ค่านิยมส่วนบุคคล (Personal Values) ที่ว่า ก็คือ ความเชื่อที่เกิดจากประสบการณ์ ที่หล่อหลอม เรียนรู้ และยึดถือ ความเชื่อนั้นว่าเป็นจริง เป็นสิ่งที่ดีสำหรับชีวิตตัวเองมิลตัน โรคีช (Milton Rokeach, 1973) นักจิตวิทยาสังคม ได้ระบุว่า ค่านิยมที่ว่ามี 2 ระดับ คือ
การเรียนรู้ในเรื่อง Personal Values จึงช่วยให้หัวหน้าใส่หมวกได้ถูกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการทำงาน เพราะทำให้หัวหน้าได้รู้ตัว (Self-Awareness) ว่าปัจจุบัน ด้วย Personal Values เดิม ทำให้เราเกิดพฤติกรรมการบริหารงานแบบไหนอยู่ แล้วมันเหมาะสมหรือไม่ ที่เรายังคงยึด Personal Values แบบเดิมกับทุกสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น
ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างทุกวันนี้ หากเรามัวยึดแต่ผลลัพธ์ หรือ ความถูกต้อง อาจทำให้ไม่เกิดเซฟโซนในการเรียนรู้ของทีมงาน เพราะทุกคนอาจกลัวความผิดพลาด
ผลก็คือ อาจทำแต่สิ่งเดิมๆ ไม่เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่จะทำให้องค์กรปรับตัว หรือ เติบโตอย่างรวดเร็วได้ แต่ในทางตรงข้าม หากหัวหน้าปรับความคิด และยืดหยุ่นมากขึ้น ทีมงานก็อาจเกิดพื้นที่แห่งความปลอดภัยทางจิตวิทยา (Psychological Safety) มากกว่าเดิม และร่วมเรียนรู้ปรับแก้ให้งานดีขึ้นไปพร้อมๆ กัน
ดังนั้น ผู้นำที่ดี นอกจากจะต้องรู้ตัวเอง แล้วต้องพัฒนาตัวเองให้ไปไกลมากกว่าการใช้ Personal Values ในการบริหาร แต่ต้องสามารถบริหารงานได้อย่างสมดุลจาก การมีภาวะผู้นำที่เหมาะสม (Leadership) ด้วย
เพราะภาวะผู้นำ จะเป็นสิ่งที่นำพาให้หัวหน้าก้าวไปได้ไกลมากกว่าการยึด Personal VAlues หรือ ค่านิยมของตัวเองเพียงอย่างเดียวในการบริหารทั้งคนและงานครับ
![]() |
Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking |
คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
แนวคิด Leading with Purpose จะต้องการ ผู้นำที่ต้องบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ 4 ประเภท ซึ่งในครั้งนี้ขออธิบายวิธีการบริหารในประเภท สุดท้ายคือ Environment Master โดยผู้บริหารนี้จะเป็นผู้นำที่บริหารเพื่อให้บรรลุ Purpose ด้าน Stability และ Engagement ความเกี่ยวพันธ์ของทั้งสองเป้าประสงค์นี้คือ