เมื่อองค์กรคุณเริ่มเป็นไซโล จะมี 5 สัญญาณบ่งบอกดังนี้

วันที่: 20 ก.พ. 2563 16:12:10     แก้ไข: 19 ก.ย. 2566 12:12:01     เปิดอ่าน: 2,132     Blogs
โพสก่อนหน้านี้ ได้พูดถึง เรื่อง องค์กรไซโล (Silo Organization) จึงอยากขยายความ
เผื่อว่าท่านใดอยากรู้ว่า องค์กรเราแปรสภาพจากบริษัทเป็นไซโลไปรึยัง? จะสังเกตยังไงดี

เมื่อองค์กรคุณเริ่มเป็นไซโล จะมี 5 สัญญาณบ่งบอกดังนี้ ครับ

1. เริ่มรู้สึกว่าไม่รู้จักคนอื่นๆ นอกจากคนในทีมตัวเอง

2. เริ่มมีบรรยากาศการทำงานแบบ "พวกเขา" และ "พวกเรา" เป็น
พวกแผนกบัญชี พวกมาเก็ตติ้ง หรือ พวกเซลส์ ฯลฯ และรู้สึกว่าพวกทีมอื่นๆนี้
มักจะสร้างภาระ จนไม่อยากดีลงานด้วย เช่น พวกบัญชีชอบเขี้ยวในเรื่องไม่เป็นเรื่อง
จุกจิก หรือ พวกเซลส์ชอบรับปากลูกค้าและสร้างปัญหาตามมาเสมอ

3. พนักงานหลายคน เกิดความรู้สึกว่าไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
ไม่มีความสุขกับการทำงาน ประสานงานลำบาก

4. พนักงานรู้สึกว่าแต่ละทีมทำงานซ้ำซ้อนกัน เนื่องจากขาดการสื่อสารระหว่างกัน
ซึ่งนำไปสู่ความไร้ประสิทธิผลและสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานไป

5. ลูกค้าเริ่มบ่นว่าองค์กรของคุณทำงานไม่ประสานกัน จนเขาเสียความรู้สึกเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์
และได้รับประสบการณ์ที่แย่ๆ เมื่อต้องติดต่อองค์กรของคุณ เช่น "คราวที่แล้วติดต่อมา
บริษัทคุณไม่ส่งต่อข้อมูลกันรึไง" หรือ ทำนองว่า "เซลส์ของคุณบอกไว้อย่างนี้ ทำไมไม่ตรงกันล่ะ"

หากปล่อยไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดผลกระทบต่อองค์กรหลายด้าน
และหนีไม่พ้นผลประกอบการขององค์กรในท้ายที่สุด
ซึ่ง #ทุกคนจะโดนถ้วนหน้าไม่ว่าแผนกไหน

แม้เราจะรู้ว่าการแก้ไข ว่าต้องเริ่มที่ความคิด หรือ Mindset ที่เหมาะสม
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องของใครคนหนึ่ง แม้แต่ HR

แต่วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ต้องเริ่มที่ทีมผู้บริหารระดับสูง (Executive team)
ตระหนักถึงผลกระทบนี้ และผู้บริหารทุกแผนก ต้องเป็นผู้เริ่มต้นแก้ไขร่วมกัน

เพราะองค์กรแบบไซโลยิ่งไม่เอื้อต่อการอยู่รอดและเติบโตทางธุรกิจยิ่งกว่ายุคก่อนมาก
เนื่องจากยุคนี้ การเรียนรู้ให้เร็วเป็นปัจจัยสำคัญ ทุกฝ่ายต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพงานให้เร็ว

รวมทั้งต้องประสานงาน ทำงานเป็นทีมให้มาก (cross-function)
เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีต่อบริการและผลิตภัณฑ์มากที่สุด (customer exprerience)

ตรงข้าม ต้องลดโครงสร้าง กฎระเบียบ และขั้นตอนต่าง ๆ ให้น้อยลง
เพื่อเอื้อการตัดสินใจของพนักงานเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์หน้างานให้มากที่สุดด้วย

ดังนั้น ถ้าอยากให้องค์กรเติบโต "ผู้นำ" ต้องเริ่มทำลายกำแพงไซโลที่ขวางกั้นก่อน
และเมื่อทำให้ผู้ตามร่วมแรงร่วมใจกันได้ "องค์กรของเรา" ก็จะเติบโตและอยู่รอดในยุคสมัยนี้ได้ครับ

----------------------------------
Content & PhotoKnowledge: อนิรุทธิ์ ตุลสุข

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

  • องค์กรไซโล (Silo Organization) ไม่ใช่สถานที่ แต่เกิดจากผู้คน  อ่านที่นี่
หากท่านใดสนใจรายละเอียดของการพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำอย่างแท้จริง สามารถขอคำปรึกษาเบื้องต้นได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่นี่
  
    เพิ่มเพื่อน    

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Key Takeaways จาก Leading with Purpose Mini-Workshop สรุปเนื้อหาและ Key Takeaways ที่น่าสนใจจากงานมินิเวิร์คชอป Leading with Purpose โดย อ. คม สุวรรณพิมล เกี่ยวกับ การพัฒนาผู้นำให้สอดคล้องกับ Organizational Purpose ซึ่งในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรได้ทบทวนถึงเหตุผลในการคงอยู่ของธุรกิจไม่ว่าจะเป็น คุณค่าที่ส่งมอบ ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนกระบวนการทั้งหมดขององค์กรเองว่าได้สอดคล้องกับความมุ่งหวังที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด
Key Takeaways จาก Leading with Purpose Mini-Workshop

สรุปเนื้อหาและ Key Takeaways ที่น่าสนใจจากงานมินิเวิร์คชอป Leading with Purpose โดย อ. คม สุวรรณพิมล เกี่ยวกับ การพัฒนาผู้นำให้สอดคล้องกับ Organizational Purpose ซึ่งในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรได้ทบทวนถึงเหตุผลในการคงอยู่ของธุรกิจไม่ว่าจะเป็น คุณค่าที่ส่งมอบ ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนกระบวนการทั้งหมดขององค์กรเองว่าได้สอดคล้องกับความมุ่งหวังที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด

มารู้จัก A.I. แบบเข้าใจง่าย ใน 1 หน้ากระดาษ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงสมัยสมัยใหม่ ด้วยความสามารถในการจำลองและสร้างความคิดเห็นเชิงปัญญาที่มีความเป็นมนุษย์ได้ การพัฒนา AI ได้เกิดแนวคิดและเทคนิคหลายแบบเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและจำลองกระบวนการคิดของมนุษย์ได้ ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของ AI ได้เป็นระดับต่อไปนี้
มารู้จัก A.I. แบบเข้าใจง่าย ใน 1 หน้ากระดาษ

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงสมัยสมัยใหม่ ด้วยความสามารถในการจำลองและสร้างความคิดเห็นเชิงปัญญาที่มีความเป็นมนุษย์ได้ การพัฒนา AI ได้เกิดแนวคิดและเทคนิคหลายแบบเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและจำลองกระบวนการคิดของมนุษย์ได้ ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของ AI ได้เป็นระดับต่อไปนี้

ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของ  Havard Business Review ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของนักวิจัยและที่ปรึกษาด้านผู้นำ Havard Business Review ครับ
กดที่ภาพเพื่อดู infographic แบบเต็มๆ นะครับ
ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของ Havard Business Review

ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของนักวิจัยและที่ปรึกษาด้านผู้นำ Havard Business Review ครับ กดที่ภาพเพื่อดู infographic แบบเต็มๆ นะครับ

กฎ 10 ประการในการประชุมแบบ อลัน มูลัลลี่ (Allan Mulally) อลัน มูลัลลี่ คือ อดีต CEO ของ Ford Motor ผู้เคยบริหารงานจนพลิกวิกฤตของ Boeing ได้นำวิธีการบริหารที่ประสบความสำเร็จมาใช้ หนึ่งในนั้นคือวิธีการประชุม Business Plan Review ที่มีกฎ 10 ประการ เพื่อให้พนักงานได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมและมุ่งหาผลลัพธ์ร่วมกันอย่างแท้จริง
กฎ 10 ประการในการประชุมแบบ อลัน มูลัลลี่ (Allan Mulally)

อลัน มูลัลลี่ คือ อดีต CEO ของ Ford Motor ผู้เคยบริหารงานจนพลิกวิกฤตของ Boeing ได้นำวิธีการบริหารที่ประสบความสำเร็จมาใช้ หนึ่งในนั้นคือวิธีการประชุม Business Plan Review ที่มีกฎ 10 ประการ เพื่อให้พนักงานได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมและมุ่งหาผลลัพธ์ร่วมกันอย่างแท้จริง

บริหารเวลาเป็น จะไม่เห็นดินพอกหางหมู ด้วยเทคนิค ​OHIO  การเลือกจะผลัดวันประกันพรุ่งนี่แหละ ที่ทำให้งานของคุณจะยิ่งยากและใช้เวลาจัดการกับนานขึ้น โดยเฉพาะ "งานเล็กๆ น้อยๆ" แถมในบางครั้ง งานเดิมก็กลับงอกมาภายหลังจนเป็นอุปสรรคเสียเอง การบริหารเวลาแบบ OHIO จึงแนะนำวิธีจัดการเวลา โดย
บริหารเวลาเป็น จะไม่เห็นดินพอกหางหมู ด้วยเทคนิค ​OHIO

การเลือกจะผลัดวันประกันพรุ่งนี่แหละ ที่ทำให้งานของคุณจะยิ่งยากและใช้เวลาจัดการกับนานขึ้น โดยเฉพาะ "งานเล็กๆ น้อยๆ" แถมในบางครั้ง งานเดิมก็กลับงอกมาภายหลังจนเป็นอุปสรรคเสียเอง การบริหารเวลาแบบ OHIO จึงแนะนำวิธีจัดการเวลา โดย

บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค  POMODORO  เทคนิคการบริหารเวลาแบบ Pomodoroนี้ ถูกพัฒนาจาก ฟรานเชสโก้ ซีริลโล (Francesco Cirillo) ช่วงยุค
บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค POMODORO

เทคนิคการบริหารเวลาแบบ Pomodoroนี้ ถูกพัฒนาจาก ฟรานเชสโก้ ซีริลโล (Francesco Cirillo) ช่วงยุค '80 มันคือวิธีการเดียวกับการแบ่งสลอตเวลาออกเป็นช่วงๆ แล้วโฟกัสกับงานให้ได้ จนกว่าเวลาที่แบ่งจะหมดลง โดยวิธีการ คือ