เรื่องราวของ Kodak ถูกนำมาโพสผ่านหน้าสื่อต่างๆ อีกครั้ง

วันที่: 11 ส.ค. 2563 11:07:01     แก้ไข: 01 ก.พ. 2564 09:38:23     เปิดอ่าน: 1,420     Blogs
กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องราวของ Kodak ถูกนำมาโพสผ่านหน้าสื่อต่างๆ อีกครั้ง
.
ผมจำได้ว่าในช่วง 10 กว่าปีหลัง
เรื่องราวของ Kodak มักถูกนำเสนอในแง่มุมของการเปลี่ยนแปลง ทางธุรกิจเสมอ (Change) ว่า Kodak เป็นสัญลักษณ์ ความเสื่อมถอย ล้าหลัง ปรับตัวไม่ทันจนตกยุค และหมดสภาพธุรกิจที่เคยรุ่งเรืองในอดีต (พอๆกับโนเกีย)
.
แต่ในตอนที่ผมเป็นเด็กนั้น เป็นยุคที่ Kodak รุ่งเรืองขั้นสุด ถ้าพูดถึงการถ่ายรูป เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่นึกถึงผลิตภัณฑ์ของเค้า เพราะเป็นผู้นำวงการยาวนานเป็นร้อยปี และยากที่จะหาใครชิงตำแหน่งได้
.
จริงๆ แลัว จุดผิดพลาดของ Kodak นั้น รายละเอียดมันลึกซึ้งมากกว่าแค่การไม่ยอมปรับตัวตามยุคสมัยนะครับ
 
ถ้าเอาย่อๆ ก็คือ Kodak ก็ปรับครับ แต่มันไปผิดทางจากที่คิด เพราะเค้าไปมุ่งต่อยอดจากธุรกิจเดิม ซึ่งก็คือ ฟิล์มและการอัดภาพจนเกินไป
.
ด้วยวิสัยทัศน์นี้ แม้เขาจะคาดได้ถูกต้องว่า พฤติกรรมคนในยุคดิจิตอลจะเปลี่ยนแปลงไป (คือคนน่าจะอยากแชร์ภาพผ่านเว็บซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กำลังนิยม) และได้เตรียมตัวด้วยการเข้าซื้อเว็บไซต์สำหรับแชร์ภาพถ่าย ที่ชื่อ Ofoto เมื่อปี 2001
.
แต่มันกลับเป็นไปเพื่อส่งเสริมการอัดภาพตามผลิตภัณฑ์เดิมของตน และทุ่มกำลังในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อถ่ายโอนภาพจากกล้องเข้าคอมมากกว่าสิ่งอื่นใด
.
อนิจจา การเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล มันดันไปไกลเกินกว่าที่คิด ขนาดจนถึงขนาดพลิกรูปแบบอุตสาหกรรม Kodak จึงไม่สามารถปรับองค์กร เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงได้ทัน
.
หลังจากฝืนอยู่นาน ท้ายที่สุด โกดัก ก็ล้มละลายในปี 2012 พร้อมกับกลายเป็นตำนาน (ด้านที่ไม่สวย) อย่างที่จั่วหัวไปข้างต้นแหละครับ
.
จากนั้นข่าวคราวของยักษ์ใหญ่รายนี้ก็เงียบไปตามกาลเวลา จนหลายคนอาจเข้าใจว่า Kodak ปิดกิจการไปแล้วด้วยซ้ำ
.
จนล่าสุด หุ้นโกดักกลับมาทะยาน ถึงเกือบ 20 เท่า เมื่อรัฐบาลสหรัฐมอบโอกาสครั้งสำคัญ ที่เป็นราวกับเวทย์ชุบชีวิตให้ยักษ์ใหญ่คืนชีพ นั่นคือ การมอบเงินกู้ให้ ราวๆ 24,000 ล้านบาท
.
โดยมอบภาระกิจสำคัญที่มาพร้อมกับเงื่อนไขการคืนชีพนี้คือ จงผลิตส่วนประกอบยาภายใต้ “กฎหมายการผลิตในยามสงคราม” (Defense Production Act) ซะ เพราะตอนนี้ สหรัฐจำเป็นต้องใช้ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 ที่เพิ่มจำนวนอย่างมากในขณะนี้ อีกทั้งต้องการลดการพึ่งพายาจากต่างชาติ
.
เผอิญว่า Kodak เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวจากธุรกิจเดิมเดิมหลายครั้งหลายหน ซึ่งธุรกิจการแพทย์และยาเป็นหนึ่งในนั้น ชื่อของ Kodak จึงอยู่ในลิสนี้
.
ส่วนตำนานของ Kodak จะถูกเขียนขึ้นมาใหม่ในแบบฮีโร่หรือไม่?
.
ตำราการบริหารเปลี่ยนแปลง จะได้เคสใหม่ของ Kodak หรือเปล่า? ก็ยังไม่ทราบได้ และต้องติดตามกันไปอีกระยะ
.
เรื่องนี้ทำให้รู้ได้ว่า ความไม่แน่นอนเป็นสัจธรรมจริงๆ
.
ยักษ์ใหญ่ที่เคยรุ่งเรือง ก็พลาดได้ ล่มได้ง่ายๆ
แต่กระนั้น เมื่อล้มได้ก็ลุกได้ เพราะ "โอกาส" มา ในเวลาที่ไม่คาดฝันและมันก็มาจากประสบการณ์ ที่เราก็ไม่คิดมาก่อนว่าจะช่วยอะไรได้เช่นกัน
.
ชีวิตคนเราก็ไม่ต่างกันครับ ผมเชื่อว่า ผู้อ่านบางท่านก็เคยมีวันที่เคยผิดพลาด หรือ อาจเจอวิกฤตครั้งนี้ จนไม่คิดว่าจะกลับไปสู่จุดรุ่งเรืองได้อีก
.
แต่เราอยากให้ชีวิตเป็นภาพจำของความล้มเหลวงั้นหรือ?
รึว่าจะหาทางสู้ต่อ เพื่อรอเวลาที่จะกลับมาอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้ง
.
การกลับมา อาจจะเร็วหรือช้า ไม่มีใครคาดได้
.
ขอแค่อย่าย่อท้อ เมื่อวันที่โอกาสมาถึง มันจะเป็นของคนที่พร้อมกว่า
.
ถึงตอนนั้น สิ่งที่ต้องทำต่อไป คือ ใช้โอกาสให้คุ้มที่สุด และทำมันอย่างเต็มที่ก็พอ
.
ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่ยังสู้อยู่ครับ
---------------------------------
Content: อนิรุทธิ์

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้ องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ
Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้

องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ

Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้ Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ
Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้

Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ

Pakinson
Pakinson's Law เวลาที่มีไม่เคยพอ เพราะเราจะรอจนถึง Deadline New

Parkinson's Law ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคร้าย แต่ความหมายของมันคือ “Work expands so as to fill the time available for its completion.” หรือว่าง่ายๆ เวลามีมากแค่ไหน สุดท้ายก็ทำงานเสร็จตอน deadline อยู่ดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ คุณโดน Pakinson's Law จ้องเล่นอยู่ครับ

Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ
Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว

ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ

World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่ ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย
World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่

ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย

ผลการสำรวจ  3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน
ผลการสำรวจ 3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม

ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน