Coaching in the Time of COVID-19

วันที่: 13 ส.ค. 2564 15:32:08     แก้ไข: 14 มี.ค. 2565 10:10:01     เปิดอ่าน: 1,063     Blogs
ในช่วงวิกฤต Covid-19 นั้น ทุกอย่างเป็นเรื่องใหม่ไปเสียหมดครับ ทำให้แม้แต่แนวทางการโค้ชก็ยังต้องปรับตัวเช่นกัน เพราะว่า สถานการณ์ตอนนี้มันยากลำบากจริง

อย่างไรก็ตามวันนี้ผมมีบทความจาก Laura Finfer, Ph.D., และ Lois Tamir, Ph.D. จึงขอหยิบยกมา เพื่อให้ผู้อ่านได้ไอเดียในการโค้ชผู้บริหาร (หรือ แม้แต่ประยุกต์ใช้กับลูกทีม) ดังนี้ครับ

 

ยุคที่โลกกลับหัวกลับหาง
 
โลกของเราเริ่มปลี่ยนไปตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020 จากไวรัส Corona เราเห็นความร้ายแรงของมหันตภัยในจีนก่อน จากนั้นไม่กี่สัปดาห์ ก็เป็นอิตาลี  แล้วตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ที่เศรษฐกิจเข้าสู่ความชะงักงันไปทีละรัฐ

นี้คือโลกยุคใหม่ที่ การเว้นระยะห่างทางสังคม การอยู่อย่างสันโดษ และความใส่ใจด้านสุขอนามัย
ควาามตระหนกตกใจและความหวาดกล้ว เข้าปกคลุมทั้งครอบครัวและธุรกิจ และทุกบ้านแปรเปลี่ยนเป็นที่ทำงานและโรงเรียน
 
เช่นเดียวกับโค้ชผู้บริหารทั้งหลาย ที่เราพบว่าต้องโค้ชและให้คำแนะนำ เพื่อที่ผู้บริหารทั้งหลายจะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ (แม้ว่าตัวจะต้องไกลกันก็ตาม) และเราสังเกตเห็นปฏิกริยาของพวกเขา แบ่งเป็นสองระยะ
 
ช่วง1 สัญญาณเตือนภัยดัง
ช่วงนี้ ค่อนข้างแปลกตรงที่มันเหมือนจะกระตุ้นให้ เกิดความตื่นเต้น ตื่นตัวจากอะดรีนาลีน บรรดาทีมผู้บริหารมารวมตัวกัน เพื่อวางแผนรับมือวิกฤตการณ์ (Crisis Planning) การประเมินสถานการณ์ (Scenario Evaluating) และ ตัดสินใจในเรื่องที่ยากลำบากต่างๆ
 
ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจว่ากิจกรรมใดที่ควรดำเนินการต่อ หรือ ควรหยุดทำ  มีเรื่องใดที่ควรจะสื่อสาร และต้องทำมันอย่างไร และมีหนทางไหน ที่จะเชื่อมต่อกับลูกค้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ต้องอาศัย ความเป็นทีม มิตรภาพที่ดี และการสนับสนุนซึ่งกันและกัน 
 
ช่วงที่ 2 น้ำลดตอผุด
ความเป็นจริงถาโถม ผลลัพธ์ที่แสนเจ็บปวดเริ่มปรากฏชัด ไม่ว่าจะเป็น การให้ออกจากงาน การลดค่าใช้จ่ายต่างๆ การระงับโครงการในฝัน รวมถึงยอดผู้ป่วย
 
ผู้คนเริ่มป่วยและจำนนต่อไวรัส ซึ่งในจุดนี้ หลายคนเริ่มรู้ตัว ไม่ว่าใครก็ติดเชื้อได้ทั้งนั้น ผู้บริหารต้องยอมรับความจริงที่ว่า ปีนี้ คือ ต้องเอาตัวรอดให้ได้ก่อน และไม่ใช่เน้นสำเร็จแบบเดิมอีกต่อไป ความน่าเบื่อของการต้องอยู่บ้านเริ่มเห็นได้ชัด และพลังงานของผู้บริหารตกต่ำลง
 
ผู้บริหารแต่ละคนจะมีระยะเวลาในแต่ละช่วงแตกต่างกันไป ดูเหมือนว่าผู้นำที่ธุรกิจไม่โดนผลกระทบมากจะมีเวลาในช่วงแรกนานกว่า

อย่างไรก็แล้วแต่ เทคนิคการโค้ชเหล่านี้ ก็ใช้ได้ผลและมีประสิทธิภาพได้ทั้งสองระยะ

 
 
โค้ชเรื่องพื้นฐานทั่วไป (The Basics)
 
โค้ชทั้งหลายต้องรู้ว่า ตอนนี้สถานการณ์ที่ยากลำบาก ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการทำงาน การเริ่มต้นสนทนาแต่ละครั้งจะไม่พ้นเรื่องของสุขภาพ ครอบครัว และความเครียดเป็นหลัก มันเป็นเรื่องที่โค้ชต้องยอมรับ ความยากลำบากในการจัดการกับวิกฤตนี้ของพวกเขา (แต่ต้องไม่มากไป)  เพื่อให้ผู้ถูกโค้ชรู้ว่า มันไม่เป็นไร และยังเป็นไปตามที่คาด
 
ในฐานะโค้ช เรารับฟังด้วยความเข้าใจ และส่งเสริมให้ผู้นำทั้งหลายได้ทำสิ่งเดียวกันนี้กับคนของเขา
 
การสนทนานี้จะต้องใช้เทคนิคการฟังอย่างตั้งใจด้วย (active listening) ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจะสามารถแสดงให้เห็นว่าเรามีความใส่ใจและเห็นอกเห็นใจได้
 
การรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้เรื่องของการสื่อสาร กลายเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ มากยิ่งกว่าในช่วงเวลาปกติ แต่ผู้นำก็ต้องคิดเสมอว่า ข้อความที่ส่งนั้นต้องแสดงถึง "ความเข้าอกเข้าใจ" (empathy) ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า "ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น" ที่คนของคุณต้องได้รับ เพื่อเข้าใจผลกระทบต่อธุรกิจ บทบาทของคุณจึงต้องปรับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย
 
การสื่อสารบางอย่างที่เคยทำเป็นปกติวิสัย จำเป็นต้องวางแผนไว้ด้วย มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้นำที่จะจ้องทำให้ทีมมีสมาธิและมีแรงจูงใจที่ดีเสมอ
 
แต่บางเรื่อง มันอาจจะมีคุณค่าเช่นกัน เช่น เมื่อประชุมทางหน้าจอ (video conferencing) ถ้าลูกๆหรือสัตว์เลี้ยงเดินผ่านจอ ลองทำให้เป็นเรื่องตลกขบขัน คลายเครียด ได้ เพราะ คนยังคงต้องการเสียงหัวเราะ อันที่จริง มันเป็นสิ่งรบกวนการทำงานในด้านดีด้วยซ้ำ
 
การเขียนโน้ตส่วนตัวเพื่อบอก งานที่ทำได้ดี หรือ งานที่จำเป็นต้องทำ ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญ พึงระลึกว่า หลายๆ คนอาจหลุด Focus จากงานของตัวเอง ไม่เว้นแม้แต่ตัวผู้บริหารเองด้วย
 
ความเครียด ไว่าจะมากเกินไป หรือ ไม่ มีผลกระทบเสมอ มันอาจออกมาในรูปแบบการพิมพ์เอกสารประชุมผิด หรือ การลืมส่ง Email หรือแม้แต่เรื่องใหญ่ๆ  อย่างการตัดสินใจที่ผิดพลาด ก็เป็นได้ ผู้นำจึงต้องมีความอดทน และให้อภัยพวกเขา และให้โอกาสในการแก้ไขเพราะ การตัดสินใจอาจได้รับผลจากความเครียด มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะใส่ใจเรื่องนี้ และแนะนำวิธีการที่จะบรรเทาผลกระทบดังกล่าว การสร้างกระบวนการทำงานที่ช่วยการตัดสินใจได้เป็นสิ่งที่ดี เช่น การคิดหาทางเลือกสำรอง เผื่อว่าสถานการณ์ไม่เป้นไปตามที่คิด
 
นี่เป็นสิ่งที่ช่วยโค้ชผู้บริหารทุกท่าน ในการสนับสนุนการสนทนาและการประเมินว่าอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งขององค์กร อะไรที่ผู้บริหารสามารถผ่อนปรน หรือ อะไรไม่จำเป็นต้องทำอีกต่อไป การสนทนานี้ มีความจำเป็นอย่างมาก เมื่อผู้บริหารรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ถาโถมมามากจนเกินไป มันเป็นการฝึกฝนที่ดี เพื่อจะประเมินความคิดริเริ่มต่างในบริบทใหม่อีกครั้ง
 
ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดนี้ แต่ละวันอาจสร้างความหนักใจ แม้แต่ทางเลือกที่เจ็บอวด มันอาจไม่มีแม้แต่เวลาให้ผู้บริหารพักหายใจหายคอ ดังนั้นการดูแลตนเอง (เช่น การพักผ่อน ออกกำลังการ และกิจกรรมยามว่าง) เพื่อให้มีเรี่ยวแรงในการฟื้นฟูตนเองด้วย  (Resillience)


 
โค้ชเพื่อปลดศักยภาพในตัวเอง (Bringing out the Best)
 
"วิกฤติมักจะนำโอกาสมาด้วยเสมอ" การโค้ชสามารถช่วยให้ผู้บริหารได้ฝึกการวางตัวให้สงบกับลูกทีมของตัวเองด้วย
 
ในความเป็นจริง โค้ชหลายคนอาจเป็นผู้ที่รองรับความวิตกกังวลของผู้บริหารที่ดีที่สุด เวลาที่ผู้บริหารต้องมาเป็นความหวังของผู้คน และต้องสื่อสารในแนว "เราจะต้องผ่านพ้นวิกฤตนี้" แต่ในเวลาเดียวกันนี้ ยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารที่จะแสดงความเป็นมนุษย์ ที่ยอมรับว่าทุกแง่มุมของสถานการณ์นี้มันยากจริงๆ
 
วิกฤตที่ยังยืดเยื้อหมายถึงว่า แนวความคิดเดิมๆ ของธุรกิจใช้ไม่ได้แล้ว โค้ชจึงสามารถกระตุ้นผู้บริหารให้เห็นข้อดีว่า นี่เป็นโอกาสสามารถตั้งกฎเกณฑ์ใหม่ๆ บนกระดานว่างนี้ได้
 
เมื่อสถานการณ์สุกงอม ผู้ที่รอดเป็นคนแรกๆ จะสามารถคว้าโอกาสทางธุรกิจได้ เช่น ลูกค้าใหม่ๆ ลูกค้าที่ต่างจากเดิม ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ แม้แต่ รูปแบบองค์กรใหม่ อย่างน้อย ก็มีโอกาสที่จะเริ่มโปเจค หรือ ไอเดียที่ยังไม่ได้ทำก่อนหน้านี้
 
สุดท้าย มันเป็นเวลาที่ดีสำหรับผู้บริหาร (และองค์กร) ที่จะแสดงออกซึ่งสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม การสร้างรูปแบบชุมชนที่ทำให้ผู้คนภายนอกรู้สึกดีๆ ด้วย
 
นี่เป็นแค่เริ่มต้น ในฐานะโค้ช พวกเรากำลังปลุกปล้ำกับความจริงของโลกยุคใหม่ ไปกับผู้บริหารที่เราต้องโค้ช ซึ่งเราไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้เลย บางทีมันอาจจะเป็นระยะที่ 3 ก็เป็นได้ ที่เราสามารถจะทายได้ว่า ประด็นใดบ้างที่จะเกิดขึ้นในการสร้างความผูกพันในการโค้ช


ขอให้ทุกคนปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดี

Laura Finfer, Ph.D. และ Lois Tamir, Ph.D. 
 

เป็นอย่างไรบ้าง พอได้ไอเดียบ้างไหมครับ 
 

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้