs
OHIO ไม่ใช่ชื่อรัฐ แต่ย่อมาจาก.."Only Handle It Once"
ซึ่ง หลักการ OHIO มีอยู่ว่า เมื่อเริ่มทำงานไหนก็ตามควรพยายามทำมันให้แล้วเสร็จรวดเดียว หรือ ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ 

ทำไมต้องรวดเดียว?

เพราะว่าคนเราจะใช้เวลาสักครู่กว่าจะเกิดสมาธิและโฟกัสกับงานได้ แต่เมื่อไม่จบงาน นั่นหมายความว่า ในครั้งหน้าเราต้องมาเสียเวลาเริ่มทำสมาธิใหม่อีกครั้ง เพื่อให้เกิดโฟกัสใหม่

ดังนั้น การเลือกจะผลัดวันประกันพรุ่งนี่แหละ ที่ทำให้งานของคุณจะยิ่งยากและใช้เวลาจัดการกับนานขึ้น โดยเฉพาะ "งานเล็กๆ น้อยๆ" นี่แหละ ตัวดีเลย
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น เมื่อเวลาบิลค่าไฟมา และเราก็รับรู้ยอดเงินที่ต้องจ่ายแล้ว แต่กลับคิดว่า "เดี๋ยวไว้ค่อยจ่ายก็ได้"   จนเผลอวางบิลนั้นไว้ พอถึงเวลาจะไปจ่าย กลับหามันไม่เจอ จนต้องเสียเวลาหาอีกเป็นสิบๆ นาที หรือ เป็นวันก็มีให้เห็น

ในการทำงานเอง การผลัดวันประกันพรุ่งแบบนี้ ก็เช่น เวลาที่เราได้รับอีเมล์ในประจำวัน แต่เมื่อเปิดแล้วก็เก็บเอาไว้ทำยามว่าง สะสมไปสะสมมา สุดท้ายอีเมล์ก็คั่งค้าง จนบางที ก็ลืมรายละเอียดที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ต้องเสียเวลามาทบทวนข้อมูล หรือ ตรวจสอบกับผู้เกี่ยวข้องใหม่ หรือ บางคนถึงกับลืมตอบก็มี และอาจเป็นที่มาของ "งานงอก" ในภายหลังได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ เมื่องานที่รับมาจะยิ่งงอก ยิ่งขยายยิ่งยุ่งยาก ยิ่งเร่งด่วน (ถ้ามีเดดไลน์)  และยิ่งเครียดกว่าเดิม จนคุณอาจคิดไม่ออกว่าจะทำยังไงกับมัน หลักการ OHIO จึงบอกให้ Just do it! ลงมือทำมันให้เสร็จเถอะ นั่นเองครับ 

ถึงตรงนี้ หลายคนอาจนึกในใจ แหมๆ พูดแล้วเหมือนง่าย ทำจริงมันยากนะครับ

ใช่ครับ! มันก็ยากจริงๆนั่นแหละ
แต่ต้องทำให้ได้ครับ เพราะมันจะช่วยให้เราใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพกว่าเดิม

เคล็ดลับที่จะช่วยได้ มีดังนี้ครับ

1. เมื่อมีงาน เข้ามา ตัดสินใจเลยว่าจะทำ หรือ ไม่ทำ โดยดูว่า
  • งานเหล่านั้น มีผลกระทบต่อเรามากน้อยแค่ไหน (อาจใช้หลัก 20:80 ช่วยตัดสินใจก็ได้ครับ)
  • ถ้ามี และใช้เวลาทำให้จบได้ทันที 
  • ทำเลยครับ!!
2. งานที่ใหญ่มากๆ จบไม่ได้ทันที ทำยังไง?
  • วิธีแรก คือ แบ่งเป็นส่วนๆ และกำหนดเป้า ที่จะทำได้ในวันนั้นๆ ครับ
  • อีกวิธี ถ้าพิจารณาแล้วว่าต้องหาข้อมูลก่อน ถึงทำได้ ให้โน้ต หรือ ตั้งเตือนไว้ครับ ว่าจะทำวันไหน  
  • เมื่อถึงเวลา...ทำเลยครับ!!
แน่นอนว่า หลายครั้งมีปัจจัยภายนอกมาเบียดบังเวลาของคุณ นั่นเป็นเหตุสุดวิสัยครับ แต่หากเป็นช่วงเวลาใดที่เราคุมได้ จงทำมันให้แล้วเสร็จ ก่อนที่จะมีคนอื่นมารบกวน ไม่อย่างนั้น งานเย็นจะกลายเป็นงานร้อน งานเล็กจะกลายเป็นงานใหญ่ และใช้เวลามากกว่าเดิม

ถ้าจะให้ได้ผลลัพธ์ ลองฝึกกับกองอีเมล์ในวันพรุ่งนี้ดูก่อนก็ได้นะครับ

บทความและภาพกราฟฟิค โดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Key Takeaways จาก Leading with Purpose Mini-Workshop สรุปเนื้อหาและ Key Takeaways ที่น่าสนใจจากงานมินิเวิร์คชอป Leading with Purpose โดย อ. คม สุวรรณพิมล เกี่ยวกับ การพัฒนาผู้นำให้สอดคล้องกับ Organizational Purpose ซึ่งในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรได้ทบทวนถึงเหตุผลในการคงอยู่ของธุรกิจไม่ว่าจะเป็น คุณค่าที่ส่งมอบ ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนกระบวนการทั้งหมดขององค์กรเองว่าได้สอดคล้องกับความมุ่งหวังที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด
Key Takeaways จาก Leading with Purpose Mini-Workshop

สรุปเนื้อหาและ Key Takeaways ที่น่าสนใจจากงานมินิเวิร์คชอป Leading with Purpose โดย อ. คม สุวรรณพิมล เกี่ยวกับ การพัฒนาผู้นำให้สอดคล้องกับ Organizational Purpose ซึ่งในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรได้ทบทวนถึงเหตุผลในการคงอยู่ของธุรกิจไม่ว่าจะเป็น คุณค่าที่ส่งมอบ ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนกระบวนการทั้งหมดขององค์กรเองว่าได้สอดคล้องกับความมุ่งหวังที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด

มารู้จัก A.I. แบบเข้าใจง่าย ใน 1 หน้ากระดาษ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงสมัยสมัยใหม่ ด้วยความสามารถในการจำลองและสร้างความคิดเห็นเชิงปัญญาที่มีความเป็นมนุษย์ได้ การพัฒนา AI ได้เกิดแนวคิดและเทคนิคหลายแบบเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและจำลองกระบวนการคิดของมนุษย์ได้ ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของ AI ได้เป็นระดับต่อไปนี้
มารู้จัก A.I. แบบเข้าใจง่าย ใน 1 หน้ากระดาษ

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงสมัยสมัยใหม่ ด้วยความสามารถในการจำลองและสร้างความคิดเห็นเชิงปัญญาที่มีความเป็นมนุษย์ได้ การพัฒนา AI ได้เกิดแนวคิดและเทคนิคหลายแบบเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและจำลองกระบวนการคิดของมนุษย์ได้ ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของ AI ได้เป็นระดับต่อไปนี้

ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของ  Havard Business Review ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของนักวิจัยและที่ปรึกษาด้านผู้นำ Havard Business Review ครับ
กดที่ภาพเพื่อดู infographic แบบเต็มๆ นะครับ
ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของ Havard Business Review

ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของนักวิจัยและที่ปรึกษาด้านผู้นำ Havard Business Review ครับ กดที่ภาพเพื่อดู infographic แบบเต็มๆ นะครับ

กฎ 10 ประการในการประชุมแบบ อลัน มูลัลลี่ (Allan Mulally) อลัน มูลัลลี่ คือ อดีต CEO ของ Ford Motor ผู้เคยบริหารงานจนพลิกวิกฤตของ Boeing ได้นำวิธีการบริหารที่ประสบความสำเร็จมาใช้ หนึ่งในนั้นคือวิธีการประชุม Business Plan Review ที่มีกฎ 10 ประการ เพื่อให้พนักงานได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมและมุ่งหาผลลัพธ์ร่วมกันอย่างแท้จริง
กฎ 10 ประการในการประชุมแบบ อลัน มูลัลลี่ (Allan Mulally)

อลัน มูลัลลี่ คือ อดีต CEO ของ Ford Motor ผู้เคยบริหารงานจนพลิกวิกฤตของ Boeing ได้นำวิธีการบริหารที่ประสบความสำเร็จมาใช้ หนึ่งในนั้นคือวิธีการประชุม Business Plan Review ที่มีกฎ 10 ประการ เพื่อให้พนักงานได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมและมุ่งหาผลลัพธ์ร่วมกันอย่างแท้จริง

บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค  POMODORO  เทคนิคการบริหารเวลาแบบ Pomodoroนี้ ถูกพัฒนาจาก ฟรานเชสโก้ ซีริลโล (Francesco Cirillo) ช่วงยุค
บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค POMODORO

เทคนิคการบริหารเวลาแบบ Pomodoroนี้ ถูกพัฒนาจาก ฟรานเชสโก้ ซีริลโล (Francesco Cirillo) ช่วงยุค '80 มันคือวิธีการเดียวกับการแบ่งสลอตเวลาออกเป็นช่วงๆ แล้วโฟกัสกับงานให้ได้ จนกว่าเวลาที่แบ่งจะหมดลง โดยวิธีการ คือ

ประชุมแบบไหน ถึงให้ได้ผลลัพธ์แบบผู้บริหาร การประชุมหลายครั้ง ทำเหมือนเป็นธรรมเนียม แถมจบแล้วเหมือนไม่ได้บทสรุป จนรู้สึกว่าเสียเวลาฟรีๆ ถ้าเช่นนั้น มาลองเอาเทคนิคของผู้บริหารระดับโลกชื่อดังอย่าง Jeff Bezos , Elon Musk,  Richard Branson, Larry Page ไปใช้หน่อยดีไหม?
ประชุมแบบไหน ถึงให้ได้ผลลัพธ์แบบผู้บริหาร

การประชุมหลายครั้ง ทำเหมือนเป็นธรรมเนียม แถมจบแล้วเหมือนไม่ได้บทสรุป จนรู้สึกว่าเสียเวลาฟรีๆ ถ้าเช่นนั้น มาลองเอาเทคนิคของผู้บริหารระดับโลกชื่อดังอย่าง Jeff Bezos , Elon Musk, Richard Branson, Larry Page ไปใช้หน่อยดีไหม?