McKinsey เผยลักษณะคนทำงานที่โลกยุคใหม่ต้องการ (ตอนที่ 2 Cognitive Skills)

วันที่: 17 ก.พ. 2565 14:04:34     แก้ไข: 14 มี.ค. 2565 10:07:54     เปิดอ่าน: 1,640     Blogs
"วิธีคิด" หรือ Cognitive Skills คือ ทักษะหมวดที่สอง เพื่อขอพาสปอร์ต สำหรับไปโลกใบใหม่ จากงานวิจัยของ McKinsey ครับ
โลกยุคใหม่ เป็นโลกที่มีลักษณะเปราะบาง ไม่แน่นอน ซับซ้อน คลุมเครือ ทำให้เรามีแนวโน้มที่ต้องใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น
ซึ่งจริงๆ แล้ว ทุกวันนี้ คนทุกคนก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายกว่าเดิมเยอะมาก แต่....
คนที่จะมีระบบการคิด เพื่อประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ มีกี่คน?

วิธีคิด จึงเป็นทักษะที่แยก "คนที่ใช้งานข้อมูลเป็น" กับ คนที่ "แค่ค้นข้อมูลได้" ได้ออกจากกัน

คนที่ใช้งานข้อมูลเป็น จะมีทักษะใน 4 ด้าน คือ


1. Critical Thinking สรุปง่ายๆ คือ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ได้ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้านย่อย คือ
  • การแก้ปัญหาอย่างมีโครงสร้าง
  • การให้เหตุผลเชิงตรรกะ
  • เข้าใจเรื่อง bias ด้านต่างๆ
  • ค้นหา ข้อมูลที่สัมพันธ์กัน

2. Mental Flexibility คือ รู้ว่าจะใช้ข้อมูลที่มีในสถานการณ์ที่ต่างกันอย่างไร ไม่ใช่ ใช้มันแบบเดิมในทุกๆ บริบทครับสาระสำคัญของข้อนี้ คือ เพื่อให้ปรับตัวได้ดี มองในมุมต่างๆ ที่หลากหลายกว่าความเชื่อเดิมของเรา (เสมือนต้องมีแว่นตาหลายแบบ เพื่อมองในมุมต่างๆ) แบ่งเป็น 4 ด้านย่อย คือ 
  • ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
  • การประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ที่ต่างจากเดิม
  • การฝึกให้มีมุมมองที่หลากหลาย
  • การปรับตัว

3. Planning & Way of Working ต้องพัฒนางานที่ทำได้ และรู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง ซึ่งแง่มุมนี้ ก็คือ "รู้จักคิดเพื่อทำงานให้เป็น" ครับ ไม่ใช่ทำแบบเดิม ด้วยการใช้ระบบ auto pilot จนเป็นงานรูทีน หรือ ทำงานมั่วไปหมด จนไม่รู้ว่าควรทำอะไรก่อน-หลัง และหัวใจสำคัญข้อนี้คือ ทำงานแล้วต้องพัฒนางานนั้นๆ ให้มีคุณค่า (Value) มากกว่าเดิมอยู่เสมอ แบ่งเป็น 4 ด้านย่อย คือ 
  • การพัฒนาแผนงาน
  • การบริหารเวลาและลำดับความสำคัญ
  • การคิดแบบ Agile
  • ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
     
4. Communication หรือ การสื่อสารครับ ถ้ามองแบบ การประมวลผล ข้อนี้อยู่ในหมวดนี้ถูกแล้วครับ เพราะ การรับ-ส่ง ข้อมูล ถือเป็นสาระสำคัญของระบบการคิดเลย ด้านนี้ก็แบ่งเป็น 4 ด้านย่อย คือ 
  • การเล่าเรื่อง (Storytelling) และการพูดในที่ชุมชน
  • การตั้งคำถามให้เป็น
  • การสังเคราะห์ข้อความ
  • การฟังอย่างตั้งใจ (active listening)

ข้อสุดท้ายนี้ หลายคนอาจงง ว่ามันมาอยู่ในการคิดได้อย่างไร นั่นคือถ้าเรารู้จักถามให้เป็น ทำใจให้เย็น เพื่อฟังคนอื่น เราจะได้ข้อมูลที่เป็น input ที่ดีเลยครับ ที่จะให้เราวิเคราะห์ปัญหา หรือ สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำกว่าเดิม

ในทางตรงข้ามสิ่งที่เป็น output อย่างการสื่อสารในที่ชุมชน ก็ช่วยให้เราส่งข้อมูลที่มีไปยังคนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ข้อมูลครบถ้วน และยังสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ได้ด้วย และ output ของเรา ก็จะเป็น input ที่ดีให้กับคนที่ทำงานด้วยกันอีกต่างหาก
ซึ่งทั้งหมดนี้ หากทำได้ เราก็จะคิดไว ทำไวมากกว่าเดิมเยอะ รวมทั้ง จะใช้ข้อมูลที่มีได้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 
อ้างอิง : https://mck.co/3dumINm

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้ องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ
Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้

องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ

Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้ Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ
Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้

Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ

Pakinson
Pakinson's Law เวลาที่มีไม่เคยพอ เพราะเราจะรอจนถึง Deadline New

Parkinson's Law ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคร้าย แต่ความหมายของมันคือ “Work expands so as to fill the time available for its completion.” หรือว่าง่ายๆ เวลามีมากแค่ไหน สุดท้ายก็ทำงานเสร็จตอน deadline อยู่ดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ คุณโดน Pakinson's Law จ้องเล่นอยู่ครับ

Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ
Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว

ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ

World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่ ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย
World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่

ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย

ผลการสำรวจ  3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน
ผลการสำรวจ 3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม

ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน