Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้

วันที่: 07 ก.พ. 2566 16:34:42     แก้ไข: 28 ก.พ. 2566 12:01:54     เปิดอ่าน: 918     Blogs
Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
  • จะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า
  • จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง
  • จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ จึงจะมี Empathy ได้?

การฝึกให้ Empathy ด้วย วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ "การฟัง" ครับ
เพราะการฟังทำให้เราได้รับข้อมูลจากอีกฝ่ายมากกว่าเดิม จึงทำให้เข้าใจเขามากยิ่งขึ้นครับ

ซึ่งการฟังที่ดี ก็คือ ต้องมี Active Listening หรือ การฟังอย่างตั้งใจ นั่นเอง

วิธีการหัดทักษะการฟังอย่างตั้งใจ ก็ง่ายมาก ขอให้เริ่มทำ 5 ข้อนี้ เท่านั้น คือ

1. หัดฟังให้เป็น
เหมือนจะง่าย แต่การรับฟังนี้ กลายเป็นเรื่องยากของหลายคน เพราะเมื่อฟังมากๆ ปากก็จะเริ่มอยากขยับ อยากตอบโต้

พอมีประสบการณ์คล้ายๆ กัน ปากก็ขยันอยากมีส่วนร่วม อยากเล่าเรื่องของตัวเอง

พอมีประสบการณ์ต่างออกไปก็อยากจะเถียง อยากแย้ง

การเริ่มหัดฟังให้เป็น จึงต้องเริ่มจากการเปิดใจ และรับฟังให้ได้มากที่สุดครับ

2. ฝึกใช้ภาษากาย
คือ การแสดงออกของเรา ขณะที่รับฟังอีกฝ่าย

ประโยชน์ของมันช่วยทั้งสร้างความไว้วางใจ แสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจในสิ่งที่เขาพูด และกระตุ้นให้อีกฝ่ายอยากเล่าเรื่องต่างๆ ให้เราฟังมากขึ้นด้วย

เมื่อรู้ข้อมูลมากขึ้น เราก็เข้าใจอีกฝ่ายได้มากขึ้น

3. ไม่ตัดสินอีกฝ่าย
ไม่ว่าจะด้วยความคิด หรือ ค่านิยมของเรา ก็ตาม เพราะคนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งวิธีคิด การกระทำ ค่านิยมส่วนตัว หรือ แม้แต่ประสบการณ์ในชีวิต

ถ้าเราใช้แต่ตัวตนของเราไปคิดแทนเขา จะไปเข้าใจอีฝ่ายได้อย่างไรครับ?

ให้พยายามนึกถึงใจเขาใจเรา รับรู้ด้วยมุมมองของเขาให้ได้มากที่สุด แม้ไม่ได้ทั้งหมด แต่เราก็จะเข้าใจมากขึ้น ว่าเขาทำแบบนั้นไปด้วยเหตุผล หรือ ความรู้สึกอย่างไร

เมื่อเข้าใจ ความหงุดหงิดลดลง ความขัดแย้งก็จะลดลงด้วยครับ

4. ไม่ตัดบทสนทนา
ข้อนี้หลายคนมักจะพลาด เพราะสำคัญผิด คิดว่าตัวเองได้ข้อมูลที่จำเป็นมากพอ จนกระทั่งคิดว่า "ผมเข้าใจคุณแล้ว" และจะทำให้พลาดการรับฟังข้อมูลสำคัญของอีกฝ่าย ไปอย่างน่าเสียดาย

5. หมั่นสังเกต สิ่งเล็กๆ น้อยๆ
ไม่ว่าจะเป็น น้ำเสียง ภาษากาย ต่างๆ ของอีกฝ่าย สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้ เราได้รับ "ข้อมูลทางอารมณ์" มากกว่าแค่เนื้อหาสาระ ที่เล่าออกจากปากผู้พูดครับ

ทั้งหมดนี้ เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคนที่อยากเริ่มฝึกทักษะความเข้าใจในผู้อื่น หรือ Empathy เมื่อเรารู้ว่า อีกฝ่าย รู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร มองเห็นอย่างไร จะทำงานอะไรก็แล้วแต่ ที่เกี่ยวข้องกับคน ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือ เรื่องส่วนตัวก็ตามครับ

ฝึกฟังให้มากขึ้น แล้วเราจะเข้าใจคนอื่นๆ มากขึ้น Empathy ก็จะเกิดตามมาเองครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้