10 พฤติกรรมผู้นำ ที่เป็นบ่อนทำลาย Leadership Culture

วันที่: 17 มี.ค. 2565 14:23:35     แก้ไข: 30 มี.ค. 2565 19:54:48     เปิดอ่าน: 1,963     Blogs
จากการศึกษาของ Vince Molinaro (2020)บอกว่า เกือบร้อยละ 90 ของผู้บริหาร เชื่อเรื่องนี้สุดใจครับว่า Leadership Culture หรือ วัฒนธรรมการเป็นผู้นำที่ดีนั้น เป็นสิ่งสำคัญต่อองค์กรมาก ทว่า กลับมีองค์กรเพียงร้อยละ 15 เท่านั้น ที่มีวัฒนธรรมนี้ที่เข้มแข็งแล้ว

Leadership Culture คืออะไร?

วัฒนธรรมนี้ ก็คือ วิธีการที่ผู้นำลงมือทำงานต่างๆ ในองค์กรให้ลุล่วง การพูดคุยติดต่อ การตัดสินใจ และการส่งอิทธิพลต่อคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกทีม เพื่อร่วมงานต่างแผนก หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง

พฤติกรรมที่แสดงออก จะเกิดจากความคิดและความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นค่านิยมส่วนบุคคล ทัศนคติต่อสิ่งต่างๆ จนเป็นแนวทางการปฏิบัติและกลายเป็นรูปแบบของพฤติกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์ จนนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ จากนั้นก็กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรรูปแบบหนึ่ง

เมื่อวัฒนธรรมนี้เข้มแข็ง จะส่งผ่านไปยังพนักงาน ให้เกิดภาวะผู้นำได้เช่นกัน แม้พวกเขาจะไม่มีลูกน้องก็ตาม

แต่ว่าด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (หรือปล่อยปละละเลยไม่ทราบได้) กลายเป็นว่าผู้นำในหลายๆ องค์กรแทนที่จะช่วยสร้างวัฒนธรรมตัวนี้ให้เกิดขึ้นกลับกลายเป็นคนด้อยค่าและทำให้มันอ่อนแอลงไปเสียอย่างนั้น

ซึ่งสัญญาณของพฤติกรรมผู้นำ ที่จะเป็นบ่อนทำลาย Leadership Culture นี้ สังเกตได้จาก 10 พฤติกรรมนี้ครับ

1. ไม่รู้ว่าควรทำอะไร ก่อน-หลัง หรือ ไม่มีกลยุทธ์ในการจัดลำดับความสำคัญ เรียกง่ายๆ ว่าออกลูกมั่วเยอะ หรือ ด้นสดไปนั่นเอง
2. สร้างแรงบันดาลใจทีมงานไม่ได้ ไม่สามารถสื่อสาร Vision ที่ชัดเจน และ สร้างแรงจูงใจ กระตุ้นให้คนอื่นๆ อยากทำตามด้วยความเต็มใจ
3. ปล่อยให้เกิดภาวะผู้นำที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ไม่แอคชั่น ใส่เกียร์ว่าง
4. ไม่ยินดีต่อความสำเร็จของคนอื่น หรือ ขาดการให้การให้แรงจูงใจที่เหมาะสม (recognition)
5. ทำงานแบบไอ้เข้ขวางคลอง โน่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ได้แทบทุกเรื่อง
6. ยกหางตัวเอง หรือ แอบอ้างสำเร็จของคนอื่น บางครั้งผลงานเกิดจากทีม แต่ยืดอกรับไว้เองอย่างแมนๆ หน้าตาเฉย
7. ไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน ไม่ลุยไม่สู้เคียงข้างกัน ไม่แก้ปัญหาไปด้วยกัน หรือ ลอยตัวเหนือปัญหา
8. ต่อว่าและโยนความผิดให้ทีมงาน หรือ เพื่อนร่วมงานเป็นนิสัย (เมื่อรวมข้อ 6 จึงเป็นสำนวนว่า "เอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้ชาวบ้าน" นั่นเอง)
9. กั๊กข้อมูลไว้ เพื่อสร้างฐานอำนาจ หรือ เพื่อข้อได้เปรียบในการต่อรองเรื่องต่างๆ
10. เมินเฉย เมื่อทีมงาน หรือ เพื่อนร่วมงานต้องการความช่วยเหลือ

เมื่อนับความเสี่ยงได้ 10 ข้อ แล้ว หัวหน้าใครมีครบ จบแน่นอนครับ!

ไม่ใช่จบสวย แต่เป็นจบเห่นะครับ!

เพราะเข้าข่ายมีความเสี่ยงเต็มๆ ที่เขาผู้นั้น จะเป็นผู้ที่สร้างทำให้วัฒนธรรมการเป็นผู้นำที่ดีในองค์กรอ่อนแอลงมากๆ
และหากมีหัวหน้าแบบนี้เต็มองค์กร ที่ทำงานก็ยิ่งเป็นสถานบันเทิงแทนเลยล่ะครับ เพราะ บรรยากาศการทำงานคงเต็มไปด้วยความไม่เชื่อใจ ระวังหลังกันเต็มที่ครับ

ทางแก้ไข จึงอยู่ที่การพัฒนา Leadership เป็นเรื่องสำคัญ แต่ถ้าเรียนแล้วไม่ทำ ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ นะครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ