​5 ตัวชี้วัด ว่าองค์กรคุณเป็น Data-Driven Companyแล้วหรือยัง?

วันที่: 17 มี.ค. 2565 16:33:52     แก้ไข: 27 เม.ย. 2565 10:55:07     เปิดอ่าน: 1,044     Blogs
5 สิ่งที่บอกว่าองค์กรคุณเป็น Data-Driven Companyแล้วหรือยัง?

ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจในปัจจุบันครับ หลายที่จึงนำเอาระบบการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ แล้วคาดหวังว่า เทคโนโลยี จะพาบริษัทให้แปลงร่างเป็น Data Driven company ทันที

แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้นครับ เพราะว่า การจะเปลี่ยนให้บริษัทเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย data อย่างแท้จริงนั้น มี 5 ด้านที่สำคัญๆ ที่ต้องทำ นั่นก็คือ

1. พนักงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านข้อมูลก่อน เช่น รู้ว่าต้องเก็บข้อมูลอย่างไร แปลผลอย่างไร และเอาข้อมูลไปใช้้ในงานแบบไหน และต้องสื่อสารข้อมูลอย่างไร ให้คนอื่นๆ เห็นภาพด้วย

2. ผู้นำ ต้องทำตัวให้มี leadeship ด้าน data ด้วย นั่นก็คือ ต้องเป็นคนที่สนใจใคร่รู้ คิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อหาแนวทางใหม่ๆ และใช้ data ให้เป็น

นอกจากนี้ ต้องเป็นผู้ที่สนับสนุนให้ลูกน้องรู้จักใช้ข้อมูลด้วยครับ ไม่ใช่ว่าไม่เคยเรียกดูข้อมูลประกอบใดๆ เลย ทีมงานก็จะกลับไปทำงานแบบเดิมๆ อยู่ดี

3. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ไหนๆ จะผลักดันให้พนักงานใช้ข้อูลแล้ว บริษัทต้องพิจารณาด้วยว่า ข้อมูลที่มีน่ะ คนที่เกี่ยวข้อง เข้าไปเรียกดูเรียกใช้ได้ไหม ไม่ใช่ว่า เป็นความลับสุดยอดของแต่ละหน่วยงาน จนเก็บไว้ดูเอง แล้วพนักงานจะใช้ข้อมูลในการทำงานได้อย่างไร

4. ใช้เทคโนโลยี เพื่อจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล data นั้น ยิ่งเยอะ ยิ่งช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ได้ดี แต่ว่าเมื่อมันเยอะมากๆ จึงต้องอาศัยระบบ automation เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ด้วย

5. วัฒนธรรมขององค์กร เป็นหัวใจสำคัญที่มักถูกลืมครับ การที่ทุกคนในองค์กรจะใช้ข้อมูลจนเป็นวิถีนการทำงานได้นั้น บริษัทต้องส่งเสริมองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ข้างต้นให้ดี

ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความเข้าใจ หัวหน้าที่ช่วยกระตุ้นผลักดัน และมีระบบต่างๆ คอยสนับสนุน ให้พนักงานสามารถใช้ข้อมูลในการทำงานได้สะดวก

การใช้ข้อมูลจึงจะมาเป็นวิถีชีวิตประจำวันในการทำงานได้ครับ

เห็นไหมครับว่า จะเป็น Data Driven Company ได้ไม่ใช่แค่นำเทคโนโลยีมาติดตั้ง แล้วเป็นเลย เทคโนโลยีเป็นเพียงด้านเดียว แต่อีก 4 ด้าน มันเกี่ยวพันกับเรื่องคน จึงต้องส่งเสริมและพัฒนาไปพร้อมๆ กันด้วยครับ

บริษัทคุณทำไปกี่ด้านแล้วครับ?

Data vector created by storyset - www.freepik.com

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้