ครั้งก่อน เราคุยกันว่า เมื่อหัวหน้า (บางคน) เริ่มอิจฉาผลงานของคุณ เขาจะแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมาครับ
โพสนี้ เรามาดูกันว่า ถ้าเจอปัญหาที่ว่า จะมีทางแก้สถานการณ์ที่น่าอึดอัดนี้ยังไงดีกว่า
การแก้ปัญหานี้ เน้นกรณีที่ "ต้องการทำงานที่เดิมต่อ" นะครับ
หากเป็นกรณีนี้ ต้องความคิดเริ่มต้น ก็คือ "จะอยู่ร่วมกันและทำงานด้วยกันอย่างไรดี" เสียก่อน โดยมีขั้นตอนตามนี้ครับ
1. ตั้งสติให้ดี แล้วลองคิดทบทวนว่า มีเหตุการณ์ใดที่ทำให้เขาน้อยใจ จนรู้สึกเปรียบเทียบบ้างไหม เช่น
- บางครั้ง เราข้ามหน้าข้ามตา ข้ามหัว เขาไปบ้างไหม
- เราได้ให้เครดิตเขาบ้างไหม ในความสำเร็จแต่ละครั้ง
และสิ่งที่สำคัญ คือ อย่าไปโต้ตอบ แบบแรงมาแรงกลับ เด็ดขาดครับ เพราะยังไงเสียเขาก็ยังเป็นหัวหน้าคุณและสามารถให้คุณให้โทษได้
ไม่จำเป็นอย่าไปทำ ไม่งั้น คุณจะไม่ได้ใช้ ขั้นตอนที่เหลือเลย (เพราะอาจต้องไปก่อนวันอันควร)
2. คุณต้องรู้หลักจิตวิทยา เข้าใจอีกฝ่ายให้ได้ว่า บอสคุณก็เป็นคนที่มีความต้องการแบบมนุษย์ปุถุชนนี่แหละ เขาต้องการสถานะ ต้องการความนับหน้าถือตาเหมือนกัน เมื่อเขาเห็นผลงานคุณรุ่ง ก็อดที่จะเปรียบเทียบตัวเองไม่ด้ และนั่นอาจนำมาซึ่งความหงุดหงิดริษยาอิจฉาทั่วไป หรือ บางคนอาจมีปมแต่ก่อนเก่า (inferior) ที่ถมความต้องการไม่เต็มในบางเรื่อง หรือ มีค่านิยม (Personal Values) ที่ต้องการการยอมรับแบบรุนแรงกว่าคนทั่วไปก็มีครับ
พยายามเข้าใจความแตกต่างตรงนี้ จะช่วยทำให้คุณเห็นใจ และเปิดใจมากขึ้นครับ
3) ทำในสิ่งที่เหมาะสม
การกระทำที่เหมาะสม คือ เผื่อแผ่ความสำเร็จนี้ ให้ทั้งเขาและทีมด้วย เพราะ ปกติแล้ว เวลาเราประสบผลสำเร็จ เรามักจะให้เหตุผลว่าว่ามันเกิดจากความทะเยอทะยานของเรา ทักษะความสามารถของเราทั้งนั้น
แม้ว่า บางครั้งมันจะเป็นความจริง แต่เราสามารถส่งผ่านความสำเร็จนี้ แก่หัวหน้าของเราได้ ด้วยการแสดงความขอบคุณในการสนับสนุน การให้คำแนะนำ ต่างๆ ที่ทำให้คุณสามารถไปถึงเป้าหมายนั่นได้ จะให้ดี ต้องทำให้ในที่ public นะครับ เพื่อให้เขารู้สึกว่ามีความสำคัญอยู่
ยิ่งไปกว่านั้น หากเรานึกถึงทีมด้วย นึกถึงพวกเขาที่มีส่วนร่วมด้วย ก็จะยิ่งดี
การเผื่อแผ่ความสำเร็จนี้ ไม่ได้ทำให้คุณสำเร็จน้อยลง แต่ จะยิ่งทำให้คุณสำเร็จในการทำงานเป็นทีมมากขึ้นด้วย
ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงไกด์ไลน์นะครับ
หากใครมีวิธีดีๆ เพิ่มเติม ก็เม้นบอกเพื่อนๆ แฟนเพจด้วย จักเป็นกุศลยิ่งนัก และเพื่อนๆ จะได้จำและนำไปใช้ ครับ
![]() |
Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking |
หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ
เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน