5 แนวทางการลงทุนพัฒนาคนเก่งรุ่นใหม่ เพื่อรับมือโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง New

วันที่: 11 ต.ค. 2566 13:13:53     แก้ไข: 11 ต.ค. 2566 13:39:17     เปิดอ่าน: 245     Blogs
บทความจาก HBR (Harvard Business Reviews) ได้แนะนำ 5 สิ่งที่หัวหน้าควรทำ เพื่อพัฒนาคนเก่งให้รับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต มีดังนี้ครับ
  1. Focus on potential มุ่งเน้นการพัฒนา Soft Skills เพราะจะสร้างศักยภาพในการต่อยอดทักษะใหม่ๆ ที่เหมาะสมในอนาคต (เพราะอายุขัยทักษะงานบางอย่างมันสั้นลง และการเปลี่ยนแปลงมันเร็วขึ้น)
  2. Provide crucial feedback ให้การดูแลและคำแนะนำสม่ำเสมอ เพราะช่วยในการปรับตัว และปรุงปรุงสิ่งต่างๆ ได้เร็วขึ้น ซึ่งควรเป็น Data-driven feedback และ #ไม่ใช่แค่ปิดGap รายทักษะที่เห็น แต่ต้องรวมถึงทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยให้การทำงานตามเป้าหมายนั้นดีขึ้น
  3. Focus on talent expansion มุ่งที่การขยายความสามารถเชิงกว้างของพวกเค้า เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานมากขึ้น
  4. Invest in mid-level managers ลงทุนในกลุ่มผู้จัดการระดับกลาง เพราะ แต่เดิมก่อนยุค AI Performance คนกลุ่มนี้ ก็ส่งผลต่อที่ประมาณ 30-40% แล้ว และยิ่งหลังจากนี้ โลกและงานของพวกเค้าจะยิ่งซับซ้อนขึ้น
  5. Invest in leadership skills ลงทุนในการพัฒนาทักษะและภาวะผู้นำ เพราะ ผู้นำต้องดูแลทั้งกลยุทธ์ใหม่ๆ และการบริหารคนที่แตกต่างไปจากเดิม

ขออนุญาตเล่าแค่นี้ก่อนนะครับ สำหรับรายละเอียดไว้มาคุยต่อ

ผมอยากชวนคุยถึง คำแนะนำ 2 ข้อหลังก่อนว่า สังเกตไหมครับว่า เขาใช้คำว่า #การลงทุน นั่นหมายถึง องค์กรคาดหวังผลตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ #ไม่ใช่ว่าต้องลงทุนน้อยๆจำกัดจำเขี่ย

การพัฒนาผู้นำ หลายๆ ครั้ง มีต้นทุนที่สูงจริง แต่หากได้มาซึ่งผลลัพธ์ ที่สร้างผลตอบแทนให้องค์กรได้ เรียกง่ายๆ ว่า #กำไร ย่อมหมายถึง #การลงทุนนั้นคุ้มค่า ครับ

ทีนี้ กำไรที่ว่า มันก็มีทั้งรูปแบบที่เห็นได้ชัดเจน เห็นเป็นตัวเงิน ตัวเลข ซึ่งหลายครั้ง เรามักถูกโน้มน้าวให้มองแต่จุดนี้
แต่บางที การพัฒนาบางเรื่อง (ซึ่งมักเป็น soft Skills) มันอาจเห็นผลการลงทุนไม่ชัดเจน เช่น ความพึงพอใจ ความผูกพัน บรรยากาศการทำงานที่ดีขององค์กร

ไม่ได้หมายความว่าจับต้องไม่ได้นะครับ เพียงแต่วัดยากหน่อย หรือ ต้องวัดทางอ้อม เช่น หากบรรยากาศไม่ดี อาจสะท้อนในเรื่องของการลาออก ประสิทธิภาพงานที่ลดลง ซึ่งสุดท้ายก็ไปกระทบตัวเลขอยู่ดี

จึงอยากให้ผู้นำ หรือ หน่วยงานพัฒนาบุคลากร จึงต้องไม่ลืมว่ามุมมองที่ว่า "การพัฒนาคน" คือ "การลงทุน" ประเภทหนึ่ง และต้องมีกลยุทธ์ในการลงทุนจึงด้วย

เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ องค์กรต้องเร่งพัฒนากลุ่ม Talent หรือ High Potential เพื่อทดแทน กลุ่มผู้บริหารมือเก๋า ที่จะต้องวางมือกันแล้ว (แม้ว่าหลายคนอาจยังไม่อยาก จากองค์กรก็ตาม)

อีกทั้งโลกธุรกิจมีแต่จะเปลี่ยนแปลงไวและรุนแรงนั้น วิธีการวางแผนพัฒนาคนประจำปี จึงต้องมีกลยุทธ์ที่แตกต่างจากเดิมๆ ที่ทำกันมา
เราต้องกล้าลงทุน และในทุกการลงทุนต้องมีกลยุทธ์ที่เหมาะสม จึงจะช่วยให้องค์กรคุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์ครับ

บทความและภาพกราฟฟิค โดย 

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 
อ้างอิง : hbr.org

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้