3 ขั้นตอนรับมือหัวหน้าขี้อิจฉาและทำงานร่วมกัน

วันที่: 14 มี.ค. 2565 10:25:25     แก้ไข: 17 มี.ค. 2565 16:19:52     เปิดอ่าน: 248     Blogs

ครั้งก่อน เราคุยกันว่า เมื่อหัวหน้า (บางคน) เริ่มอิจฉาผลงานของคุณ เขาจะแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมาครับ

โพสนี้ เรามาดูกันว่า ถ้าเจอปัญหาที่ว่า จะมีทางแก้สถานการณ์ที่น่าอึดอัดนี้ยังไงดีกว่า

การแก้ปัญหานี้ เน้นกรณีที่ "ต้องการทำงานที่เดิมต่อ" นะครับ

หากเป็นกรณีนี้ ต้องความคิดเริ่มต้น ก็คือ "จะอยู่ร่วมกันและทำงานด้วยกันอย่างไรดี" เสียก่อน โดยมีขั้นตอนตามนี้ครับ

1. ตั้งสติให้ดี แล้วลองคิดทบทวนว่า มีเหตุการณ์ใดที่ทำให้เขาน้อยใจ จนรู้สึกเปรียบเทียบบ้างไหม เช่น
- บางครั้ง เราข้ามหน้าข้ามตา ข้ามหัว เขาไปบ้างไหม
- เราได้ให้เครดิตเขาบ้างไหม ในความสำเร็จแต่ละครั้ง

และสิ่งที่สำคัญ คือ อย่าไปโต้ตอบ แบบแรงมาแรงกลับ เด็ดขาดครับ เพราะยังไงเสียเขาก็ยังเป็นหัวหน้าคุณและสามารถให้คุณให้โทษได้

ไม่จำเป็นอย่าไปทำ ไม่งั้น คุณจะไม่ได้ใช้ ขั้นตอนที่เหลือเลย (เพราะอาจต้องไปก่อนวันอันควร)

2. คุณต้องรู้หลักจิตวิทยา เข้าใจอีกฝ่ายให้ได้ว่า บอสคุณก็เป็นคนที่มีความต้องการแบบมนุษย์ปุถุชนนี่แหละ เขาต้องการสถานะ ต้องการความนับหน้าถือตาเหมือนกัน เมื่อเขาเห็นผลงานคุณรุ่ง ก็อดที่จะเปรียบเทียบตัวเองไม่ด้ และนั่นอาจนำมาซึ่งความหงุดหงิดริษยาอิจฉาทั่วไป หรือ บางคนอาจมีปมแต่ก่อนเก่า (inferior) ที่ถมความต้องการไม่เต็มในบางเรื่อง หรือ มีค่านิยม (Personal Values) ที่ต้องการการยอมรับแบบรุนแรงกว่าคนทั่วไปก็มีครับ

พยายามเข้าใจความแตกต่างตรงนี้ จะช่วยทำให้คุณเห็นใจ และเปิดใจมากขึ้นครับ


3) ทำในสิ่งที่เหมาะสม
การกระทำที่เหมาะสม คือ เผื่อแผ่ความสำเร็จนี้ ให้ทั้งเขาและทีมด้วย เพราะ ปกติแล้ว เวลาเราประสบผลสำเร็จ เรามักจะให้เหตุผลว่าว่ามันเกิดจากความทะเยอทะยานของเรา ทักษะความสามารถของเราทั้งนั้น

แม้ว่า บางครั้งมันจะเป็นความจริง แต่เราสามารถส่งผ่านความสำเร็จนี้ แก่หัวหน้าของเราได้ ด้วยการแสดงความขอบคุณในการสนับสนุน การให้คำแนะนำ ต่างๆ ที่ทำให้คุณสามารถไปถึงเป้าหมายนั่นได้ จะให้ดี ต้องทำให้ในที่ public นะครับ เพื่อให้เขารู้สึกว่ามีความสำคัญอยู่

ยิ่งไปกว่านั้น หากเรานึกถึงทีมด้วย นึกถึงพวกเขาที่มีส่วนร่วมด้วย ก็จะยิ่งดี

การเผื่อแผ่ความสำเร็จนี้ ไม่ได้ทำให้คุณสำเร็จน้อยลง แต่ จะยิ่งทำให้คุณสำเร็จในการทำงานเป็นทีมมากขึ้นด้วย

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงไกด์ไลน์นะครับ

หากใครมีวิธีดีๆ เพิ่มเติม ก็เม้นบอกเพื่อนๆ แฟนเพจด้วย จักเป็นกุศลยิ่งนัก และเพื่อนๆ จะได้จำและนำไปใช้ ครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้