Future Skills For Uncertain World

วันที่: 11 ก.ย. 2564 09:39:02     แก้ไข: 14 มี.ค. 2565 10:09:33     เปิดอ่าน: 1,930     Blogs
โลกยุคใหม่ต้องการคนทำงานแบบไหน?

งานวิจัยจาก McKinsey ได้ศึกษาเรื่องทักษะที่จำเป็นในโลกอนาคต จากคนจำนวน 18K ใน 15 ประเทศ แล้วสรุปลักษณะประชากรแห่งโลกใหม่ (Future-Citizen Skills) ไว้ว่า จะต้องมีทักษะที่จำเป็นทั้งหมด 13 ด้าน ซึ่งเมื่อแบ่งเป็นหมวดหมู่แล้วจะได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ

1. Self Leadership ภาวะผู้นำในตนเอง (3 ด้าน)
2. Cognitive กระบวนการคิด (4 ด้าน)
3. Interpersonal ความสัมพันธ์กับผู้อื่น (3 ด้าน)
4. Digital ดิจิทัล (3 ด้าน)
 
1. Self-Leadership (ภาวะผู้นำในตนเอง)
ทุกคนต้องมีครับ ไม่ใช่แค่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งหัวหน้างานอย่างเดียว
เพราะทักษะนี้จะช่วยให้ คนทุกคนสามารถนำพาตัวเองไปยังเป้าหมายและความสำเร็จที่วางไว้ได้

ภาวะผู้นำในตนเองมี 3 ด้านย่อยๆ คือ
1.1 Self-Awareness & Self Management
คือ การตระหนักรู้ตัว และบริหารจัดการตัวเองได้
1.2 Entrepreneurship
คือ สำนึกความเป็นเจ้าของในงาน
1.3 Goal Achievement
การมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ

อ้าว! ฟังดูก็เหมือนยุคเดิม แสดงว่า เราก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรสิ
ช้าก่อนครับ แม้ว่าชื่อเหมือนเดิมแต่ไส้ในที่เป็นหัวข้อย่อยๆ มันเปลี่ยนจากเดิมครับ เหมือนเป็น Updated Version เพื่อเราจะได้บรรลุเป้าหมายได้ ในโลกใบใหม่ที่อะไรก็ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงเร็วจี๋นั่นเองครับ

สรุปหลักๆ Self Leadeship ในเวอร์ชั่นนี้ ก็คือ การต้องรู้จักตัวเองโดยเฉพาะจุดแข็ง และ ต้องกล้าทำสิ่งที่ต่างจากเดิม รวมทั้งต้องอึดถึกทน และรู้จักปรับตัวในโลกที่ไม่แน่นอนให้ได้ครับ
ทักษะหมวด 2 Cognitive Skills (วิธีคิด)
โลกยุคใหม่ เป็นโลกที่มีลักษณะเปราะบาง ไม่แน่นอน ซับซ้อน คลุมเครือ ทำให้เรามีแนวโน้มที่ต้องใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น

จริงๆ แล้ว ทุกวันนี้ คนทุกคนก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายกว่าเดิมเยอะมาก แต่....
คนที่จะมีระบบการคิด เพื่อประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ มีกี่คน?
วิธีคิด จึงเป็นทักษะที่แยก "คนที่ใช้งานข้อมูลเป็น" กับ คนที่แค่ "ค้นข้อมูลได้" ได้ออกจากกัน
คนที่ใช้งานข้อมูลได้ จะมีทักษะใน 4 ด้าน คือ

2.1 Critical Thinking สรุปง่ายๆ คือ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ได้
2.2 Mental Flexibility คือ รู้ว่าจะใช้ข้อมูลที่มีในสถานการณ์ที่ต่างกันอย่างไร ไม่ใช่ ใช้มันแบบเดิมในทุกๆ บริบทครับ
สาระสำคัญของข้อนี้ คือ เพื่อให้ปรับตัวได้ดี มองในมุมต่างๆ ที่หลากหลายกว่าความเชื่อเดิมของเรา (เสมือนต้องมีแว่นตาหลายแบบ เพื่อมองในมุมต่างๆ)
2.3 Planning & Way of Working ต้องพัฒนางานที่ทำได้ และรู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง ซึ่งแง่มุมนี้ ก็คือ "รู้จักคิดเพื่อทำงานให้เป็น" ครับ ไม่ใช่ทำแบบเดิม ด้วยการใช้ระบบ auto pilot จนเป็นงานรูทีน หรือ ทำงานมั่วไปหมด จนไม่รู้ว่าควรทำอะไรก่อน-หลัง และหัวใจสำคัญข้อนี้คือ ทำงานแล้วต้องพัฒนางานนั้นๆ ให้มีคุณค่า (Value) มากกว่าเดิมอยู่เสมอ
2.4 Communication 
การสื่อสารที่หลายคนอาจงง ว่ามันมาอยู่ในการคิดได้อย่างไร?
ถ้ามองแบบ การประมวลผล ข้อนี้อยู่ในการคิดถูกแล้วครับ เพราะ การรับ-ส่ง ข้อมูล ถือเป็นสาระสำคัญของระบบการคิดเลย

ถ้าเรารู้จักถามให้เป็น ทำใจให้เย็น เพื่อฟังคนอื่น เราจะได้ข้อมูลที่เป็น input ที่ดีเลยครับ ที่จะให้เราวิเคราะห์ปัญหา หรือ สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำกว่าเดิม

ในทางตรงข้ามสิ่งที่เป็น output อย่างการสื่อสารในที่ชุมชน ก็ช่วยให้เราส่งข้อมูลที่มีไปยังคนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ข้อมูลครบถ้วน และยังสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ได้ด้วย และ output ของเรา ก็จะเป็น input ที่ดีให้กับคนที่ทำงานด้วยกันอีกต่างหาก

ทั้งหมดนี้ หากทำได้ เราก็จะคิดไว ทำไวมากกว่าเดิมเยอะ รวมทั้ง จะใช้ข้อมูลที่มีได้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลครับ
ทักษะหมวดที่ 3 Interpersonal Skills (ทักษะด้านคน)
ทักษะในหมวดสามนี้ ฟังดูเหมือนของเก่าอีกแล้ว นั่นคือ ทักษะด้านคน แต่ลองสังเกตดีๆ นะครับ ใครสังเกตเห็นบ้างไหม ว่าต่างตรงไหน?

ในโลกใหม่นี้ ทักษะด้านคน เน้นไปเรื่องความเป็นมนุษย์และการเชื่อมโยงกัน แบบ networking มากขึ้นครับ เพราะว่า เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าหลายๆ ครั้ง คนเราถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล และต้องช่วยกันให้ผ่านการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็ว

และหากคนเราเชื่อมโยงกันด้านอารมณ์ความรู้สึกได้ จะเกิดพลังที่เรียกว่า 1+1 มากกว่า 2 และสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้องค์กรได้เยอะมากๆครับ

ด้วยเหตุนี้ สกิลย่อยๆ จึงแบ่งเป็น 3 ด้าน นั่นคือ

3.1 สร้างแรงขับเคลื่อน (Mobilize System)
ทั้งหมดนื้ คือ ทักษะที่จะสร้างพลัง ทำให้ทุกคนไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้นั่นเองครับ โดยเฉพาะผู้นำ เพราะถ้าเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว ก็จะเกิดความไว้วางใจ และยิ่งถ้าสามารถ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้ละก็ หนทางมีขวากหนามแค่ไหนก็สู้ตายละครับ (โดยเฉพาะยุคอนาคตที่ทุกอย่างไม่หมูแน่ๆ )

3.2 การสร้างความสัมพันธ์ (Developing Relationship)
คือ การสร้างความสัมพันธ์แบบมนุษย์ปุถุชนนี่เองครับ ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ในแบบที่ทุกฝ่ายต้องเข้าใจกัน ไม่มีใครที่สูงกว่าต่ำกว่า ดังนั้น การพยายามเข้าใจเขา อ่อนน้อม และเป็นกันเอง จึงทำให้ต่างคนต่างไว้วางใจกันได้ และเกิดมิตรภาพที่ดี เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือและร่วมมือกันครับ

3.3 การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ (Team Effectiveness)
ด้านนี้หลัก ๆ คือ การผสานความต่าง เพราะอนาคตเราต้องทำงานที่มีความสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สูงกว่าเดิม
จุดนี้ให้เราลองนึกถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ได้ครับ ว่า สมัยก่อนที่แต่ละเครื่องไม่มีเน็ตเวิร์คเชื่อมกันนั้นสมรรถนะ และความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ไม่เท่าสมัยที่ Internet บูมเลย

แต่เมื่อทุกอย่างเป็นเครือข่าย มันเกิดการแลกเปลี่ยนไอเดีย ความคิด การถ่ายโอนความรู้ จนทำให้เกิดการพัฒนาในหลายๆ ด้านมากมาย (อย่างหนึ่ง ก็ธุรกิจใหม่ๆ ครับ)

ดังนั้น การที่ทีมงานสามารถผสานความต่างได้ จึงได้เปรียบมาก

นอกจากนี้ หากประกอบกับทักษะในการพัฒนาทีมงาน จนทำให้พวกเขาตัดสินใจได้เอง ขับเคลื่อนได้เอง เท่ากับว่างานต่างๆ จะฉับไวขึ้นอีกเยอะครับ

ดังนั้น ทักษะด้านคนทั้งสามกลุ่มนี้จึงเน้นการสร้างพลังจากแรงบันดาลใจ และความร่วมมือกันของคนทำงาน เพื่อให้สามารถพิชิตงานยากที่รออยู่ในอนาคต ไม่ใช่ให้สู้ตามลำพังครับ

อย่าลืมนะครับ อย่าลุยตัวคนเดียว หมดยุคของฮีโร่วันแมนโชว์แล้วครับ
ไปด้วยกัน ไปได้ไกลกว่าครับ
ทักษะหมวดที่ 4 DIGITAL SKILLS
อันนี้สำคัญ เพราะเรากำลังไปยุคดิจิทัล จะขาดทักษะนี้ไม่ได้เลยครับ จริงไหม?

แต่มันคืออะไรล่ะ เพราะหลายๆ ครั้งเราบอกทักษะดิจิทัลๆ มันกว้างจนหลายคนตีความในแบบที่ตัวเองเข้าใจ เช่น เขียนโปรแกรมบ้าง ใช้ Software เป็นบ้าง ฯลฯ

ดังนั้น สำหรับตอนนี้ผมขอสรุปแบบง่ายเลยละกันว่า คุณจะต้องมี 3 ด้านนี้ คือ

4.1 ความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องดิจิทัลทั้งหมด (Digital Fluency Citizenship) ประหนึ่งว่าเกิดในยุคนี้ เช่น ชีวิตในแบบดิจิทัลเป็นยังไง เราจะมีชีวิตอยู่กับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดเวลาแบบไหน และมีวิธีสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ร่วมกันยังไง

ซึ่งทั้งหมดนี้ หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่า ได้ถูกปูพื้นฐานจากช่วงโควิด ไปเรียบร้อยแล้วครับ!!
เพราะช่วงวิกฤต เทคฯ ด้านดิจิทัลได้เป็นส่วนหนึ่งของทางรอด เราได้ซึมซับประสบการณ์ และนำโลกดิจิทัลมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้างคุณค่าทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้รอด และจำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลาผ่านสื่อต่างๆ ก็คือ การเรียนรู้แบบยุคนี้ นั่นเองครับ

ที่เหลือ คือ ต่อยอดจากเดิม เพื่อสู้ศึกใหม่ที่รอหลังวิกฤตนี้ครับ (จริงๆ ก็คือ เทรนด์โลกเดิมสมัยก่อนหน้าวิกฤตเกิดนั่นแหละครับ)

4.2 ทักษะการใช้งาน Software และ ทักษะการพัฒนา Software 
ด้านนี้แบ่งเป็นทั้งผู้ใช้งานและผู้พัฒนาโปรแกรมนะครับ

ผู้พัฒนาโปรแกรม หลัก ๆ คือ ต้องมีระบบการคิดลำดับขั้นที่แม่นยำ เพื่อออกแบบพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ได้ตรงตามการใช้งานครับ และมีการใช้ข้อมูลสถิติ ประกอบในการพัฒนามัให้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างตรงนี้ นึกถึงการออกแบบ App ของ Netflix ก็ได้ครับ เราใช้งานง่าย และสะดวกเพราะ เขาเก็บและใช้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพัฒนามันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ใช้อย่างเราเกิดและมีประสบการณ์ดีๆ

ผู้ใช้โปรแกรม ก็ต้องมีการศึกษาการทำงานของโปรแกรมที่ใช้ในงานให้เข้าใจด้วย เพื่อให้สามารถนำมันไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และพัฒนาขั้นตอนการทำงานให้สอดคล้องกันครับ

4.3 ความเข้าใจในการทำงานร่วมกันของระบบดิจิทัลทั้งหมด
ถ้าทักษะใน ข้อสอง เน้นที่ "วิธีการใช้งานให้เป็น" ข้อสามนี้ ก็เน้นที่ "การใช้งานให้เกิดคุณค่ากับองค์กร" ครับ จึงต้องมองภาพรวมทั้งระบบให้ออกว่าเทคฯ ดิจิทัลนี้ สร้างคุณค่าต่างๆ ในธุรกิจอย่างไร? ไม่ว่าจะเป็น ด้านข้อมูล และประบุกต์ใช้ในงานแต่ละงานให้ราบรื่นที่สุดครับ
ทั้งหมดนี้ ก็คือ ทักษะทั้งสี่ด้านที่จำเป็นสำหรับคนในโลกใบใหม่ที่อะไรๆ จะไม่เหมือนเดิม อย่างที่เราคุ้นเคยแล้ว

ไม่ว่าเราจะอยู่ในส่วนงานใดลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ เช่น การปรับตัวเอง การคัดเลือกคน พัฒนาคน หรือ การนำคนของเราให้พร้อมกับอนาคต ฯลฯ เพราะบริษัทต้องการกำลังสำคัญอย่างพวกคุณนี่แหละที่จะช่วยให้ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ครับ

ขอบคุณผู้อ่านที่ติดตามจนจบนะครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ
Leadership Mindsets ส่วนที่มองไม่เห็น แต่ควรเน้นในการพัฒนาผู้นำ

หลายคนมุ่งพัฒนาผู้นำ เฉพาะส่วนที่เห็นได้ชัดเจน นั่นคือ ทักษะการบริหารงาน จริงๆแล้ว ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ส่วนที่เป็น Leadership Mindsets เพราะทำให้ผู้นำเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม ยิ่งหากได้รับการพัฒนาทักษะผู้นำ Leadership Skills เสริมด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ทีมงานไว้วางใจและเชื่อใจ ทั้งในความสามารถและภาวะผู้นำ จนพร้อมทำงานให้อย่างมุ่งมั่นเต็มใจ

Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: The Roots : Building Result-Driven Environtment

เป้าหมายหลักขององค์กรมีหลายด้าน คนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นได้ คือ ผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการที่ผู้บริหาร หรือ ผู้นำจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากการมี Leadership Mindsets ที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์กรจะพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน
ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World)  มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ
Key Takeaways: Leader Development in Uncertain World

โลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง และยิ่งมีสปีดของการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ่นเรื่อยๆ แล้วองค์กรจะพัฒนาผู้นำอย่างไรในโลกที่ไม่แน่นอน ใน Mini Workshop ของ อ. คม สุวรรณพิมล จึงมีได้นำประเด็นนี้มาอัพเดท ให้ผู้บริหารทุกท่านได้ เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาการบริหารให้ยืดหยุ่น เพื่อรับมือกับโลกที่ไม่แน่นอน (uncertain World) มาดู Key takeaway จาก Mini Workshop ของเรากันครับ

Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ
Leadership Style ต้องปรับบ้าง เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหาร

สาเหตุที่ต้องพัฒนาผู้นำองค์กร ให้บริหารอย่างสมดุล ตามแนวคิดของ Diamond Management ก็คือ ผู้บริหารแต่ละคน มักจะมี "ท่าถนัด" หรือ สไตล์ในการบริหารต่างกันมากเกินไป ถ้าคุณเป็นผู้นำแล้ว เราลองใช้นิยามหัวหน้า ใน Info นี้ ดูตัวเองนะครับ ว่าท่าถนัดเราคือแบบไหน? มีหลงลืมท่าที่ไม่ถนัดแต่จำเป็นตัวไหนบ้างไหม? แล้วมาลองปรับด้านที่เหลือกันครับ

ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles) โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์  ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้
ภาวะผู้นำที่ดี ต้องมี 6 หลักการนี้ (Leadership Principles)

โดยทั่วไป คนมักจะมีความถนัดของตัวเอง ทั้งจากประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน หรือ บางคนก็ใช้ความเชื่อของตัวเองในการบริหาร จึงทำให้มักใช้หลักการบางตัวเท่านั้นในหลายๆ สถานการณ์ ทว่า การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จำเป็นต้องใช้ให้ถูกสถานการณ์จึงจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและเหมาะสมในการทำงาน ซึ่งมีดังนี้

6  ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน
6 ปัจจัยที่ทำให้ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน

High Performance Environtment คือ บรรยากาศการทำงานที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานอย่างมากครับ เพราะจะส่งผลต่อความรู้สึก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน