เริ่มเปลี่ยนคำวิจารณ์ให้เป็น Feedback ที่สร้างสรรค์ ทำได้อย่างไร?

วันที่: 05 เม.ย. 2565 11:43:41     แก้ไข: 07 มิ.ย. 2565 20:40:13     เปิดอ่าน: 663     Blogs
ใครๆ ก็พูดได้ว่า ควรรับคำวิจารณ์ให้ได้ แต่เชื่อไหมว่า คนพูดก็ทำไม่ได้ ถ้าเกิดกับตัวเอง

วันก่อนพูดถึงฝั่งผู้ให้ feedback ไปแล้ว ว่าถ้าอยากเพิ่มโอกาสให้คนฟังรับคำวิจารณ์นั้นไปปรับปรุง (ซึ่งถือว่าเป็น feedback แบบหนึ่ง) ต้องรู้จักวิธีการคิด และวิธีการพูดเพื่อทำให้คำวิจารณ์นั้นเปลี่ยนกลายเป็น feedback ที่มีคุณภาพมากขึ้น

แล้วถ้าเราต้องเป็นคนรับบ้างล่ะ จะยอมรับ feedback หรือ คำวิจารณ์ได้แค่ไหนกัน? มันไม่ง่ายเหมือนตอนที่เราเป็นฝ่ายพูดนะครับ โดยเฉพาะการรับ feedback เชิงลบ เพื่อให้ปรับปรุงตัวเอง

ที่ว่ายาก เพราะมันจะมาในหลายแบบ ความแรงก็มีหลายระดับ ตั้งแต่ การ complain การด่า การต่อว่า การติเตียน การวิจารณ์ ไปจนถึง การให้ feeedback อย่างสร้างสรรค์ (constructive feedback)

เราเลือกไม่ได้ครับ ว่าจะเจอแบบไหน

แต่...สิ่งที่เราเลือกได้ คือ วิธีการกลั่นเอาข้อมูลดีๆ ออกจากคำพูดเหล่านั้น เพื่อนำไปทำให้ตัวเราดีขึ้นได้ และได้ประโยชน์เต็มๆ แก่ตัวเราเองครับ วิธีการที่ผมใช้ก็คือ

1. ตั้งสติก่อน
นี่เป็นจุดแรกที่หลายคนจะพลาดและตกหลุมพรางทางอารมณ์ เพราะไม่ว่าจะให้ feedback ดีแค่ไหน มันก็ยังเป็นการพูดถึงตัวเราของเรา ซึ่งมันจะเกิดกลไกป้องกันตัวทางจิตใจ (defence mechanism) โดยอัตโนมัติ และจนหาเหตุผลอธิบายว่าตัวเองไม่ผิด เช่น คิดว่าคนพูดอคติ ไม่รู้เหตุผล หรือ เกลียดเรา ฯลฯ

ถ้าแค่เริ่มต้น ไม่คุมสติและมโนไปไกลแล้ว จะไม่เหลือใจไว้รับ feedback เลย เพราะคุณจะหาทางโต้ตอบผู้พูดกลับ หรือ ทำหูดับเพิกเฉยไป สุดท้ายคุณจะไม่ได้โอกาสดีๆ ในการพัฒนาตัวเองเลย

2. พยายามทำความเข้าใจว่า ผู้พูดต้องการสื่ออะไร และ พฤติกรรมไหนที่เป็นปัญหา
ตรงนี้ต้องมีทักษะการจับใจความสำคัญ ซึ่งมันจะช่วยให้ เราแยก "น้ำ" ออกจาก "เนื้อ" ได้

นอกจากการ "ฟังอย่างตั้งใจ" ให้ใช้ "การถามเพื่อเข้าใจ" ด้วย จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันมากขึ้น ว่าสิ่งใดเป็นปัญหา และ ปัญหานั้นเกิดจากพฤติกรรมไหน เช่น ถ้าเขาบอกว่าคุณทำงานแย่ ลองถามดูว่า สิ่งที่ว่าแย่นั้น คือ อะไร? แล้วมันส่งผลยังไงบ้าง? ตรงนี้จะช่วยให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น เขาพูดมา เราถามกลับได้ไม่ผิดครับ

3. พิจารณาว่า feedback นั้นเป็นจริงหรือไม่ และให้ประโยชน์อะไรกับเราบ้าง
ไม่ใช่ทุก feedback จะเป็นข้อเท็จจริง (fact) หรือมีประโยชน์ แต่ถึงอย่างนั้นยังไง ก็ควรขอบคุณผู้ให้ตามมารยาท
แต่หากดูแล้วเป็นจริงและควรหาแนวทางการแก้ไข

4. คิดวิธีการปรับปรุง
ตรงนี้ อาจใช้การตั้งคำถาม ทำไม 5 ครั้ง (5 why) เพื่อดูสาเหตุว่าเพราะเหตุใดเราถึงทำสิ่งนั้น เพื่อจะได้แก้ปัญหาพฤติกรรมเราที่ราก จึงจะมีประสิทธิภาพ เจอปัญหาแล้ว อย่าลืมเขียนแนวทางการแก้ด้วยนะครับ

5. ติดตามผลการเปลี่ยนแปลง
เมื่อทำตามวิธีแก้ปัญหา หรือ ปรับการกระทำของเราแล้ว ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงด้วย โดยอาจจะสังเกตตัวเอง หรือ ลองสอบถามคนที่ให้ feedback ได้ เพื่อดูว่าเรามีการพัฒนาแค่ไหน ปัญหาต่างๆ ลดลงไหม?

ถ้ายัง ลองวิเคราะห์ปัญหาแบบข้อ 4 อีกครั้ง เผื่อว่าอาจจะแก้ไขผิดจุด
เมื่อทำไปเรื่อยๆ คุณก็จะเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องครับ

ประโยชน์จากการรับ feedback นั้น มันไม่ได้ไปอยู่กับใครเลยนะ เมื่อคุณพัฒนาขึ้น ชีวิตคุณก็ดีขึ้นเองไม่มีใครมาแย่งผลของมันไปจากเราได้
สุดท้ายมันจะกลายเป็นต้นทุนของเรา เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อตัวเอง อย่างน้อยที่สุด ก็ได้ทักษะในการรับ feedback ให้เป็น และไม่ต้องเดือดร้อนจนดิ้นกับคำวิจารณ์ หรือ feedback ที่เข้ามาในชีวิตมากจนเกินไปนัก

เพราะ ชีวิตคนเราเลี่ยงคำวิจารณ์และ feedback ไม่ได้หรอกครับ มันมีมาเรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะทำดีแค่ไหน ใกล้ความเพอร์เฟคเท่าไรก็ตาม
อยู่กับมัน กลั่นกรองให้เหลือข้อมูลที่ประโยชน์ เพื่อปรับปรุงตัวเราให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกๆ วัน ดีกว่าไม่รู้จะไปปรับอะไรเลย แล้วอยู่เฉยๆ แบบเดิมจนไม่พัฒนาน่ะครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ
Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ

หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน