ปัญหาทัศนคติ 7 ด้าน ที่ทำให้ผลการทำงานแย่ลงกว่าเดิม New

วันที่: 17 มี.ค. 2565 14:05:09     แก้ไข: 05 พ.ค. 2565 20:07:11     เปิดอ่าน: 1,769     Blogs
ทัศนคติ (Attitude) คือ ความคิดที่พนักงานมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งครับ

ความสำคัญของความคิดนี้ คือ ความคิดจะทำให้เกิดการกระทำตามมา (Action) ดังนั้น ความคิดนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะส่งผลต่อการทำงานของพนักงาน หรือ ลูกน้องของเราอย่างมากครับ
 
เมื่อเป็นหัวหน้างาน นอกจากรู้ว่า ผลงานที่ไม่ perform ของพนักงาน เกิดจากทัศนคติบางอย่างที่ผิดเพี้ยนไปแล้ว สิ่งถัดมาที่ต้องทำ ก็คือ ต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า "ที่ทัศนคติเขาไม่เหมาะสม จนทำให้กระทบผลการทำงานนั้น เกิดจากความคิดด้านไหน" กันแน่?
ผมจึงขอให้ตัวช่วยในการวิคราะห์ ตามนี้นะครับ ว่า ปกติแล้ว พนักงานจะทำงานได้ดีหรือไม่นั้น ต้องดูความคิดของเขาที่มีต่อสิ่งต่างๆ ในงานทั้ง 7 ด้านนี้ นั่นคือ
 
1. ความคิดที่เขามีต่อตัวเอง เช่น หากเขาคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถที่จะทำงานได้ การกระทำที่ตามมาก็คือ อาจจะเลี่ยงงานที่มอบหมาย ปฎิเสธงานนั้น หรือ ทำด้วยความไม่มั่นใจ งานที่ออกมาจึงครึ่งๆ กลางๆ ไม่เต็มที่
 
นี่เป็นแค่ตัวอย่างเดียวนะครับ เพราะ จริงๆ แล้วความคิดต่อตัวเอง ยังมีด้านอื่นๆ อีกมากมายต่างกันไป บางคนที่คิดว่าปัจจุบันตัวเองเก่งแล้ว ก็อาจจะไม่พัฒนา ไม่อยากเติบโต เมื่อไม่ฝึกทักษะให้ดีขึ้น งานที่ทำมาจึงไม่ดีเท่าที่ควรก็มีครับ
 
2. ความคิดที่มีต่องาน เช่น รู้สึกว่างานนั้นไม่ท้าทาย หรือ คิดว่า งานนั้นไม่ใชหน้าที่ของตน ผลที่ตามมาก็อาจจะทำงานนั้นอย่างไม่กระตือรือร้นก็ได้
 
3. ความคิดที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน หากคิดว่าเพื่อนร่วมงานเป็นทีมเดียวกันการทำงานก็จะสอดประสานกันดี มีการให้ความช่วยเหลือ
แต่หากเป็นตรงข้าม ก็อาจไม่ช่วยเลือกกัน ไม่สื่อสาร ไม่เปิดเผยข้อมูล หรือ ยึดเอาแต่เป้าหมายส่วนตัว จนงานส่วนรวมเสียหายได้เช่นกันครับ
 
4. ความคิดที่มีต่อหัวหน้างาน ปัญหาที่มักเกิด คือ พนักงานรู้สึกไม่ไว้วางใจหัวหน้าของตน เพราะรู้สึกว่าไม่เป็นผู้นำที่ดี การทำงาน ก็อาจออกมาในลักษณะของการหมดไฟทำงาน และอาจลามไปจนถึงการลาออกได้ครับ
 
5. ความคิดต่อบริษัท ถ้าพนักงานคิดว่าบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และดูแลเขาดีเพียงพอ พวกเขาก็จะมีไฟในการทำงาน พร้อมที่จะสร้างความเติบโตไปด้วยกัน
แต่หาก คิดว่าบริษัทเห็นแต่ประโยชน์ของตัวเอง และไม่แฟร์กับเขา ความทุ่มเทพวกนี้ก็จะหายไป จนแสวงหาแต่ประโยชน์ของตัวเอง เป็นต้น
 
6. ความคิดต่อลูกค้า เมื่อคิดไม่เหมาะสม ก็ทำความเข้าใจลูกค้าไม่เพียงพอ สิ่งที่ตามมา คือ ให้บริการไม่ได้ตามมาตรฐาน หรือ แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด จนทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ และอาจเกิดผลเสียต่อเป้าหมายในระยะยาวได้
 
7. ความคิดต่อสถานการณ์ อันนี้ ผมอยากให้เรามองถึงสถานการณ์ในปัจจุบันก็ได้ครับ เมื่อสถานการณวิกฤตรุมเร้า หากพนักงานเข้าใจ และคิดอย่างเหมาะสม จะทำให้เขาเกิดการปรับตัว เพื่อให้ทำงานภายใต้สถานการณ์ที่เป็นข้อจำกัดได้
 
แต่หากอ้างว่า สถานการณ์แบบนี้ก็ทำได้แค่นี้แหละ ก็จะไม่เกิดการปรับตัว ผลการทำงานก็มีแต่จะแย่ลงไปตามสถานการณ์นั่นแหละครับ
เมื่อ #ทัศนคติทำให้เกิดการกระทำ ในฐานะหัวหน้า หากพนักงานของคุณไม่ perform ลองวิเคราะห์สาเหตุทางความคิด หรือ ทัศนคติทั้ง 7 ด้านนี้ดูครับ มันอาจมีด้านใดด้านหนึ่งที่ผิดปกติไปจากเดิมก็เป็นได้

อ่านให้ออก แก้ให้ตรงจุด
ความคิดจุดไหนผิด ต้องแก้ที่จุดนั้น
แล้วลองโค้ชชิ่งพวกเขาดู

หากแก้ได้ การกระทำก็จะกลับมาถูกต้อง แล้วผลงานของพวกเขาก็จะกลับมาดีขึ้นเองครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Key Takeaways จาก Leading with Purpose Mini-Workshop สรุปเนื้อหาและ Key Takeaways ที่น่าสนใจจากงานมินิเวิร์คชอป Leading with Purpose โดย อ. คม สุวรรณพิมล เกี่ยวกับ การพัฒนาผู้นำให้สอดคล้องกับ Organizational Purpose ซึ่งในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรได้ทบทวนถึงเหตุผลในการคงอยู่ของธุรกิจไม่ว่าจะเป็น คุณค่าที่ส่งมอบ ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนกระบวนการทั้งหมดขององค์กรเองว่าได้สอดคล้องกับความมุ่งหวังที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด
Key Takeaways จาก Leading with Purpose Mini-Workshop

สรุปเนื้อหาและ Key Takeaways ที่น่าสนใจจากงานมินิเวิร์คชอป Leading with Purpose โดย อ. คม สุวรรณพิมล เกี่ยวกับ การพัฒนาผู้นำให้สอดคล้องกับ Organizational Purpose ซึ่งในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรได้ทบทวนถึงเหตุผลในการคงอยู่ของธุรกิจไม่ว่าจะเป็น คุณค่าที่ส่งมอบ ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนกระบวนการทั้งหมดขององค์กรเองว่าได้สอดคล้องกับความมุ่งหวังที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด

มารู้จัก A.I. แบบเข้าใจง่าย ใน 1 หน้ากระดาษ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงสมัยสมัยใหม่ ด้วยความสามารถในการจำลองและสร้างความคิดเห็นเชิงปัญญาที่มีความเป็นมนุษย์ได้ การพัฒนา AI ได้เกิดแนวคิดและเทคนิคหลายแบบเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและจำลองกระบวนการคิดของมนุษย์ได้ ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของ AI ได้เป็นระดับต่อไปนี้
มารู้จัก A.I. แบบเข้าใจง่าย ใน 1 หน้ากระดาษ

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงสมัยสมัยใหม่ ด้วยความสามารถในการจำลองและสร้างความคิดเห็นเชิงปัญญาที่มีความเป็นมนุษย์ได้ การพัฒนา AI ได้เกิดแนวคิดและเทคนิคหลายแบบเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและจำลองกระบวนการคิดของมนุษย์ได้ ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของ AI ได้เป็นระดับต่อไปนี้

ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของ  Havard Business Review ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของนักวิจัยและที่ปรึกษาด้านผู้นำ Havard Business Review ครับ
กดที่ภาพเพื่อดู infographic แบบเต็มๆ นะครับ
ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของ Havard Business Review

ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของนักวิจัยและที่ปรึกษาด้านผู้นำ Havard Business Review ครับ กดที่ภาพเพื่อดู infographic แบบเต็มๆ นะครับ

กฎ 10 ประการในการประชุมแบบ อลัน มูลัลลี่ (Allan Mulally) อลัน มูลัลลี่ คือ อดีต CEO ของ Ford Motor ผู้เคยบริหารงานจนพลิกวิกฤตของ Boeing ได้นำวิธีการบริหารที่ประสบความสำเร็จมาใช้ หนึ่งในนั้นคือวิธีการประชุม Business Plan Review ที่มีกฎ 10 ประการ เพื่อให้พนักงานได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมและมุ่งหาผลลัพธ์ร่วมกันอย่างแท้จริง
กฎ 10 ประการในการประชุมแบบ อลัน มูลัลลี่ (Allan Mulally)

อลัน มูลัลลี่ คือ อดีต CEO ของ Ford Motor ผู้เคยบริหารงานจนพลิกวิกฤตของ Boeing ได้นำวิธีการบริหารที่ประสบความสำเร็จมาใช้ หนึ่งในนั้นคือวิธีการประชุม Business Plan Review ที่มีกฎ 10 ประการ เพื่อให้พนักงานได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมและมุ่งหาผลลัพธ์ร่วมกันอย่างแท้จริง

บริหารเวลาเป็น จะไม่เห็นดินพอกหางหมู ด้วยเทคนิค ​OHIO  การเลือกจะผลัดวันประกันพรุ่งนี่แหละ ที่ทำให้งานของคุณจะยิ่งยากและใช้เวลาจัดการกับนานขึ้น โดยเฉพาะ "งานเล็กๆ น้อยๆ" แถมในบางครั้ง งานเดิมก็กลับงอกมาภายหลังจนเป็นอุปสรรคเสียเอง การบริหารเวลาแบบ OHIO จึงแนะนำวิธีจัดการเวลา โดย
บริหารเวลาเป็น จะไม่เห็นดินพอกหางหมู ด้วยเทคนิค ​OHIO

การเลือกจะผลัดวันประกันพรุ่งนี่แหละ ที่ทำให้งานของคุณจะยิ่งยากและใช้เวลาจัดการกับนานขึ้น โดยเฉพาะ "งานเล็กๆ น้อยๆ" แถมในบางครั้ง งานเดิมก็กลับงอกมาภายหลังจนเป็นอุปสรรคเสียเอง การบริหารเวลาแบบ OHIO จึงแนะนำวิธีจัดการเวลา โดย

บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค  POMODORO  เทคนิคการบริหารเวลาแบบ Pomodoroนี้ ถูกพัฒนาจาก ฟรานเชสโก้ ซีริลโล (Francesco Cirillo) ช่วงยุค
บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค POMODORO

เทคนิคการบริหารเวลาแบบ Pomodoroนี้ ถูกพัฒนาจาก ฟรานเชสโก้ ซีริลโล (Francesco Cirillo) ช่วงยุค '80 มันคือวิธีการเดียวกับการแบ่งสลอตเวลาออกเป็นช่วงๆ แล้วโฟกัสกับงานให้ได้ จนกว่าเวลาที่แบ่งจะหมดลง โดยวิธีการ คือ