Set-up-to-fail Syndrome ปรากฏการณ์ที่หัวหน้าขีดชะตาให้ลูกน้องเป็นคนไร้ความสามารถ

วันที่: 28 มิ.ย. 2566 09:20:35     แก้ไข: 13 ก.ค. 2566 11:33:40     เปิดอ่าน: 292     Blogs

Set-up-to-fail Syndrome เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่หัวหน้า ผู้จัดการ หรือ ผู้บริหาร มองพนักงานคนหนึ่งว่า "เขาไร้ความสามารถ"

ปรากฎการณ์นี้ จะเริ่มขึ้นจาก
  1. ทั้งหัวหน้าและลูกน้อง มักจะไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่แย่ต่อกัน
  2. เกิดเหตุการณ์บางอย่างที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด ปรากฏการณ์ Set-up-to-fail Syndrome และมักเป็น "เหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ" เช่น ทำงานไม่เสร็จตามเวลา สูญเสียลูฏค้า หรือทำบางอย่างต่ำกว่ามาตรฐาน
  3. หัวหน้าเริ่มสร้างระบบควบคุมที่เข้มงวดกว่าเดิม เพราะต้องการป้องกันความผิดพลาดนั้น เช่น ออกคำสั่งที่รัดกุมจนจำกัดอิสระในการทำงาน หรือ  คุยงานในรายละเอียด หรือ ถกเถียงกันนานเกินความจำเป็น
  4. ลูกน้องเริ่มรู้สึกว่าไม่ได้รับความเชื่อมั่นอย่างเคย และรู้สึกว่าเป็น "คนนอก" ในบางกรณีอาจจะพยายามดิ้นรน เพื่อให้หัวหน้ามองตนดีขึ้น จากการทำงานเกินความสามารถ จนงานเสียหาย
  5. หัวหน้ายิ่งมองความเสียหายนั้น และมองลูกน้องในทางลบยิ่งกว่าเดิม หรือ หากจะทำได้ดี ก็มองข้าม 
  6. ลูกน้องรู้สึกเหมือนถูกจับตามอง และไม่มีคุณค่าในตัวเอง เริ่มปกป้องตัวเอง เช่น ถอยห่างเรื่อยๆ เพิกเฉยต่อคำสั่งของหัวหน้า หรือ แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดตอบโต้ 
  7. หัวหน้ายิ่งเกิดความไม่พอใจ หงุดหงิดยิ่งกว่าเดิม และขาดความเชื่อมั่นในตัวลูกน้องเต็มที่ และเชื่อว่าเป็น "คนไร้ความสามารถ" และไม่สามารถทำงานได้ ควรตัดหางปล่อยวัด
  8. เมื่อปรากฏการณ์นี้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ทั้งคู่ ก็ยิ่งกดดันกันและกันทุกครั้งที่ต้องพูดคุยกัน หรือ เลี่ยงการสื่อสารในเวลาอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น สุดท้ายก็ให้เฉพาะงานที่ทำไปวันๆ เท่านั้น 
ท้ายที่สุดก็อยู๋ในสภาวะไม่คาดหวังอะไร ทำงานไปวันๆ หรือ ลาออกจากองค์กร โดยที่หัวหน้าหลายคนอาจไม่มีโอกาสรู้เลยว่า ตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเรื่องราว และทำให้พวกเขาล้มเหลวในการทำงาน 

โดยสรุปคือ
เมื่อหัวหน้าได้ตัดสินแล้วว่า ลูกน้องคนนั้นไร้ความสามารถ ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือ พนักงานคนนั้นจะทำงานได้แย่ลงเรื่อยๆ ท้ายที่สุดก็จะออกจากองค์กร ไม่ว่าจะเกิดจากการลาออกโดยสมัครใจ หรือ ให้ออกก็ตาม 


หากคุณเป็นหัวหน้า ทางหนึ่งที่จะช่วยพวกเขาได้ คือลองทบทวนดูว่า ในวันนี้เราเอง ได้เป็นคนกำหนดให้ "ลูกน้องล้มเหลว" ในการทำงานบ้างหรือไม่?

บทความและภาพกราฟฟิค โดย

Aniruth Tulsuk (อนิรุทธิ์ ตุลสุข)
Sr. Consultant & Facilitator-CFG 
 
M.A. Industial and Organizaional Psychology, Thammasat University
Former Learning & Development Manager, FMCG/Property
Interesting Areas:
Startup Business, Leadership Development, Behavioral Change,Trait & Personality, Visual Thinking
 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีสร้าง Work-Life Balance  แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน
4 วิธีสร้าง Work-Life Balance แถมยังได้งานในช่วงวิกฤต

สาเหตุที่ Work-Life Balance ของคนทำงานจะเปลี่ยนไปจากเดิมนั้น เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ กำลังคืบคลานเข้ามา และแน่นอนว่าจะสร้างผลกระทบกับชีวิตการทำงานแต่ละคนไม่มากก็น้อย แล้วพนักงานต้องทำอย่างไร? ต้องโหมทำงานจนละเลยชีวิตตัวเองหรือไม่? มาดู 4 แนวทางที่จะช่วยสร้างให้สมดุลชีวิตและงานยังคงอยู่กัน

7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง  เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ
7 ปัจจัย ฉุดผลประกอบการ ที่ผู้บริหารคาดไม่ถึง

เมื่อใดประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ มักจะกระทบต่อองค์กรด้วย ทำให้ผลประกอบการตกลง ซึ่งเมื่อต้องอธิบายว่าทำไมผลประกอบการต่ำลง ก็จะได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกครั้งคือ “ เศรษฐกิจไม่ดี” แต่สังเกตหรือไม่ว่า ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจแย่ แต่ก็มีบางบริษัทที่ผลประกอบการ ไม่ได้แย่ตามไปด้วย เพราะความจริงแล้วภาวะเศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กระทบผลประกอบการ แต่มันมีปัจจัยอื่นๆภายในองค์กรด้วย และปัจจัยเหล่านี้มักจะถูกมองข้ามไป นั่นคือ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ