3 แนวทาง สร้างองค์กรดิจิทัลที่เริ่มจากคน

วันที่: 24 มี.ค. 2565 16:38:29     แก้ไข: 27 เม.ย. 2565 10:46:42     เปิดอ่าน: 914     Blogs
Digital Transformation ไม่ใช่เรื่องของ IT แต่เป็นหน้าที่เราทุกคนในองค์กร แต่ทำไมหลายคนเข้าใจแบบนั้น?

นั่นเป็นเพราะ คำว่า Digital นี่แหละ พอมันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใช่ป่าว? มันก็ต้องอยู่ในหมวดหมู่ IT ไงเล่า ยากตรงไหน

ที่มาก็เป็นแบบนี้แหละครับ ดังนั้นผมจึงอยากจะเปลี่ยนจาก การทำให้ "องค์กรเป็นดิจิทัล" เป็น ทำให้ "องค์กรพร้อมรับมือกับอนาคต" ทีนี้ ก็จะดูเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำร่วมกันแล้วล่ะ

เพียงแต่เราต้องฝึกใช้ Digital Technology เพื่อเป็น เครื่องมือ (Tools) ในการสร้างองค์กรร่วมกันอีกที ตามหน้าที่แต่ละคนครับ

สาเหตุที่ต้องปรับองค์กร ก็เพราะว่า โลกยุคดิจิทัลนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีก้าวกระโดด การปรับตัวให้ทัน จึงไม่ใช่แค่ "การหนีตาย" แต่เป็นการ "วิ่งให้ได้เค้ก"
ใครมองโอกาสได้ก่อน ก็ได้เค้กก้อนโตไป ส่วนใครช้าก็ได้แต่มอง แล้วท้องร้องต่อไปครับ

โดยทาง Management จะมองเห็นเรื่องเหล่านี้ก่อนแล้ว จึงให้ทิศทางของการปรับตัว เพื่อให้แต่ละแผนกได้ (นำทีมโดย Department/Function Head) นำไปสานต่อและปรับเป้าหมาย โครงสร้างทีม กระบวนการทำงาน และ คน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีได้

ตรงนี้จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีเป็นแค่ส่วนหนึ่งจริงๆ นะครับ การปรับคนให้ทำงานกับสิ่งรอบตัวที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วต่างหากที่เป็น Key สำคัญจริงๆ เพราะ ปกติแล้ว คนเราก็ปรับตัวได้ช้ากว่าเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว การจะทำให้ Digital Transformation นี้สำเร็จ จึงอยู่ที่ว่า "ใครจะปรับคนได้เร็วกว่ากัน"

จุดนี้แหละครับ HR ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญที่สุดแล้วในด้านคน จึงตัวช่วยที่สำคัญมากๆ เพราะมีความเข้าใจคนในองค์กรมากที่สุด เพียงแค่ HR ต้องเติมความเข้าใจ ในเรื่องของหัวใจสำคัญของการปรับคนให้ได้ แล้ว HR จะช่วยคนในองค์กรได้ในด้านต่างๆ เหล่านี้ครับ

1. สร้างความคุ้นชินกับเทคโนโลยี และใช้เป็น tools เพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำงานของแต่ละคน แต่ละหน่วยงานให้ได้ เพื่อสร้างคุณค่า (Values) ใหม่ๆ ในงาน และ มี Productivity ในการทำงานที่มากขึ้น

2. อำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ เพื่อให้พนักงานเกิดประสบการณ์ที่ดีมากขึ้นกับองค์กร (Employee Experience) ด้วยการใช้เทคโนโลยีสนับสนุน HR Services ต่าง ก็เป็นอีกทางหนึ่งด้วยครับ เพราะจะทำให้คนในองค์กรสะดวกขึ้น มี engagement มากขึ้น เช่น การพัฒนาผ่านแพลตฟอร์ม หรือ การเช็คข้อมูลที่จำเป็นด้าน HR แก่พนักงาน แล้วพวกเขาก็จะมีเวลาไป Focus กับการทำงานมากขึ้น

3. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ผ่านเทคโนโลยีทางด้าน HR อย่างเช่น Predictive Analytics เพื่อเพื่อเปรียบเทียบหาผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับทีมและ วัฒนธรรม และจุดมุ่งหมายขององค์กร หรือ การใช้ AI เพื่อตรวจเช็ค Engagement ของพนักงานในองค์กรและให้คำแนะนำแก่หน่วยงานต่างๆ ให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

ผมขอเน้นในฝั่ง HR มากหน่อย หวังว่าผู้อ่านคงไม่ว่ากันนะครับ เพราะว่า พวกเขาเป็นตัวช่วยที่สำคัญมากๆ จริงๆ ที่จะส่งให้ทุกส่วนไปถึงฝั่งของการทำ Digital Transformation และ คงระบบนี้ไว้ในการทำงานในชีวิตประจำวันของทุกคน

สำหรับรายละเอียดของการทำ Digital Transformation ด้าน HR นั้น สามารถชมเพิ่มเติมได้ที่คลิปปักหมุดของเพจนะครับ ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณประสงค์ ถึงแสง (คุณมะลิ) Head of People & Development ของ Krungsri Consumer มาร่วมแชร์ ประสบการณ์ตรงเลยครับ (https://bit.ly/3ko0Kz6)




อย่าลืมนะครับว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของทุกคนในองค์กรที่ต้องช่วยกันปรับตัวกับโลกดิจิทัล เพื่อให้ได้เป้าหมายสูงสุดนั่น คือ การเป็นองค์กรที่รับมือกับอนาคตที่รวดเร็วและไม่แน่นอนได้ดียิ่งกว่าเดิมครับ

ไม่ใช่ทำ Digital Transformation เพื่อเป็นองค์กรดิจิทัลอย่างเดียวครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Key Takeaways จาก Leading with Purpose Mini-Workshop สรุปเนื้อหาและ Key Takeaways ที่น่าสนใจจากงานมินิเวิร์คชอป Leading with Purpose โดย อ. คม สุวรรณพิมล เกี่ยวกับ การพัฒนาผู้นำให้สอดคล้องกับ Organizational Purpose ซึ่งในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรได้ทบทวนถึงเหตุผลในการคงอยู่ของธุรกิจไม่ว่าจะเป็น คุณค่าที่ส่งมอบ ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนกระบวนการทั้งหมดขององค์กรเองว่าได้สอดคล้องกับความมุ่งหวังที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด
Key Takeaways จาก Leading with Purpose Mini-Workshop

สรุปเนื้อหาและ Key Takeaways ที่น่าสนใจจากงานมินิเวิร์คชอป Leading with Purpose โดย อ. คม สุวรรณพิมล เกี่ยวกับ การพัฒนาผู้นำให้สอดคล้องกับ Organizational Purpose ซึ่งในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรได้ทบทวนถึงเหตุผลในการคงอยู่ของธุรกิจไม่ว่าจะเป็น คุณค่าที่ส่งมอบ ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนกระบวนการทั้งหมดขององค์กรเองว่าได้สอดคล้องกับความมุ่งหวังที่แท้จริงมากน้อยเพียงใด

มารู้จัก A.I. แบบเข้าใจง่าย ใน 1 หน้ากระดาษ AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงสมัยสมัยใหม่ ด้วยความสามารถในการจำลองและสร้างความคิดเห็นเชิงปัญญาที่มีความเป็นมนุษย์ได้ การพัฒนา AI ได้เกิดแนวคิดและเทคนิคหลายแบบเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและจำลองกระบวนการคิดของมนุษย์ได้ ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของ AI ได้เป็นระดับต่อไปนี้
มารู้จัก A.I. แบบเข้าใจง่าย ใน 1 หน้ากระดาษ

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นองค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงสมัยสมัยใหม่ ด้วยความสามารถในการจำลองและสร้างความคิดเห็นเชิงปัญญาที่มีความเป็นมนุษย์ได้ การพัฒนา AI ได้เกิดแนวคิดและเทคนิคหลายแบบเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและจำลองกระบวนการคิดของมนุษย์ได้ ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของ AI ได้เป็นระดับต่อไปนี้

ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของ  Havard Business Review ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของนักวิจัยและที่ปรึกษาด้านผู้นำ Havard Business Review ครับ
กดที่ภาพเพื่อดู infographic แบบเต็มๆ นะครับ
ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของ Havard Business Review

ประชุม online ให้ได้ประสิทธิภาพ จากคำแนะนำของนักวิจัยและที่ปรึกษาด้านผู้นำ Havard Business Review ครับ กดที่ภาพเพื่อดู infographic แบบเต็มๆ นะครับ

กฎ 10 ประการในการประชุมแบบ อลัน มูลัลลี่ (Allan Mulally) อลัน มูลัลลี่ คือ อดีต CEO ของ Ford Motor ผู้เคยบริหารงานจนพลิกวิกฤตของ Boeing ได้นำวิธีการบริหารที่ประสบความสำเร็จมาใช้ หนึ่งในนั้นคือวิธีการประชุม Business Plan Review ที่มีกฎ 10 ประการ เพื่อให้พนักงานได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมและมุ่งหาผลลัพธ์ร่วมกันอย่างแท้จริง
กฎ 10 ประการในการประชุมแบบ อลัน มูลัลลี่ (Allan Mulally)

อลัน มูลัลลี่ คือ อดีต CEO ของ Ford Motor ผู้เคยบริหารงานจนพลิกวิกฤตของ Boeing ได้นำวิธีการบริหารที่ประสบความสำเร็จมาใช้ หนึ่งในนั้นคือวิธีการประชุม Business Plan Review ที่มีกฎ 10 ประการ เพื่อให้พนักงานได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมและมุ่งหาผลลัพธ์ร่วมกันอย่างแท้จริง

บริหารเวลาเป็น จะไม่เห็นดินพอกหางหมู ด้วยเทคนิค ​OHIO  การเลือกจะผลัดวันประกันพรุ่งนี่แหละ ที่ทำให้งานของคุณจะยิ่งยากและใช้เวลาจัดการกับนานขึ้น โดยเฉพาะ "งานเล็กๆ น้อยๆ" แถมในบางครั้ง งานเดิมก็กลับงอกมาภายหลังจนเป็นอุปสรรคเสียเอง การบริหารเวลาแบบ OHIO จึงแนะนำวิธีจัดการเวลา โดย
บริหารเวลาเป็น จะไม่เห็นดินพอกหางหมู ด้วยเทคนิค ​OHIO

การเลือกจะผลัดวันประกันพรุ่งนี่แหละ ที่ทำให้งานของคุณจะยิ่งยากและใช้เวลาจัดการกับนานขึ้น โดยเฉพาะ "งานเล็กๆ น้อยๆ" แถมในบางครั้ง งานเดิมก็กลับงอกมาภายหลังจนเป็นอุปสรรคเสียเอง การบริหารเวลาแบบ OHIO จึงแนะนำวิธีจัดการเวลา โดย

บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค  POMODORO  เทคนิคการบริหารเวลาแบบ Pomodoroนี้ ถูกพัฒนาจาก ฟรานเชสโก้ ซีริลโล (Francesco Cirillo) ช่วงยุค
บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค POMODORO

เทคนิคการบริหารเวลาแบบ Pomodoroนี้ ถูกพัฒนาจาก ฟรานเชสโก้ ซีริลโล (Francesco Cirillo) ช่วงยุค '80 มันคือวิธีการเดียวกับการแบ่งสลอตเวลาออกเป็นช่วงๆ แล้วโฟกัสกับงานให้ได้ จนกว่าเวลาที่แบ่งจะหมดลง โดยวิธีการ คือ