​Management Strategy in Uncertain World New

วันที่: 10 ม.ค. 2566 14:54:14     แก้ไข: 10 ม.ค. 2566 15:34:48     เปิดอ่าน: 711     Blogs
โลกในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก จนถึงขนาดว่ามีการให้นิยายของโลกยุคนี้ว่าเป็นโลก VUCA WORLD หรือโลกที่มีความผันผวน ไม่แน่นอนซับซ้อนและคลุมเครือ และต่อมาก็เปลี่ยนคำนิยามอีกว่าเป็นโลคยุค BANI WORLD คือเป็นโลกที่เปราะบางและคาดการณ์อะไรไม่ได้ ซึ่งในอนาคตก็คงมีการเปลี่ยนแปลงคำนิยามนี้อีกเช่นกัน แต่ไม่ว่าโลกจะถูกนิยามว่าอะไร พื้นฐานอย่างหนึ่งของโลกยุคนี้ ก็คือ โลกที่ไม่มีความแน่นอน ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นนี้มาโดยตลอด แต่เพิ่มเติมนอกจากความไม่แน่นอนแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วด้วย
Management Problems in Uncertain World

จากโลกที่มีความไม่แน่นอน และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การบริหารงานต่างๆ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แต่ในความเป็นจริง ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังคงยึดติดกับการบริหารงานแบบเดิมๆ ไม่ใช่เพราะไม่อย่างเปลี่ยน ทุกคนรู้ว่าต้องเปลี่ยน แต่เป็นเพราะความเคยชิน หรือ นิสัยที่ฝังติดตัวมานาน การจะเปลี่ยนแปลงอะไรในชั่วข้ามคืนมันเป็นไปได้ยาก ดังนั้นทำให้การบริหารงานยังอยู่บนพื้นฐานเดิมๆภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและรวดเร็ว โดยปัญหาเกี่ยวกับการบริหารที่มักจะเกิดขึ้น เป็นอันดับแรกๆคือ 
  1. การกำหนดวิสัยทัศน์ คือต่อให้พยายามเปลี่ยนแปลงวิธีคิดจากเดิมแล้ว แต่พื้นฐานความคิดยังวนเวียนอยู่ในประสบการณ์แบบเดิมๆ แตกต่างกับคนรุ่นใหม่ที่ตั้งบริษัท Start Up ที่แทบไม่มีประสบการณ์เดิมในหัวเลย ทุกอย่างคือเริ่มต้นจากศูนย์บวกกับความฝัน จนเห็นโอกาสตามมา แต่สำหรับธุรกิจที่ตั้งมากนานแล้วนั้นวิสัยทัศน์ทางธุรกิจมักจะเริ่มต้นมาจากการรักษาฐานของธุรกิจเดิมไว้ แล้วคิดต่อยอดจากนั้น ทำให้สุดท้ายก็ยังวนเวียนไปไม่ไกลจากเดิมมากนัก
  2. การสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตและเสรียรภาพ จากโลกยุคปัจจุบันทำให้การดิ้นรนเพื่อเอาตัวรวด เกิดขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมาก และการดิ้นรนนี้เองนำมาซึ่งการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเน้นไปที่การเติบโตของธุรกิจ จนในบางครั้งเน้นมากกว่าเสรียรภาพหรือความมั่นคงทางธุรกิจ ทำให้ขาดความสมดุลไป ซึ่งถ้าพลาดขึ้นมาก็จะล้มลงมาแรงมาก
  3. การบริหารคน คือ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาจากวิธีคิดทางธุรกิจข้างต้น เพราะจากการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์และการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงานอย่างรวดเร็วแต่การบริหารคนกลับยังมีแนวคิดแบบเดิม ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ทำให้คนมีวิธีคิดและความต้องการที่แตกต่างจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นใหม่ หรือ รุ่นเก่าก็มีความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ทำให้วิธีการบริหารคนแบบเดิมไม่เหมาะสมในการรักษาคนเก่งเอาไว้ หรือ แม้แต่การจะพัฒนาคนให้เก่งขึ้นด้วยวิธีการเดิมๆ ก็เป็นไปได้ยาก  
Business Goal (Organization Goal)

จากปัญหาหลักๆ ข้างต้น ถ้าเราลองย้อนกลับมาดูถึงความต้องการหรือเป้าหมายที่แท้จริงของธุรกิจ ว่ามีเป้าหมายอะไรบ้าง ก็สามารถแบ่งเป้าหมายออกได้เป็น 4 ด้านหลักๆ คือ

1 การเติบโต (Growth) เป้าหมายนี้เป็นพื้นฐานหลักของการทำธุรกิจเพราะทุกธุรกิจก็ต้องการการเติบโตทั้งสิ้น

2.ความมั่นคง (Stability) เป้าหมายนี้มักมาควบคู่กับการเติบโต เพราะ เมื่อธุรกิจเติบโตก็จะมีความต้องการที่จะยึดมั่นการเติบโตนั้นต่อไปนาน ซึ่งก็คือความมั่นคงทางธุรกิจนั่นเอง

3 การสร้างผลผลิตที่ดี (Productivity) เป้าหมายนี้ เป็นเป้าหมายในการบริหารงานที่ต้องการให้ทีมงานทำงานเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโต โดยเป้าหมายนี้จะเน้นถึงการเพิ่มผลผลิตผ่านการบริหารคน

4. การสร้างความผูกพันธ์ในองค์กร (Engagement) เป้าหมายนี้ก็เป็นเป้าหมายในการบริหารงานเช่นเดียวกันโดยเน้นการบริหารคนเพื่อให้คนเกิดความผูกพันธ์ เพื่อจะได้สร้าง ผลผลิตที่ดี จนนำธุรกิจไปสู่การเติบโตที่มั่นคง  
จากเป้าหมายทั้งสี่ด้านนี้ จะมีความสัมพันธ์และความเกี่ยวพันกัน ดังนั้น การเน้นเป้าหมายทั้งสี่นี้ จะต้องมีความสมดุลกัน ถ้าเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไปจนขาดความสมดุลผลเสียจะเกิดขึ้นกับธุรกิจในที่สุด เช่นถ้าเน้นเติบโตมากไป อาจจะเสี่ยงทำอะไรบางอย่างจนขาดความมั่นคงทางธุรกิจก็ได้ หรือถ้าเน้นการบริหารเพื่อสร้าง Productivity มากเกินไปก็อาจทำให้ Engagement ตกลงก็ได้

Diamond Management -การบริหารแบบสร้างความสมดุลในเป้าหมายทั้ง 4 ด้าน (Management For Balancing 4 Business Goal)

การบริหารธุรกิจในโลกยุคที่มีความไม่แน่นอนสูง สิ่งสำคัญคือความยืดหยุ่น ในการบริหารงานเพื่อสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นกับเป้าหมายทั้ง 4 ด้าน โดยการบริหารแบบสร้างความสมดุลนี้ เรียกว่า การบริหารแบบ Diamond Management ซึ่งเป็นการผสมผสานการบริหารด้วยหลักการสี่เรื่องเข้าด้วยกัน โดยจะเน้นใช้การบริหารทั้ง สี่ด้านไปพร้อมๆ กัน คือ 
  • Driving Result เป็นการบริหารที่เน้น ให้ได้ผลลัพธ์ตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดโดยมุ่งไปที่การแปลงวิสัยทัศน์ให้เป็นกลยุทธ์ในการทำงานงานเหมาะสม ซึ่งจะตอบสนองต่อเป้าหมายด้านการเติบโตของธุรกิจ
  • Effective Execution หมายถึงการบริหารที่เน้นการนำกลยุทธ์ที่กำหนดไปปฏิบัติและบริหารทีมงานเพื่อให้สร้างผลผลิตสูงสุดตามกลยุทธ์ที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเกิดความมั่นคง เพราะแผนงานต่างๆ ได้ถูกนำไปปฏิบัติจนเกิดผลที่ต้องการ
  • Team Development เป็นการบริหารงานที่ตอบเป้าหมายด้านการเติบโตของธุรกิจ และสร้าง Engagement ไปพร้อมกัน โดยการมุ่งเน้นให้ทีมงานมีการพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้นตลอดเวลาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
  • Building High Performance Environment เป็นการเน้นการสร้างความมั่งคงให้กับธุรกิจ ผ่านการสร้าง Engagement ให้กับคนในองค์กร ด้วยวิธีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับความต้องการของคนทำงานในโลกยุคนี้   
Develop Diamond Management

การบริหารธุรกิจแบบ Diamond Management ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารระดับกลาง เพราะเขาจะเป็นคนรับวิสัยทัศน์จากผู้บริหารระดับสูงมาแปลงเป็นกลยุทธ์และนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติจนเกิดผลที่ต้องการ และในขณะเดียวกันเขาก็มีหน้าที่ในการบริหารทีมงาน เพื่อให้พัฒนาศักยภาพ และ สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ดังนั้นการจะทำให้การบริหารแบบ Diamond Management ประสบความสำเร็จเราต้อง “พัฒนาผู้บริหารระดับกลาง” ให้มีความสามารถในการบริหารแบบ Daimond โดยพัฒนาให้เขาเป็นคนที่มีความสามารถดังนี้
  1. Result Oriented Leader เป็นคนที่มีความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ จากวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายขององค์กรได้ เป็นที่มีความคิดในเชิงกลยุทธ์
  2. Effective Executor สามารถแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติจนประสบความสำเร็จ
  3. Team Developer เป็นคนที่สามารถสร้างทีมงานให้มีความพร้อมเพื่อรองรับกลยุทธ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้และมีทัศนคติที่อยากจะพัฒนาทีมงานให้เก่งขึ้น
  4. Environment Master เป็นคนที่มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศการทำงานให้เป็น High Performance Environment และมีทัศนคติที่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้า

การสร้างให้ผู้บริหารระดับกลางมีความสามารถในทั้งสี่ด้านนี้ จะช่วยส่งเสริมในการบริหารแบบ Diamond Management ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะช่วยสร้างให้เกิดความสมดุลของเป้าหมาย 4 ด้านของธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจ มีการเติบโตที่มั่นคง ภายในโลกที่มีความไม่แน่นอนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสูงได้ สำหรับรายละเอียดการพัฒนาหัวหน้าให้เป็นคนทั้งสี่ประเภทนี้ ขอนำเสนอในบทความถัดไป

บทความโดย

Kom Suwanpimon (คม สุวรรณพิมล)
CEO & Founder / Coach For Goal Group 
 
  • Top Management Executive in Finacial Companies
  • Executive Coach & Business Development Consultant
  • Newspaper Columnnist & Author
     
Interesting Areas:
Business Results Inprovement, Leadership Development, Executive & performance Coaching, People Attitude & Behavior
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้