“Hate speech” คำนินทา เมื่อดราม่าอยู่รอบตัวเรา (ตอนที่ 1)

วันที่: 31 ก.ค. 2562 14:55:46     แก้ไข: 16 ม.ค. 2563 16:29:36     เปิดอ่าน: 2,356     Blogs
“วาจาคืออาวุธ จงใช้อาวุธให้ตัวเราเองรอดพ้นจากอันตรายแต่อย่าใช้มันเพื่อทำร้ายคนอื่น”

การนินทาเป็น “Hate speech” หรือไม่?

เพราะถ้า Hate speech คือ วาจาที่สร้างความเกลียดชังและหวังผลในการทำร้ายจิตใจ ถ้าไม่หลอกตัวเองจนเกินไป คงตอบได้ทันทีว่า ”ใช่จ้า” เพราะสิ่งที่พูดออกไปเมื่อใช้คำว่า “นินทา” ก็คงอยู่ในหมวดหมู่ที่จัดว่าไม่ใช่เรื่องดี บางคนบอกว่านินทาเฉยๆไม่ได้ทำร้ายใคร แต่คิดซักนิดว่าถ้าไม่หวังผลใดให้เรื่องไม่ดีของคนอื่นแพร่ออกไป ควรจะพูดให้ต้นไม้ที่บ้านฟังก็ได้ ไม่เกิดผลกระทบกับใครอีกด้วย
 
ทำไมคนเราจึงชอบนินทา ว่าด้วยหลักจิตวิทยา วิชา นินทาศาสตร์ 101

เพราะการนินทาถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าสังคม

จากการศึกษาทางจิตวิทยาพบว่า ผู้ที่มีนิสัยชอบนินทาพึงพอใจที่จะได้รับการยอมรับในการมีข้อมูลที่เหนือกว่าผู้อื่น และดึงดูดให้ผู้อื่นหันมาสนใจในข้อมูลที่ตนมี ซึ่งถ้าหากร่วมด้วยทัศนคติที่ไม่เหมาะสมบางอย่างเสริมเข้าไป ยิ่งมักจะทำให้จุดเริ่มต้นจากการนินทานำพาไปสู่การเกิดดราม่าในการทำงานได้โดยง่าย
 
เพราะ “Attitude” เป้นเรื่องสำคัญและแอดอ้วนนั้นเคยเป็น “ชาวนินทาบุรี”มาก่อน

จึงขอสะท้อนความคิดของตนในวันนั้น มาสะท้อนให้ทุกท่านพิจารณาในวันนี้ว่า Attitude เริ่มต้นของผู้เริ่มต้นเป็นชาวนินทาบุรีมีที่มาที่ไปเช่นไร และท่านเองเข้าข่ายเป็นชาวนินทาบุรีหรือไม่ จะได้ระแวดระวังและกลับหลังหันได้ทันก่อนจะเป็นพลเมืองโดยสมบูรณ์แบบ

Prejudgment คือการด่วนสรุปและตัดสินผู้อื่นไปล่วงหน้า โดยไม่มีข้อมูลความถูกต้องที่แท้จริง ดั่งวลีที่ว่า  “รู้เพียงหนึ่งพูดไปถึงสิบ” และหยิบเอาข้อมูลเพียงหนึ่งเดียวที่เรามี ซึ่งการจากการรับรู้ของเราเพียงฝ่ายเดียวมาตัดสินผู้อื่น

Predominance คือความต้องการมีอำนาจเหนือกว่าผู้อื่น และอยากได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่น
จึงใช้ข้อมูลที่มีมาใช้ในการพูดถึงบุคคลที่ 3 เพื่อสร้างบทสนทนา โดยไม่สนใจว่าใครจะได้รับผลกระทบเช่นไร ขอเพียงให้ตนเป็นที่สนใจและได้รับการยอมรับในวงสนทนาก็เพียงพอแล้ว

มี “Attitude” แบบ 2-Pre ประตูเมืองนินทาบุรีก็ยินดีเปิดต้อนรับท่าน เพราะ “Attitude” นำมาซึ่งพฤติกรรม จนทำให้ถลำเข้าสู่การเป็น ”ชาวนินทาบุรี”


Next Episode: เมื่อ “Hate speech” คำนินทา ไม่ใช่แค่ดราม่าในออฟฟิศ
Content by แอดอ้วนผู้เคยได้รับฉายา “ท่านหัวหน้าเผ่า” ของชาวนินทาบุรี

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้