Crisis leadership during the COVID-19 era

วันที่: 29 ส.ค. 2564 12:32:28     แก้ไข: 14 มี.ค. 2565 10:09:44     เปิดอ่าน: 1,124     Blogs
ในช่วงวิกฤต หลายคนอาจคิดว่า ภาวะผู้นำแบบวีรบุรุษ (Heroic Leadership) และผู้นำแบบมีวิสัยทัศน์ (Visionary Leadership) คือ สิ่งที่จำเป็นที่สุด เพราะคิดว่าจะช่วยการันตี "วันพรุ่งนี้" ที่ดีกว่าได้
 
ทว่า เมื่อกำลังใจของผู้คนได้ลดลง จนเข้าใกล้ฐานล่างของพิระมิดมาสโลว์แล้ว ความต้องการด้านความปลอดภัยต่อร่างกายและจิตใจ (Safety & Security) กลับเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่า
 
ด้วยเหตุนี้ Gianpiero Petriglieri จึงได้บอกไว้ในบทความของ HBR  หัวข้อ "จิตวิทยาเบื้องหลังภาวะผู้นำในวิกฤตที่มีประสิทธิภาพ" (Psychology Behind Effective Crisis Leadership) ไว้ว่า ภาวะผู้นำแบบโอบอุ้มดูแล (Holding) ซึ่งก็คือ วิถีทางที่ผู้มีอำนาจสามารถทำให้ผู้คนเข้าใจสภาพความจริงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและช่วยบรรเทาสถานการณ์นั้นให้ทุเลาลง คือ สิ่งจำเป็นในภาวะที่ไม่แน่นอนนี้ และหากปราศจากสิ่งเหล่านี้ ความสับสน ความกังวล ความโกรธ และ ความแตกแยกของผู้คน ก็จะเกิดขึ้นตามมา
 
แนวคิดเรื่องการโอบอุ้มดูแลนี้ (Holding) เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการโค้ช ซึ่งนักจิตวิเคราะห์ที่ชื่อว่า  Donald Winnicott (1896-1971) ใช้เพื่อพูดถึงสภาพแวดล้อมแบบสนับสนุนและให้กำลังใจ (Supportive Environment) ที่ผู้บำบัดสร้างให้เกิดแก่ผู้รับการรักษา
 
เขาเทียบให้เห็นว่าการโอบอุ้มดูแล คือ การที่ผู้บำบัดใส่ใจเหมือนที่คนเป็นแม่ดูแลลูก ซึ่งผลก็คือ ทำให้เกิดความไว้วางใจและความปลอดภัย
 
ดังนั้น การโอบอุ้มดูแล จึงเกี่ยวข้องกับความพยายามเข้าอกเข้าใจ (Empathy) และสะท้อนให้เห็นถึง "ความอ่อนโยน" มากกว่า "ความแข็งแกร่ง" ตามแนวคิดภาวะผู้นำแบบทั่วๆ ไป
 
ในการโค้ช "การโอบอุ้มดูแล" (Holding)  มักมาพร้อมกับแนวคิดของการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้อีกฝ่ายได้สำรวยความคิดของตัวเอง เกิดความตระหนักรู้ตัว และได้คำตอบจากทางเลือกด้วยตัวเอง เพื่อที่จะได้ก้าวต่อไปข้างหน้าได้นั่นเอง
 
สำหรับผู้นำแล้ว "การโอบอุ้มดูแล" ในภาวะวิกฤต ก็คือ การใช้ทักษะของผู้นำในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ความใส่ใจและความเข้าใจ โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์จากการแปลความหมายแบบที่พวกเขาคิดเองเออเอง
 
เมื่อต้องนำแนวคิดนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จะพบว่า แนวทางของการโค้ช จะมี mindset ที่ผู้นำสามารถหยิบยืมมาใช้ เพื่อช่วยให้ทุกคนในทีมสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ ดังนี้ 

 
1. เชื่อว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพในตัวเอง
ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอยู่ในสภาวะวิกฤตจะไม่ได้แสดงความสามารถหรือศักยภาพให้เห็นชัด ผู้นำที่มีไหวพริบ จะต้องสามารถมองออกถึงศักยภาพในตัวของพวกเขาและให้เขาดึงทรัพยากรในตัวเองเหล่านั้นออกมามากกว่าที่จะปรี่เข้าไปช่วยเหลือ

2. ต้องเคารพความคิดเขา แม้ไม่เห็นด้วย
คนเรามักจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดก้วยข้อมูลที่มีในมือ ผู้นำต้องเคารพการตัดสินใจนั้น แม้ว่าจะไม่เห็นด้วย  
ด้วยการฟังอย่างตั้งใจ (Empathic Listening) และการถามแบบเจาะใจ (Insightful Question) ผู้นำสามารถเชื้อเชิญให้คนเหล่านั้น เปิดเลนส์แห่งความเป็นจริง และสร้างทางเลือกเพื่อก้าวไปข้างหน้าได้
 
ให้ทนต่อแรงยั่วที่ชวนให้เรา "โน้มน้าว" คนเหล่านั้น จากความเป็นจริงที่เขาเห็น จำไว้ว่า คนเราไม่ได้สนใจว่าคุณรู้อะไร แต่สนใจว่า คุณใส่ใจเขาแค่ไหนต่างหาก

3. เชื่อว่าคนเรารู้คำตอบของสิ่งต่างๆ อยู่แล้ว
ผู้นำหลายคนเลี่ยงที่จะโอบอุ้มดูแล เพราะเกรงว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถทำตามความคาดหวังของคนอื่นๆ ได้ ความกังวลเหล่านี้ มีพื้นฐานบนสมมติฐานว่า หัวหน้าต้องเป็นคนที่ให้คำตอบพวกเขาในเรื่องต่างๆ ได้เสมอ
 
แต่ว่านี่คือ "ด้านมืด" เพราะ การให้คำตอบอาจเป็นตัวช่วยที่ดี แต่มันจะทำให้คนเหล่านั้นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สร้างให้เกิดความสงสัยในความสามารถของตัวเอง (self-doubt) ความเชื่อในขีดจำกัดของตัวเอง และ เพิ่มระดับของการพึ่งพิงคนอื่นๆ
 
ผู้นำที่
โอบอุ้มดูแลเป็น จะเชื่อว่าคนอื่น มีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ของตัวเองได้ และ รู้วิธีที่จะสร้างสมดุลระหว่างการให้ข้อมูลที่จำเป็นและการให้คนอื่นๆ ได้คิดหาทางแก้ไขปํญหาด้วยตัวเอง
 
จำไว้ว่า คำตอบของคุณไม่จำเป็นต้องเป็นทางแก้ "ที่ดีที่สุด" ของพวกเขา
 
4. อย่าให้คำพูดก็เป็นอุปสรรค
หลายครั้งเมื่อคนต้องการพึ่งพา โดยปราศจากคำพูด สถานการณ์ของความโศกเศร้าเสียใจและการสูญเสียหลายครั้ง เป็นเรื่องที่ออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ และทั้งหมดนี้ต้องการความเข้าอกเข้าใจ ผู้นำสามารถอยู่ข้างเดียวกับเขา เพื่อให้พวกเขาหลุดพ้นจากความกดดัน จากกำลังใจและการสนับสนุนที่ผู้นำหยิบยื่นให้ได้
 
นอกจากนี้ Petriglieri ได้บอกว่า การโอบอุ้มดูแล มีทั้งด้านบุคคล และด้านระบบ ซึ่งผู้นำที่ดีจำเป็นต้องทำทั้งสองด้าน คือ


 
  1. ด้านระบบ ควรสร้างโครงสร้างและวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นการออกนโยบายกฎระเบียบที่ทำให้คนของตนรู้สึกปลอดภัยในวิกฤต และแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ให้ชัดเจน นอกจากนี้การแชร์ข้อมูลข้าวสารให้ทั่วถึง ความคาดหวังในงานที่ชัดเจน ลำดับความสำคัญต่างๆ รวมถึงความเป็นไปได้ของการดำเนินงานในขั้นถัดไป (Next step) และสิ่งเหล่านี้ หากทำแบบปราศจากความเข้าใจ และเห็นใจอย่างถ่องแท้ ก็เป็นเพียงการเสแสร้งเท่านั้น
     
  2. ด้านบุคคล คือ การแสดงออกต่อผู้คนของตน ผู้นำต้องเชื่อมโยงกับคนของตนได้ เข้าใจสถานการณ์และข้อกังวลที่พวกเขาต้องเผชิญ ต้องรับรู้แบบที่เขาเผชิญ แต่ต้องไม่ตัดสินใดๆ  (non-judgement) ว่าเขาทำผิด หรือ ไม่ควรแสดงออกแบบนั้น เพราะจาก Mindset ที่เราได้ทราบข้างต้นนั้น สิ่งสำคัญคือ ต้องเชื่อว่าพวกเขาเหล่านั้น มีความสามารถในตนเองที่จะจัดการกับสถานการณ์ จงฟังเขาอย่างตั้งใจให้มากที่สุด และในที่สุดพวกเขาจะหาทางออกได้ด้วยความสามารถของตน
ผู้นำหลายคนอาจกังวล หากใช้แนวทางแบบ โอบอุ้มดูแล (holding) แต่นี่คือ การแสดงออก ถึงความเป็นผู้นำในแบบมนุษย์ปุถุชน (Humanity) ที่สุด และมันช่วยช่วยให้ทุกคนยอมรับความเปราะบางในฐานะมนุษย์เหมือนๆกัน ได้อย่างไม่เคอะเขิน และความเป็นมนุษย์ปุถุชนนี้ มันจะช่วยให้ทั้งทีมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และพร้อมช่วยกันให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้
 
 

 

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ
Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ

หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน