6 สิ่งที่ผู้นำต้องเตรียมพร้อม เพื่อเอาชนะความท้าทายที่มีมากมาย ในปี 2023

วันที่: 07 ก.พ. 2566 15:05:05     แก้ไข: 13 ก.พ. 2566 09:08:40     เปิดอ่าน: 139     Blogs
พอดีได้อ่านเทรนด์การทำงานปี 2023 จาก Mission To The Moon ว่าในปีนี้มี 12 เทรนด์ ที่จะเกิดขึ้นและทำให้โลกของการทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม ผมขออนุญาตรวบ 12 เทรนด์นั้น มาพลิกอีกมุมดูว่า ถ้าแนวโน้มการทำงานในแบบนี้เกิดขึ้นในบ้านเรา ผู้นำในองค์กร ก็ต้องเตรียมพร้อมใน 6 ด้านนี้ เพื่อให้ปรับตัวทันการเปลี่ยนแปลงครับ

1. เตรียมกำลังคนที่มีความสามารถ (Talent) ทั้งในแง่ของการรักษาพวกเค้าให้อยู่กับองค์กรและการสรรหาคัดเลือก

ในจุดนี้ สิ่งที่หัวหน้าทำได้เลยทันที คือ การรักษาและส่งเสริมคนที่ยังอยู่ ด้วยการบริหารงานแบบมีภาวะผู้นำ และสร้างบรรยากาศให้คนทำงานทั้งจากความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน (Relationship) การดูแลสารทุกข์สุขดิบ คุณภาพชีวิตที่เหมาะสม รวมถึงการพัฒนา (Development) ให้รู้สึกว่าท้าทายและเติบโตในการทำงาน เช่นการโค้ช หรือ เปิดโอกาสให้มีอิสระในการตัดสินใจ แก้ไขสถานการณ์ในงาน เป็นต้น

แล้วการพัฒนาทีมงานให้เก่งขึ้น ก็จะชดเชยกับความขาดแคลนด้านกำลังคนในข้อแรกบางส่วน
2. เตรียมพัฒนาคนและตนเอง

นอกจากพัฒนาน้องๆ ในทีมแล้ว ตัวผู้นำเองก็ต้องเรียนรู้อยู่เสมอด้วย โดยเฉพาะการเรียนรู้จากทีมงาน อย่าลืมว่ายุคนี้ผู้นำไม่ได้เก่งไปทุกเรื่อง สถานการณ์ในโลกใหม่ๆ ทำให้เราต้องเรียนรู้จากน้องๆ เช่นกัน

นอกจากนี้ในการพัฒนา ต้องเน้น Soft Skill มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น ทักษะความเป็นผู้นำ ทักษะด้านการบริหาร, การคิดแบบต่างๆ เช่น เชิงวิพากษ์, ความคิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหา เป็นต้น
3. ต้องคิดแบบมีกลยุทธ์ให้เป็น

นั่นคือ ในยุคใหม่ ผู้นำต้องไม่ใช่ตะบี้ตะบันอยากเป็นทุกอย่าง อยากทำทุกอย่าง หรือ ทำแต่สิ่งเดิมๆ จากปีก่อนๆ แต่ต้องรู้จักเลือกทำสิ่งที่สำคัญ และที่สำคัญต้องรู้จักการ Focus ครับ

นอกจากนี้ อย่าลืมฝีกให้ลูกน้องคิดแบบกลยุทธ์ให้เป็นด้วย คือ รู้ว่า เรื่องใดสำคัญ ส่งผลลัพธ์และสร้างคุณค่าให้องค์กร สิ่งนี้จะช่วยยกระดับผลงานและสร้างการเติบโตให้น้องๆ ให้มากกว่างานรูทีนทั่วไ
4. เตรียมสื่อสารทิศทางองค์กร

ผู้นำจะมีบทบาทอย่างมากถึงมากที่สุดในการสื่อสารให้ทีมงาน เข้าใจความจำเป็น และทิศทางขององค์กร ความชัดเจนและแรงบันดาลใจ จะทำให้บริหารงานและคน ในโลก BANI Wolrd ที่เปราะบาง ยุ่งเหยิงเปลี่ยนแปลงแทบจะรายวันนี้ ได้ง่ายขึ้นเยอะ
5. ฝึกการนำเทคโนโลยี (Technology) และข้อมูล (Data) มาใช้ในงาน

เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในยุคใหม่ แต่สิ่งที่ผู้นำมักหลงลืม คือ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการบริหารจัดการคน เช่น การวางแผนกำลังคน การคัดเลือก การพัฒนา ต้องดูข้อมูลประกอบ และนำมาวิเคราะห์อย่างจริงจัง
ในเรื่องเทคโนโลยี ควรส่งเสริมให้คนในองค์กร เข้าใจเรื่องการทำงานของพวกเขาโดยใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุนการทำงานมากขึ้น เช่น การอยู่ร่วมกับ AI หรือ App ต่างๆ เป็น
6. ไม่ลืมส่งเสริมเรื่องความแตกต่างระหว่างคน

ไม่ว่า ความต่างนั้นจะเกิดจาก Generation เชื้อชาติ เพศสภาพ ค่านิยมส่วนบุคคล (Personal Values) หรือ แม้แต่บุคลิกภาพในทางจิตวิทยา เพื่อให้เกิดความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) การเคารพซึ่งกันและกัน (Respect) ไปจนถึง การประสานงานกันได้อย่างราบรื่น (Collaboration) อย่างไร้รอยต่อ ไม่ว่าจะเป็นในทีมงาน หรือ Cross-Functional Team ก็ตาม
ปี 2023 นี้ ผมหวังว่า ผู้นำต้องเตรียมพร้อมทั้ง 6 ด้านนี้ให้ได้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและยุคสมัยแห่งการทำงานที่อาจจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้ องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ
Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้

องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ

Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้ Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ
Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้

Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ

Pakinson
Pakinson's Law เวลาที่มีไม่เคยพอ เพราะเราจะรอจนถึง Deadline New

Parkinson's Law ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคร้าย แต่ความหมายของมันคือ “Work expands so as to fill the time available for its completion.” หรือว่าง่ายๆ เวลามีมากแค่ไหน สุดท้ายก็ทำงานเสร็จตอน deadline อยู่ดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ คุณโดน Pakinson's Law จ้องเล่นอยู่ครับ

Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ
Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว

ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ

World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่ ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย
World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่

ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย

ผลการสำรวจ  3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน
ผลการสำรวจ 3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม

ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน