สื่อสารแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ เพราะความผิดพลาดเหล่านี้ New

วันที่: 17 มี.ค. 2565 16:26:10     แก้ไข: 27 เม.ย. 2565 10:58:53     เปิดอ่าน: 1,600     Blogs
การสื่อสารเป็นปัญหาที่เจอบ่อยมากในการทำงานครับ

เพราะตลอดเวลาทำงาน เราต้องสื่อสารกันเยอะมากทั้งการพูดและการเขียน ผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล์ การประชุม การพูดคุยสั่งการ การให้ feedback ฯลฯ 
แค่ที่ยกตัวยอ่างก็มากมาย จนนับไม่หวาดไม่ไหว เผลอๆ ร้อยละ 90 ในงานของหัวหน้า ล้วนต้องใช้การสื่อสารทั้งนั้นครับ

แต่ปัญหาสำคัญตัวหนึ่งที่มักเกิดขึ้น ก็คือ ความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
ทั้งๆ ที่ตอนสื่อสารนั้น ต่างฝ่ายต่างก็รู้สึกว่าเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดีแล้วจึงได้แยกย้ายไปทำงานถูกไหมครับ?

ในวันนี้ เรามาดูอุปสรรคในการสื่อสารกัน ว่ามันเกิดจากจุดไหน
ถึงทำให้ การสื่อสารไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งใจ

ผมขอเน้นที่ "ปัจจัยระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง" ก่อนนะครับ ไม่นับช่องทางการสื่อสาร หรือ ปัยจัยแวดล้อมอื่นๆ

อุปสรรคสำคัญที่เกิด จะมีอยู่ 3 ด้านที่สำคัญ คือ

1. การปรุงแต่งสาร จากตัวผู้สื่อสารเอง บางทีก็ไม่ตั้งใจ เช่น การใส่ไข่ จากความเข้าใจในแบบตัวเอง การขาดทักษะ หรือ จากทัศนคติ ความเชื่อของตัวเอง

แต่ในบางครัง การปรุงแต่งนี้ เกิดจากความตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นการปกปิดข้อมูลบางอย่าง การบิดเบือน เพื่อให้ได้ประโยชน์ หรือ ให้อีกฝ่ายรับรู้อย่างที่ต้องการ เห็นชัดๆ เช่น การพยายามสื่อสารให้หัวหน้า หรือ ผู้บริหารรับรู้แต่เรื่องดีๆ ผลงานดีๆ เป็นต้น

2. ตัวกรองจากฝั่งผู้รับสาร (ข้อนี้ เน้นเรื่องกระบวนการทางความคิดความเข้าใจ) เช่น มีประสบการณ์ ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ ฯลฯ ที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้รับ เลือกรับข้อมูล ปรับแต่งข้อมูล ที่สอดคล้องกับของตัวเอง

3. อารมณ์ผู้รับสาร (เน้นเรื่องความรู้สึก) เป็นอีกปัจจัยที่เกิดการบิดเบือนสาร และการตอบสนองได้ เช่น เมื่ออารมณ์ดี อาจทำให้จิตใจเบิกบาน สมองปลอดโปร่ง เข้าใจเนื้อหาได้อย่างดี หรือ ตอบสนองในทางที่ดี กว่าตอนอารมณ์ไม่ดี เคร่งเครียด

สามอย่างนี้เป็นแค่พื้นฐานนะครับ หากผู้อ่านสังเกตเห็นว่า การสื่อสารที่ผ่านมาเป็นแบบ "พูดไปอย่างนึง เข้าใจอีกอย่างนึง"
ก็ลองดูว่าเวลาสื่อสารในงานผิดนั้น เกิดจากข้อไหน บ่อยสุด แล้วปรับแก้ดูนะครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ
Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ

หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน