Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้

วันที่: 07 ก.พ. 2566 16:34:42     แก้ไข: 28 ก.พ. 2566 12:01:54     เปิดอ่าน: 134     Blogs
Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
  • จะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า
  • จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง
  • จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ จึงจะมี Empathy ได้?

การฝึกให้ Empathy ด้วย วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ "การฟัง" ครับ
เพราะการฟังทำให้เราได้รับข้อมูลจากอีกฝ่ายมากกว่าเดิม จึงทำให้เข้าใจเขามากยิ่งขึ้นครับ

ซึ่งการฟังที่ดี ก็คือ ต้องมี Active Listening หรือ การฟังอย่างตั้งใจ นั่นเอง

วิธีการหัดทักษะการฟังอย่างตั้งใจ ก็ง่ายมาก ขอให้เริ่มทำ 5 ข้อนี้ เท่านั้น คือ

1. หัดฟังให้เป็น
เหมือนจะง่าย แต่การรับฟังนี้ กลายเป็นเรื่องยากของหลายคน เพราะเมื่อฟังมากๆ ปากก็จะเริ่มอยากขยับ อยากตอบโต้

พอมีประสบการณ์คล้ายๆ กัน ปากก็ขยันอยากมีส่วนร่วม อยากเล่าเรื่องของตัวเอง

พอมีประสบการณ์ต่างออกไปก็อยากจะเถียง อยากแย้ง

การเริ่มหัดฟังให้เป็น จึงต้องเริ่มจากการเปิดใจ และรับฟังให้ได้มากที่สุดครับ

2. ฝึกใช้ภาษากาย
คือ การแสดงออกของเรา ขณะที่รับฟังอีกฝ่าย

ประโยชน์ของมันช่วยทั้งสร้างความไว้วางใจ แสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจในสิ่งที่เขาพูด และกระตุ้นให้อีกฝ่ายอยากเล่าเรื่องต่างๆ ให้เราฟังมากขึ้นด้วย

เมื่อรู้ข้อมูลมากขึ้น เราก็เข้าใจอีกฝ่ายได้มากขึ้น

3. ไม่ตัดสินอีกฝ่าย
ไม่ว่าจะด้วยความคิด หรือ ค่านิยมของเรา ก็ตาม เพราะคนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งวิธีคิด การกระทำ ค่านิยมส่วนตัว หรือ แม้แต่ประสบการณ์ในชีวิต

ถ้าเราใช้แต่ตัวตนของเราไปคิดแทนเขา จะไปเข้าใจอีฝ่ายได้อย่างไรครับ?

ให้พยายามนึกถึงใจเขาใจเรา รับรู้ด้วยมุมมองของเขาให้ได้มากที่สุด แม้ไม่ได้ทั้งหมด แต่เราก็จะเข้าใจมากขึ้น ว่าเขาทำแบบนั้นไปด้วยเหตุผล หรือ ความรู้สึกอย่างไร

เมื่อเข้าใจ ความหงุดหงิดลดลง ความขัดแย้งก็จะลดลงด้วยครับ

4. ไม่ตัดบทสนทนา
ข้อนี้หลายคนมักจะพลาด เพราะสำคัญผิด คิดว่าตัวเองได้ข้อมูลที่จำเป็นมากพอ จนกระทั่งคิดว่า "ผมเข้าใจคุณแล้ว" และจะทำให้พลาดการรับฟังข้อมูลสำคัญของอีกฝ่าย ไปอย่างน่าเสียดาย

5. หมั่นสังเกต สิ่งเล็กๆ น้อยๆ
ไม่ว่าจะเป็น น้ำเสียง ภาษากาย ต่างๆ ของอีกฝ่าย สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้ เราได้รับ "ข้อมูลทางอารมณ์" มากกว่าแค่เนื้อหาสาระ ที่เล่าออกจากปากผู้พูดครับ

ทั้งหมดนี้ เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคนที่อยากเริ่มฝึกทักษะความเข้าใจในผู้อื่น หรือ Empathy เมื่อเรารู้ว่า อีกฝ่าย รู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร มองเห็นอย่างไร จะทำงานอะไรก็แล้วแต่ ที่เกี่ยวข้องกับคน ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือ เรื่องส่วนตัวก็ตามครับ

ฝึกฟังให้มากขึ้น แล้วเราจะเข้าใจคนอื่นๆ มากขึ้น Empathy ก็จะเกิดตามมาเองครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้ องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ
Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้

องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ

Pakinson
Pakinson's Law เวลาที่มีไม่เคยพอ เพราะเราจะรอจนถึง Deadline New

Parkinson's Law ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคร้าย แต่ความหมายของมันคือ “Work expands so as to fill the time available for its completion.” หรือว่าง่ายๆ เวลามีมากแค่ไหน สุดท้ายก็ทำงานเสร็จตอน deadline อยู่ดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ คุณโดน Pakinson's Law จ้องเล่นอยู่ครับ

Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ
Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว

ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ

World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่ ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย
World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่

ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย

ผลการสำรวจ  3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน
ผลการสำรวจ 3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม

ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน

พัฒนา 6 ทักษะการคิด แล้วลูกน้องคุณจะแก้ปัญหาในชีวิตการทำงานได้ด้วยตัวเอง เคยเห็นลูกน้องแบบนี้ไหมครับ? ที่เกิดปัญหาทีไร วิ่งหาหัวหน้า หรือ ให้เพื่อนช่วยตลอด ทั้งๆ ที่บางปัญหาไม่ได้ยากเลย ลักษณะการทำงานแบบนี้ บางทีอาจจะเกิดจากการขาด "ทักษะการคิด" ก็ได้ครับ การพัฒนาทักษะการคิดจึงช่วยให้เขาได้รู้ว่า วิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีแนวทางอย่างไร
พัฒนา 6 ทักษะการคิด แล้วลูกน้องคุณจะแก้ปัญหาในชีวิตการทำงานได้ด้วยตัวเอง

เคยเห็นลูกน้องแบบนี้ไหมครับ? ที่เกิดปัญหาทีไร วิ่งหาหัวหน้า หรือ ให้เพื่อนช่วยตลอด ทั้งๆ ที่บางปัญหาไม่ได้ยากเลย ลักษณะการทำงานแบบนี้ บางทีอาจจะเกิดจากการขาด "ทักษะการคิด" ก็ได้ครับ การพัฒนาทักษะการคิดจึงช่วยให้เขาได้รู้ว่า วิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีแนวทางอย่างไร