Feedback ทักษะสำคัญแห่งอนาคตการทำงาน

วันที่: 12 ต.ค. 2565 11:43:36     แก้ไข: 28 พ.ย. 2565 11:41:21     เปิดอ่าน: 2,568     Blogs

การพัฒนาคน บทบาทสำคัญของผู้นำยุคใหม่

ยุคสมัยนี้ ผู้นำไม่ว่าจะเป็นระดับใดก็ตาม จำเป็นต้องมีบทบาทที่มากไปกว่าจากการบริหารจัดการทีมงานให้ทำงานลุล่วง แต่ต้องพัฒนาสมาชิกของทีมตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อให้ทำงานได้ตามมาตรฐาน หรือ รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตก็ตาม 

แม้แต่ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ยังได้ระบุว่า ผู้นำของพวกเขา "ต้องพัฒนาคนเป็น" ไม่ใช่ พึ่งแต่หลักสูตร Training จากทาง HR ท่าเดียว 
 

การพัฒนาคนในทุกๆ วัน คือ การให้ Feedback

ทักษะจำเป็นในการพัฒนาทีมงานในยุคใหม่ ตัวหนึ่ง ก็คือ ทักษะพื้นๆ อย่างการให้ feedback นี่แหละครับ
โดยเป็น 1 ใน 10 ทักษะหลักๆ ของ Leadership Skill ที่ถูกแนะนำจาก Businessnewsdaily.com
ประเภทของ Feedback โดยทั่วไป ก็จะมี 2 แบบ ครับ คือ 

1. Negative Feedback คือ การบอกการกระทำที่ควรปรับปรุงของพนักงาน หรือ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการทำงาน และอาจทำให้ทำงานไม่บรรลุเป้าหมายในงาน ด้วยเหตุนี้ จึงอาจเรียกการให้ feedback แบบนี้ ว่า Development Feedback ได้เช่นกัน
2. Positive Feedback คือ การบอกการกระทำที่ดีที่ทำให้ไปสู่เป้าหมายในการทำงาน หรือ ตรงตามความคาดหวังขององค์กร ของพนักงาน อาจเรียกว่าเป็น การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้ Recognition แบบหนึ่ง ก็ได้เช่นกันครับ

และในยุคใหม่ ๆ จะมีการให้ feedback อีกแบบ (ในที่นี้ ผมขอรวมเป็นหนึ่งในการให้ feedback ก่อน) ที่ต่างออกไป ซึ่งเรียกว่า

3. Feedforward นั่นคือ การบอกพนักงานเลย ว่าการกระทำที่คาดหวังให้เขาทำ และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายนั้น คืออะไร รวมถึงบอกผลกระทบของการกะทำนั้นว่ามีคุณค่ามากเพียงใดต่อผู้เกี่ยวข้อง 

กล่าวง่ายๆ คือ ไม่ต้องไปอ้างอิง การกระทำในอดีตที่เขาทำเลย ซึ่งวิธีนี้ เป็นที่นิยม เพราะหัวหน้า สามารถเลี่ยงคำพูดที่อาจกระทบจิตใจพนักงานได้มาก
ในการให้ feedback นั้น หัวหน้า ควรต้องรู้วิธีการให้ feedback ทั้งสามแบบนี้ เพื่อใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และ ผสมผสานให้เป็น เพื่อทำให้การให้ feedback เป็นไปอย่างต่อเนื่อง สร้างแรงจูงใจ และเกิดผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง 

สิ่งสำคัญ นอกเหนือจากประเภทของการให้ feedback แล้ว หัวหน้าจำเป็นต้องรู้ mindset ที่เหมาะสม เช่น การมีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) อยากช่วยเหลือ (Helpful) และ เชื่อในการพัฒนา (Learning & Improvement) ตลอดจน ทักษะและวิธีการให้ feedback ที่ถูกต้องด้วย  เช่น การฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) และ การถามด้วยความสนใจใคร่รู้ (Questioning) ในระดับหนึ่งด้วย การจึงจะให้ feedback ได้อย่างสร้างสรรค์และทำให้ลูกน้องพัฒนาได้จริงๆ 

HR สามารถช่วยพัฒนาทักษะของหัวหน้าในองค์กรด้าน feedback ได้อย่างไร?


ตัวช่วยง่ายๆ ที่ HR สามารถ จะทำให้ทักษะของหัวหน้างานดีขึ้น มีมากมายเลยครับ เช่น

1. ลองหาใช้ Content สั้นๆ (Short Digital Course หรือ Micro-learning) ที่พวกเขาสามารถเข้าถึงได้ง่ายสะดวก เช่น วิธีการเตรียมตัวก่อนให้ feedback ตัวอย่าง หรือ คำแนะนำในการสนทนาเพื่อให้ feedback เป็นต้น เพราะ Content แบบนี้ตรงประเด็น และใช้เวลาไม่มากในการทบทวนความรู้ครับ

2.  เอกสารที่เป็น guideline เช่น Feedback Infographic , Feedback Tips ผ่านอีเมล์  Email ฯลฯ จะช่วยเพิ่มเติมความรู้ที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่ช่วยให้หัวหน้างานเห็นภาพชัดขึ้น และทบทวนง่ายผ่านการมองเห็น (Visual) ได้บ่อยๆ 

3. กิจกรรม แบบ HR suggestion เช่น การช่วยซ้อมการสนทนา feedback ก่อน ฤดูกาลการประเมินผลประจำปี หรือ คลีนิคการฝึกให้ feedback ก็ตาม สามารถช่วยได้ทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีของ HR และหัวหน้างาน ทำให้ได้รู้ insight จุดที่หัวหน้าแต่ละคนติดขัด และให้คำแนะนำได้ตรงประเด็นของแต่ละบุคคลยิ่งขึ้น 
เพื่อให้ทุกท่านสะดวกในการสนับสนุนให้คนในองค์กรพัฒนาทักษะด้านนี้ ผมได้แนบเอกสารความรู้เกี่ยวกับ Feedback บางส่วนกับท้ายบทความนี้  สามารถดาวน์โหลดได้ตามอัธยาศัยนะครับ เผื่อเก็บไว้อ่าน หรือส่งต่อให้หัวหน้างานทั้งหลาย ที่มีปัญหาและติดขัดในการให้ feedback ได้ศึกษา และปรับปรุงให้ feedback ในครั้งต่อๆไป เป็นไปอย่างราบรื่นครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

รูปภาพประกอบ11 รูป   คลิกบนรูปภาพเพื่อแสดงภาพใหญ่

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้