Quiet Quitting ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่จริงๆ มีมานานแล้ว

วันที่: 07 ก.พ. 2566 16:23:03     แก้ไข: 28 ก.พ. 2566 13:38:56     เปิดอ่าน: 142     Blogs
Quiet Quitting คำนี้เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลอย่างรวดเร็ว จนทำให้สื่อดังๆ หลายที่ตีข่าววิธีการทำงานแบบใหม่นี้ว่าเป็นเทรนด์ของคนทำงานยุคใหม่ แต่อ่านไปอ่านมาชักคุ้นๆ ว่า การทำงานแบบนี้ก็มีมานานแล้วในบ้านเรา

แค่มันไม่ทันสมัย กินความหมายกว้าง และดูเป็นลบมากกว่า นั่นคือ "การทำงานเช้าชามเย็นชาม"

Quiet Quitting  เป็นประเด็นในต่างประเทศ ผมเข้าใจว่าเป็นเพราะสังคมและวัฒนธรรมการทำงานของพวกเขาค่อนข้างที่จะเป็นแบบ งานคืองาน ต้องทำแบบทุ่มเท
ตัวอย่างเช่น

ทางฝั่งจีน ที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบ '996'
นั่นคือ ทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์
คิดเป็นชั่วโมง นั่นคือ 72 ชั่วโมงนะครับ!

แม้แต่ คนดังฝั่งอเมริกาอย่าง อีลอน มัสก์ ยังเคยมีความเห็นที่อยากให้พนักงานมีชั่วโมงการทำงานที่มากขึ้นแบบนี้ด้วย
ซึ่งในบ้านเรานั้นตกประมาณ 40-48 ชม ซึ่งน้อยกว่าเกือบครึ่ง

ประกอบกับวิกฤตในช่วงนี้ ที่พนักงานต้องทำงานมากกว่าเดิม จึงเกิดความกดดันเพิ่มมากขึ้นเยอะ
ทำให้พนักงานหลายคนรู้สึกว่า "พอเหอะ" ทุ่มเทไป แล้วสุขภาพย่ำแย่ทั้งกายใจ "แล้วจะทำไปเพื่อ????"

กระแสของการ Quiet Quiting หรือ หยุดงานแบบเงียบ จึงเริ่มปรากฎ ทั้งในฝั่งเอเชีย และ อเมริกาเอง
นั่นคือ ทำงานให้พอบรรลุเป้า แต่ไม่เอาการเติบโต เพราะมันบั่นทอนชีวิตเกินไป

สำหรับในบ้านเรา อย่างที่ผมบอกไปข้างต้น การ Quiet Quiting ที่มาในแบบ "เช้าชามเย็นชาม"
มีบางส่วนต่างจากฝั่งโน้น คือ

1. บางครั้งไม่ได้เกิดจากความเหนื่อยหน่าย หรือ Burnout แต่ทำมันอย่างตั้งใจ แถมทำแล้วสบายใจด้วยสิ
2. บางคนใช้เป็น "เทคนิคพิเศษ" ในการเบาแรง เช่น "การเสกตัวเลข"ทำให้ยังอยู่ในองค์กรได้ แถมมี well being ที่ดีได้ด้วยนะ ซึ่งคนกลุ่มนี้ ขอยังไม่พูดถึงนะครับ เพราะไม่ใช่กลุ่มที่ควรส่งเสริม

Quiet Quiting ที่น่าเป็นห่วงและตรงความหมายแบบเมืองนอกจริงๆ นั่น คือ ต้องเกิดภาวะเหนื่อยหน่ายจากการทำงาน และบรรยากาศที่ย่ำแย่ขององค์กร คล้ายๆ กับการประท้วงแบบเงียบๆ

สิ่งที่น่าเป็นห่วง สำหรับเรื่อง Quiet Quiting คือ การที่พนักงานชั้นดีมีอนาคต ที่เริ่มหันมา Quiet Quiting ต่างหาก
องค์กร หน่วยงานที่ต้องดูแลเรื่องคน และหัวหน้างานทั้งหลาย จึงต้องระวังและใส่ใจพวกเขาให้มากขึ้นก่อนที่เขาจะลาจาก จนทำให้องค์กรขากำลังสำคัญ (ยิ่งช่วงนี้ วิกฤตจากการถดถอยทางเศรษฐกิจกำลังมา)

รากของปัญหานี้ คนส่วนใหญ่อาจมองที่องค์กร หรือ หัวหน้างาน ว่าเป็นส่วนสำคัญ ลำดับแรกๆ
โทษฐานสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม ไม่ดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

จนอาจลืมว่ายังมีอีกด้านที่สำคัญนั่นคือ ตัวพนักงานด้วย

แม้ว่าพนักงานจะทำงานได้ดี มีทักษะในงานมากแค่ไหน แต่สิ่งสำคัญในการรับมือกับสภาพการทำงานงานที่ชวนให้หมดใจจะทำงาน (เริ่ม Brownout) คือ การพัฒนาให้พวกเขา รู้วิธีการปรับ mindset และ ทักษะ Soft skills ในการจัดการงานและคน ไปพร้อมๆ กันด้วยครับ จึงจะทำให้เอาตัวรอดและกระตุ้นตัวเองให้กลับมาทำงามอย่างทุ่มเทได้ดังเดิม ก่อนที่จะหมดไฟ มอดไหม้ทั้งใจกาย (Burnout) หรือใช้ทางออกแบบ Quiet Quiting ในการทำงาน
อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ควรแก้ปัญหาทั้งสามส่วนนี้
  1. องค์กรอย่างหวังพึ่งให้หัวหน้าทำคนเดียว
  2. หัวหน้าอย่างหวังให้ลูกน้องปรับ mindset เพียงฝ่ายเดียว
  3. ลูกน้องอย่าโทษแต่หัวหน้าและองค์กร และหวังให้เขาปรับทุกอย่างให้เป็นดั่งใจตนเอง
แต่ละคนแต่ละส่วน ควรจะช่วยกันปรับตามหน้าที่ของตัวเอง และทำไปด้วยกัน แล้วองค์กรจะน่าอยู่ หัวหน้าก็จะรักษาพนักงานที่เก่งกาจได้
ส่วนตัวพนักงานเองก็จะได้พบความสุขในการทำงานที่ตอบโจทย์ทั้งการเติบโตในสายงาน และ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเองไปพร้อมๆกันครับ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้ องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ
Human Leadership หัวหน้าต้องนำผู้คนอย่างไรในยุคการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนนี้

องค์ประกอบสามด้าน ของ Human Leadership ที่ทาง Gartner นิยามไว้เพื่อให้หัวหน้าได้เป็นผู้นำที่มีความเป็นมนุษย์ และดึงศักยภาพของคนในทีมให้พร้อมรับการเปลื่ยนแปลงที่ซับซ้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้ได้ครับ

Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้ Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ
Empathy สร้างได้ แค่ฝึกใช้ทักษะเหล่านี้

Empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็น Soft Skill ที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์ ก็ต้องเข้าใจลูกค้า จะเป็นหัวหน้า ก็ต้องเข้าใจลูกน้อง จะมีพวกพ้อง ก็ต้องรู้ใจคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี แต่คำถาม คือ แล้วต้องทำยังไงล่ะ? วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มได้ทันที ก็คือ

Pakinson
Pakinson's Law เวลาที่มีไม่เคยพอ เพราะเราจะรอจนถึง Deadline New

Parkinson's Law ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับโรคร้าย แต่ความหมายของมันคือ “Work expands so as to fill the time available for its completion.” หรือว่าง่ายๆ เวลามีมากแค่ไหน สุดท้ายก็ทำงานเสร็จตอน deadline อยู่ดี ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ คุณโดน Pakinson's Law จ้องเล่นอยู่ครับ

World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่ ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย
World Economic Forum แนะนำ หัวหน้าแบบไหน ? ถึงได้ใจพนักงานยุคใหม่

ในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum เองได้เคยพูดถึงประเด็นเหล่านี้ไว้แล้วครับ เพียงแต่ช่วงนั้นโลกของเรายังวุ่นๆ กับการรับมือปัญหาของโลกที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่าง Covid-19 จึงทำให้เรื่องนี้ไม่ถูกพูดถึงมากนัก ประเด็นที่ท้าทาย คือ เด็กรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้นจะมีความแตกต่างจากรุ่นใหญ่ในองค์กรมากเลย แม้แต่รุ่นก่อนหน้าเค้าแค่รุ่นเดียวก็ตาม ไม่ว่าจะโดนมองว่าไม่ทุ่มเท ไม่อดทน หรือ แม้แต่ เปลี่ยนงานบ่อย

ผลการสำรวจ  3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน
ผลการสำรวจ 3 สิ่งสำคัญในการบริหารคน ที่ทาง Gartner ระบุว่าผู้บริหารด้านคน (CHRO) ต้องไม่ลืม

ทั้งสามด้านนี้ คือ สิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ทาง Gartner ได้สำรวจกับกลุ่ม HR และระบุว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริหารด้านคน หรือ Chief Human Resources Offeicer (CHRO) ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทาง Coach For Goal เรา จึงนำแนวทางนี้ มาปรับเพื่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพนักงานขององค์กรที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารให้พนักงานได้เข้าใจถึงแรงกดดันทั้งสามด้านที่เกิดขึ้นกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การสร้างทุกคนให้เป็นคนเก่ง การสร้าง mindset ที่พร้อมปรับตัวในทุกสภา่วะ และ การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานแต่ละวัน

พัฒนา 6 ทักษะการคิด แล้วลูกน้องคุณจะแก้ปัญหาในชีวิตการทำงานได้ด้วยตัวเอง เคยเห็นลูกน้องแบบนี้ไหมครับ? ที่เกิดปัญหาทีไร วิ่งหาหัวหน้า หรือ ให้เพื่อนช่วยตลอด ทั้งๆ ที่บางปัญหาไม่ได้ยากเลย ลักษณะการทำงานแบบนี้ บางทีอาจจะเกิดจากการขาด "ทักษะการคิด" ก็ได้ครับ การพัฒนาทักษะการคิดจึงช่วยให้เขาได้รู้ว่า วิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีแนวทางอย่างไร
พัฒนา 6 ทักษะการคิด แล้วลูกน้องคุณจะแก้ปัญหาในชีวิตการทำงานได้ด้วยตัวเอง

เคยเห็นลูกน้องแบบนี้ไหมครับ? ที่เกิดปัญหาทีไร วิ่งหาหัวหน้า หรือ ให้เพื่อนช่วยตลอด ทั้งๆ ที่บางปัญหาไม่ได้ยากเลย ลักษณะการทำงานแบบนี้ บางทีอาจจะเกิดจากการขาด "ทักษะการคิด" ก็ได้ครับ การพัฒนาทักษะการคิดจึงช่วยให้เขาได้รู้ว่า วิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีแนวทางอย่างไร