Feedback ทักษะสำคัญแห่งอนาคตการทำงาน

วันที่: 12 ต.ค. 2565 11:43:36     แก้ไข: 28 พ.ย. 2565 11:41:21     เปิดอ่าน: 1,206     Blogs

การพัฒนาคน บทบาทสำคัญของผู้นำยุคใหม่

ยุคสมัยนี้ ผู้นำไม่ว่าจะเป็นระดับใดก็ตาม จำเป็นต้องมีบทบาทที่มากไปกว่าจากการบริหารจัดการทีมงานให้ทำงานลุล่วง แต่ต้องพัฒนาสมาชิกของทีมตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อให้ทำงานได้ตามมาตรฐาน หรือ รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตก็ตาม 

แม้แต่ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ยังได้ระบุว่า ผู้นำของพวกเขา "ต้องพัฒนาคนเป็น" ไม่ใช่ พึ่งแต่หลักสูตร Training จากทาง HR ท่าเดียว 
 

การพัฒนาคนในทุกๆ วัน คือ การให้ Feedback

ทักษะจำเป็นในการพัฒนาทีมงานในยุคใหม่ ตัวหนึ่ง ก็คือ ทักษะพื้นๆ อย่างการให้ feedback นี่แหละครับ
โดยเป็น 1 ใน 10 ทักษะหลักๆ ของ Leadership Skill ที่ถูกแนะนำจาก Businessnewsdaily.com
ประเภทของ Feedback โดยทั่วไป ก็จะมี 2 แบบ ครับ คือ 

1. Negative Feedback คือ การบอกการกระทำที่ควรปรับปรุงของพนักงาน หรือ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการทำงาน และอาจทำให้ทำงานไม่บรรลุเป้าหมายในงาน ด้วยเหตุนี้ จึงอาจเรียกการให้ feedback แบบนี้ ว่า Development Feedback ได้เช่นกัน
2. Positive Feedback คือ การบอกการกระทำที่ดีที่ทำให้ไปสู่เป้าหมายในการทำงาน หรือ ตรงตามความคาดหวังขององค์กร ของพนักงาน อาจเรียกว่าเป็น การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้ Recognition แบบหนึ่ง ก็ได้เช่นกันครับ

และในยุคใหม่ ๆ จะมีการให้ feedback อีกแบบ (ในที่นี้ ผมขอรวมเป็นหนึ่งในการให้ feedback ก่อน) ที่ต่างออกไป ซึ่งเรียกว่า

3. Feedforward นั่นคือ การบอกพนักงานเลย ว่าการกระทำที่คาดหวังให้เขาทำ และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายนั้น คืออะไร รวมถึงบอกผลกระทบของการกะทำนั้นว่ามีคุณค่ามากเพียงใดต่อผู้เกี่ยวข้อง 

กล่าวง่ายๆ คือ ไม่ต้องไปอ้างอิง การกระทำในอดีตที่เขาทำเลย ซึ่งวิธีนี้ เป็นที่นิยม เพราะหัวหน้า สามารถเลี่ยงคำพูดที่อาจกระทบจิตใจพนักงานได้มาก
ในการให้ feedback นั้น หัวหน้า ควรต้องรู้วิธีการให้ feedback ทั้งสามแบบนี้ เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และ ผสมผสานให้เป็น เพื่อทำให้การให้ feedback เป็นไปอย่างต่อเนื่อง สร้างแรงจูงใจ และเกิดผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง 

สิ่งสำคัญ นอกเหนือจากประเภทของการให้ feedback แล้ว หัวหน้าจำเป็นต้องรู้ mindset ที่เหมาะสม เช่น การมีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) อยากช่วยเหลือ (Helpful) และ เชื่อในการพัฒนา (Learning & Improvement) ตลอดจน ทักษะและวิธีการให้ feedback ที่ถูกต้องด้วย  เช่น การฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) และ การถามด้วยความสนใจใคร่รู้ (Questioning) ในระดับหนึ่งด้วย การจึงจะให้ feedback ได้อย่างสร้างสรรค์และทำให้ลูกน้องพัฒนาได้จริงๆ 

HR สามารถช่วยพัฒนาทักษะของหัวหน้าในองค์กรด้าน feedback ได้อย่างไร?


ตัวช่วยง่ายๆ ที่ HR สามารถ จะทำให้ทักษะของหัวหน้างานดีขึ้น มีมากมายเลยครับ เช่น

1. ลองหาใช้ Content สั้นๆ (Short Digital Course หรือ Micro-learning) ที่พวกเขาสามารถเข้าถึงได้ง่ายสะดวก เช่น วิธีการเตรียมตัวก่อนให้ feedback ตัวอย่าง หรือ คำแนะนำในการสนทนาเพื่อให้ feedback เป็นต้น เพราะ Content แบบนี้ตรงประเด็น และใช้เวลาไม่มากในการทบทวนความรู้ครับ

2.  เอกสารที่เป็น guideline เช่น Feedback Infographic , Feedback Tips ผ่านอีเมล์  Email ฯลฯ จะช่วยเพิ่มเติมความรู้ที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่ช่วยให้หัวหน้างานเห็นภาพชัดขึ้น และทบทวนง่ายผ่านการมองเห็น (Visual) ได้บ่อยๆ 

3. กิจกรรม แบบ HR suggestion เช่น การช่วยซ้อมการสนทนา feedback ก่อน ฤดูกาลการประเมินผลประจำปี หรือ คลีนิคการฝึกให้ feedback ก็ตาม สามารถช่วยได้ทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีของ HR และหัวหน้างาน ทำให้ได้รู้ insight จุดที่หัวหน้าแต่ละคนติดขัด และให้คำแนะนำได้ตรงประเด็นของแต่ละบุคคลยิ่งขึ้น 
เพื่อให้ทุกท่านสะดวกในการสนับสนุนให้คนในองค์กรพัฒนาทักษะด้านนี้ ผมได้แนบเอกสารความรู้เกี่ยวกับ Feedback บางส่วนกับท้ายบทความนี้  สามารถดาวน์โหลดได้ตามอัธยาศัยนะครับ เผื่อเก็บไว้อ่าน หรือส่งต่อให้หัวหน้างานทั้งหลาย ที่มีปัญหาและติดขัดในการให้ feedback ได้ศึกษา และปรับปรุงให้ feedback ในครั้งต่อๆไป เป็นไปอย่างราบรื่นครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

รูปภาพประกอบ11 รูป   คลิกบนรูปภาพเพื่อแสดงภาพใหญ่

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ
Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ

หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน