Pakinson's Law เวลาที่มีไม่เคยพอ เพราะเราจะรอจนถึง Deadline New

วันที่: 07 ก.พ. 2566 16:31:33     แก้ไข: 14 ก.พ. 2566 16:42:57     เปิดอ่าน: 165     Blogs
เวลามีมากแค่ไหน สุดท้ายก็ทำงานเสร็จตอน deadline อยู่ดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ คุณโดน Pakinson's Law จ้องเล่นอยู่ครับ

Parkinson's Law ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคร้าย แต่ความหมายของมันคือ
“Work expands so as to fill the time available for its completion.”

งานต่างๆ มักมากขึ้น ตามเวลาที่คุณมีนั่นแหละ

ตัวอย่างที่ชัดๆ ของคำกล่าวนี้ เราเคยเห็นตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนกันแล้ว
ที่พอเวลาครูให้การบ้านแล้วบอก Deadline ที่ต้องส่ง หลายๆ คนจะโวยทันทีว่า เวลาน้อยเกินไป ส่งไม่ทัน

แล้วถ้าครูขยายเวลาส่งเพิ่มล่ะครับ
คิดว่าจะทำการบ้านนั้นเสร็จเร็วกว่ากำหนดส่งไหม?

ผมเชื่อว่า คนที่ต้องการเวลาเพิ่ม ก็ยังส่งไม่ทันเหมือนเดิมแหละครับ อย่างดีก็ส่งในวัน Deadline นั่นแหละครับ เพราะเหตุการทำนองนี้เกิดเสมอ เวลาที่ผมให้การบ้านหลังการอบรม 555+

ในการทำงานเช่นกันครับ Parkinson's Law ก็มักเกิดในหลายสถานการณ์ โดยที่หัวหน้าอย่างเราๆ ไม่ทันสังเกตครับ

ตัวอย่างเช่น เวลาที่ต้องมอบหมายงานให้ลูกน้อง บางคนก็มักจะขอเวลาเพิ่มเสมอ แต่ไม่เคยทำทัน

บางสถานการณ์ ก็เกิดกับตัวหัวหน้าเสียเอง เช่น ในการประชุมหลายๆ ครั้ง จบเร็ว เพราะไม่มีประเด็นยุ่งยาก แต่เมื่อมีเวลาเหลือ หัวหน้าก็จับเรื่องสัพเพเหระมาคุย เพื่อใช้เวลาให้หมดๆ ไป ดูแล้วเหมือนคุ้มค่าที่เจอกัน แต่จริงๆ ไม่เกิดประโยชน์ก็มีครับ

หรือ เวลาคุณต้องทำงานโปรเจคต่างๆ ที่บางครั้งมันสามารถปิดจ๊อบได้เร็วว่ากำหนดการ แต่หลายๆ คนกลับทำไปเรื่อยๆ เนือยๆ ไม่รีบเร่ง เพราะเห็นเวลายังมีน่า

อุปมาคล้ายการทำข้อสอบสมัยเรียน ที่ต้องใช้เวลาให้เต็มชั่วโมง จะได้คุ้มๆ

แต่รู้ไหมครับว่า การทำงานตามกฎของ Parkinson เนี่ย ทำให้เราเสียเวลาการทำงาน ท้ายที่สุด Productivity ในงานก็ไม่เกิด เพราะเราถลุงทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในชีวิต ซึ่งก็คือ "เวลา" ไปอย่างไม่รู้ตัว แถมยังให้เหตุผลเข้าข้างตัวเองว่าที่ทำช้า เพราะจะได้พร้าเล่มงาม อีกด้วย

บางคนคิดไปขนาดว่า ทำช้า ถ้าสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะได้แก้ทัน หรือ แม้แต่คิดไปว่า จะมีโอกาสตรวจทานหลายรอบ ลดความผิดพลาดก็ยังมี

อย่างไรก็แล้วแต่ สิ่งที่ผมอยากจะบอกคือ ให้ลองพิจารณาดูอีกที ว่าที่ทำงานช้าๆ นั้น เป็นเพราะ parkinson's Law หรือ งานมันต้องใช้เวลาเท่านั้น อย่างสมเหตุสมผลแล้ว

หากเป็นตามกฎ parkinson ละก็ สิ่งที่จะช่วยคุณได้ คือ การประเมินเวลาตามจริง แล้ว บล็อคเวลาซะ!

จากนั้นหาวิธีการทำงาน หรือ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นมาช่วย เพื่อทำงานให้เสร็จในเวลานั้นให้ได้

เช่น หากต้องเช็คอีเมล์ ให้กำหนดเลยว่า ควรใช้เวลาเท่าไร ช่วงไหน แล้วถ้ามีเวลาจำกัด (เช่น จะใช้เวลาแค่ 30 นาที) เราจะต้องมีวิธีการเช็คอย่างไร

เมื่อชำนาญแล้ว อาจลองเพิ่มทักษะบริหารเวลา ด้วยการจัดลำดับความสำคัญของงาน แล้วทำตารางการทำงานที่เหมาะสมให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้ใช้เวลาได้คุ้มค่ามากขึ้นครับ

ทุกคนมีเวลาเท่ากัน ไม่มีใครมีมากกว่าใคร แต่ที่บางคนมีมากพอ เพราะเขารู้จักวิธีหาเวลาและบริหารเป็นมากกว่า เท่านั้นเองครับ

บทความโดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้ องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ
Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้

องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ

Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้ Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ
Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้

Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ

Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ
Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว

ช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา แค่มันไม่โก้หรูและดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ

World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่ ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย
World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่

ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย

ผลการสำรวจ  3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน
ผลการสำรวจ 3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม

ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน

พัฒนา 6 ทักษะการคิด แล้วลูกน้องคุณจะแก้ปัญหาในชีวิตการทำงานได้ด้วยตัวเอง เคยเห็นลูกน้องแบบนี้ไหมครับ? ที่เกิดปัญหาทีไร วิ่งหาหัวหน้า หรือ ให้เพื่อนช่วยตลอด ทั้งๆ ที่บางปัญหาไม่ได้ยากเลย ลักษณะการทำงานแบบนี้ บางทีอาจจะเกิดจากการขาด "ทักษะการคิด" ก็ได้ครับ การพัฒนาทักษะการคิดจึงช่วยให้เขาได้รู้ว่า วิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีแนวทางอย่างไร
พัฒนา 6 ทักษะการคิด แล้วลูกน้องคุณจะแก้ปัญหาในชีวิตการทำงานได้ด้วยตัวเอง

เคยเห็นลูกน้องแบบนี้ไหมครับ? ที่เกิดปัญหาทีไร วิ่งหาหัวหน้า หรือ ให้เพื่อนช่วยตลอด ทั้งๆ ที่บางปัญหาไม่ได้ยากเลย ลักษณะการทำงานแบบนี้ บางทีอาจจะเกิดจากการขาด "ทักษะการคิด" ก็ได้ครับ การพัฒนาทักษะการคิดจึงช่วยให้เขาได้รู้ว่า วิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีแนวทางอย่างไร