Effective Execution Management การบริหารให้กลยุทธ์เกิดผลและคนปฏิบัติงานได้ตามแผน New

วันที่: 10 ม.ค. 2566 15:54:27     แก้ไข: 18 ม.ค. 2566 12:23:52     เปิดอ่าน: 1,279     Blogs
จากการบริหารแบบ Diamond Management ซึ่งเป็นวิธีการบริหารที่สร้างความสมดุล ของเป้าหมายองค์กรทั้ง 4 ด้าน ตามที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ สำหรับในบทความนี้ จะพูดถึง การบริหารแบบ Effective Execution ซึ่งเป็นการบริหาร ที่ทำให้กลยุทธ์ที่กำหนดไว้สามารถนำไปปฏิบัติจริงจนส่งผลลัพธ์ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยหลักการของการบริหารแบบ Effective Execution มีดังนี้
  • การแปลงกลยุทธ์ให้เป็นวิธีการทำงานของทีมงานหรือ เป็นพฤติกรรมของทีมงานให้ชัดเจน
  • การพัฒนาทีมงาน ให้สามารถ ทำตามวิธีการหรือพฤติกรรมที่กำหนดนั้นให้ได้ โดยหัวหน้าต้องปิด Gap ของทีมงานที่อาจส่งผลกระทบให้ไม่สามารถปฏิบัติตามวิธีการหรือ พฤติกรรมนั้นได้
  • สร้างจิตสำนึกให้ทีมงานยึดมั่นในพฤติกกรมหรือวิธีการที่กำหนด
  • การกำหนดตัววัดผลรายบุคคลให้ชัดเจน
  • มีการ Monitor ทั้งผลและวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ 
การจะบริหารแบบ Effective Execution ให้ได้ประสบความสำเร็จ หัวหน้า จะต้องเป็นหัวหน้าประเภท Effective Executor คือ  หัวหน้าที่สามารถนำกลยุทธ์ทางธุรกิจที่กำหนดไปปฏิบัติจนสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยหัวหน้าประเภทนี้ จะเน้นความจริงจังการปฏิบัติของทีมงานที่ต้องปฏิบัติอย่างเต็มที่และต่อเนื่องเป็นหลัก มีการกำหนดแผนการปฏิบัติงานของทีมงานอย่างชัดเจน ทั้งรายทีมและรายบุคคล พร้อมทั้งมีความสามารถในการพัฒนาทีมงานให้มีความพร้อมในการปฏิบัติตามแผนงานอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจจะมีการพัฒนาทีมงานตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นมอบหมายงานและพัฒนาทีมงานอย่างต่อเนื่องในระหว่างการปฏิบัติตามแผนการทำงานด้วยก็ได้ แต่ที่สำคัญจะมีการตรวจวัดผลสำเร็จและการกระทำอย่างต่อเนื่อง 

คุณลักษณะของหัวหน้าประเภท Effective Exector
  • มีความคิดในเชิงกลยุทธ์ที่จะสามารถแปลงกลยุทธ์เป็นวิธีการทำงานหรือพฤติกรรมของทีมงานได้
  • มีความสามารถในการพัฒนาทีมงานให้มีความพร้อมในการทำงาน
  • สามารถวางแผนการปฏิบัติงานได้
  • สามารถแบ่งแยกหน้าที่ของทีมงานได้อย่างชัดเจน และจัดสรรงานได้เหมาะสมกับหน้าที่ของทีมงาน
  • มีทักษะในการสื่อสารเพื่อสร้างให้ทีมมีจิตสำนึกและรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
  • มีความเข้มงวด ในการติดตามผลงานและวิธีการทำงานของทีมงานอย่างสม่ำเสมอ
  • กล้าตัดสินใจในการเปลี่ยนแผนงาน ถ้าแผนงานเดิมไม่เหมาะสม
  • สามารถสนับสนุนและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของทีมงานทันเวลาและตรงประเด็น

วิธีการพัฒนาหัวหน้าให้เป็น Effective Executor

การพัฒนาหัวหน้าให้เป็น Effective Executor จะเน้นการพัฒนาใน 3 เรื่องหลักๆ คือ พัฒนาทัศนคติการเป็นผู้นำ (Leadership Mindsets) การพัฒนาทักษะการคิด (Thinking Skills) และทักษะการเป็นผู้นำ (Leadership Skills) โดยมีรายละเอียดดังนี้
พัฒนาทัศนคติการเป็นผู้นำ (Leadership Mindsets)

การพัฒนาทัศนคติการเป็นผู้นำนี้ เพื่อให้หัวหน้านั้นๆ มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการแสดงออกมาต่อ ทีมงาน เพื่อให้เขาเป็น “หัวหน้าที่ได้รับความไว้วางใจจากทีมงาน” ซึ่งจะช่วยทั้งให้การกำกับดูแลและการพัฒนาทีมเป็นไปด้วยความราบรื่น
การพัฒนาทักษะการคิด (Thinking Skills)
  • Strategic Thinking เป็นการพัฒนาทักษะความคิดในเชิงกลยุทธ์เพื่อให้หัวหน้าสามารถแปลง กลยุทธ์เป็นวิธีการทำงานหรือพฤติกรรมที่ ส่งเสริมกลยุทธ์ได้
  • System Thinking เป็นการพัฒนาความคิดเชิงระบบ เพื่อที่จะช่วยให้หัวหน้าสามารถมองปัจจัยต่างๆ ได้อย่างเกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการตัดสินใจ และการแก้ไขอุปสรรคการทำงานของทีมงานได้อย่างสมบูรณ์
พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำ (Leadership Skills)

ทักษะการเป็นผู้นำที่ เหมาะสมต่อการพัฒนา หัวหน้าให้เป็น EFfective Executor มีดังนี้
  • Effective Communication เป็นทักษะที่ใช้ในการสร้างในทีมงานเกิด จิตสำนึก ในหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน 
  • Coaching Skills เป็นทักษะสำคัญสำหรับการพัฒนาคนให้มีความพร้อมในการปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้เพื่อให้กลยุทธ์ที่ธุรกิจที่ต้องการดำเนินการได้สำเร็จ
  • Monitoring Skill เป็นทักษะที่ใช้ในการกำหนดวิธีการในการวัดผลและตรวจวัดความสำเร็จของงานที่มอบหมาย 
  • Feedback & Follow-up เป็น ทักษะที่ช่วยในการแก้ไขการปฏิบัติงานของทีมงานให้มีความถูกต้องเหมาะสมกับแผนงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งช่วยในการ Support ทีมงานอย่างถูกต้องเหมาะสม และ ทันเวลา 
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาให้หัวหน้าเป็น Result-Oriented Leader และ Effective Executor ควรพัฒนาไปควบคู่กัน เนื่องจาก เป็นการทำงานที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่การรับวิสัยทัศน์มาแปลงเป็นกลยุทธ์ และนำกลยุทธ์มาแปลงเป็นวิธีปฏิบัติ และนำวิธีปฏิบัติไปปฏิบัติจนบรรลุเป้าหมาย อีกทั้งการพัฒนาทั้งสองประเภทนี้ จะช่วยส่งเสริมองค์กรในแง่ของการสร้างวิธีการทำงานให้มี Productivity ที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน 

บทความโดย

Kom Suwanpimon (คม สุวรรณพิมล)
CEO & Founder / Coach For Goal Group 
 
  • Top Management Executive in Finacial Companies
  • Executive Coach & Business Development Consultant
  • Newspaper Columnnist & Author
     
Interesting Areas:
Business Results Inprovement, Leadership Development, Executive & performance Coaching, People Attitude & Behavior
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้