Sinking of The TITANIC EP.2

วันที่: 16 เม.ย. 2563 13:23:07     แก้ไข: 16 ก.ค. 2563 11:05:21     เปิดอ่าน: 1,055     Blogs
Sinking of The TITANIC EP.2 เราเป็นลูกน้องแบบไหนในวันเรือแตก
.
“พอให้ Work from home ก็บ่น อยากเข้าออฟฟิศ พอให้เข้าออฟฟิศก็บ่นกลัวโควิด เอาใจไม่ถูกละ”
.
“ถามแต่ว่าบริษัทจะรอดไม่รอด ถ้าบอกไม่รอดแล้วยังไงดี ถามจนเครียดละเนี่ย”
.
“ ตอนนี้ทีมทำงานโอเคมากกว่าตอนปกติอีก ตกลงกันแล้วว่าทุกคนสู้ด้วยกัน”
.
เพราะในภาวะวิกฤติผู้นำย่อมต้องรับมือกับสถานการณ์หลายหลาก
ในวันที่เรือชนภูเขาน้ำแข็งก้อนใหญ่ที่ชื่อว่า Covid-19
ทัศนคติของคนที่มีต่อวิกฤติเป็นเรื่องสำคัญและส่งผลต่อพฤติกรรมในการทำงานอย่างที่สุด
.
ข้าพเจ้าเองนั้นได้มีโอกาสผ่านวิกฤติเรือแตกมา ทั้งในมุมมองของการเป็นลูกน้องและลูกพี่
.
เชื่อหรือไม่ว่าในเวลาที่ยากลำบากที่สุด เราจะมีโอกาสได้เห็นความเป็น “เพชร”ในน้องบางคน
.
ที่ในเวลาปกติดูเป็นคนธรรมดา แต่ในเวลาองค์กรลำบากกลับโดดเด่นด้วยทัศนคติที่สู้ไม่ถอย
.
แต่ในบางคนทัศนคติที่แสดงออกมาถึงการพร้อมหนีเอาตัวรอดตลอดเวลา
.
จนเราแอบคิดในใจว่า ถ้าผ่านเหตุการณ์นี้ไปยังลังเลใจที่จะใช้คำว่าเคยร่วมงานกัน
.
เพราะถ้าองค์กรที่เปรียบเสมือนเรือลำใหญ่เช่น TITANIC แม้จะเคยมีความยิ่งใหญ่มาเพียงใด
.
เมื่อพุ่งปะทะชนความท้าทายอย่างภูเขาน้ำแข็ง ที่หัวหน้าวางแผนดี สื่อสารยอดเพียงใด
.
แต่ทัศนคติของลูกเรือคือ #รจตกม เราจะตายกันหมด ก็คงต้องนั่งรอวันจมลงไปกับเรือ
.
เมื่อเพื่อนๆหรือน้องๆถามข้าพเจ้าว่า คิดอย่างไรดีจึงจะผ่านช่วงวิกฤติไปได้
.
ข้าพเจ้าขอไม่ใช้คำว่า คิดบวก แต่อยากให้ทุกๆท่านคิดอย่างเหมาะสม
หัวหน้ามีหน้าที่บริหารจัดการวิกฤติและสื่อสารให้ทีมงานเข้าใจ สู้ไปในทิศทางที่ดีที่สุด ก็ทำไป
.
ลูกน้องก็ย่อมมีหน้าที่วิ่งไปในทิศทางที่กำหนดและสื่อสารกลับเพื่อให้มั่นใจว่า ไปถึงเป้าหมายแน่ๆ
.
เมื่อต่างคนต่างทำตามหน้าที่ ด้วยทัศนคติที่ว่า #รจมต เราจะไม่ตาย
แม้ผลลัพธ์สุดท้าย ต้องสละ TITANIC ลงเรือชูชีพพร้อมกันก็ไม่เป็นไร เพราะสุดท้ายเราได้ทำ “ดีที่สุด” เท่าที่เราทำได้และไม่มีสิ่งใดต้องเสียใจที่ได้เคยผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
.
Content by Aj. Luckana
Image: Pixabay
---------------------------------
ย้อนอ่าน Sinking of The TITANIC EP.1 เรามีหัวหน้าแบบไหนในวันที่เรือชนภูเขาน้ำแข็ง ที่ https://bit.ly/2JETeNm
---------------------------------
#CoachForGoalArticle #CFG
สร้างทัศนคติการทำงานให้ดีขึ้นในทุกวันแบบง่ายๆ
---------------------------------
รายละเอียดโปรแแกรมพัฒนาบุคลากรองค์กรที่
www.coachforgoal.com
.
ด่วน ! ติดตามบทความ Exclusive สำหรับคนทำงานได้ ที่ Linkedin

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่
5 กลยุทธ์ผู้นำที่ทำให้เกิด High Performance Environment

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในวันนี้ หัวหน้างานที่ยังคงต้องทำบทบาทในการปรับทีมงานให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพื่อให้เกิดบรรยากาศแบบ High Performance Environment หรือ ทีมงานมีไฟมีพลังสู้รบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่ง 5 วิธีที่หัวหน้าสามารถเริ่มทำได้ทันที ได้แก่

ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
ทำไม? เมื่อผู้นำตั้งใจทำดีมากไป ผลที่ได้กลับกลายเป็นร้ายในทันที New

คุณมักได้ยินคำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดี เช่น ต้องรับฟังให้เยอะพูดให้น้อย ต้องเข้าอกเข้าใจ ต้องพัฒนาเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีเหตุผล ต้องแสดงความรับผิดชอบและทำให้งานสำเร็จ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ดีทั้งนั้น แต่รู้ไหมว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณทำสิ่งข้างต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้
การสื่อสาร 3 มิติ ที่หัวหน้าต้องรู้ เพื่อให้งานได้ผลลัพธ์ New

ถ้าพูดว่าการทำงานหลักๆของผู้บริหาร หรือหัวหน้า คือการสื่อสาร ภาพในหัวของหลายคนก็จะมีภาพว่าหัวหน้าต้อง present ได้เก่ง โน้มน้าวหรือ พูดได้รู้เรื่อง ซึ่งก็นับว่า จริง แต่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บริหารมีหน้าที่ต้องบริหารคนให้ทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้ได้ ดังนั้นการสื่อสารของหัวหน้าจึงมีหลากหลายมิติ โดยถ้าแยกแบบคร่าวๆ ก็จะมีอยู่ 3 มิติ ดังนี้

2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ
2 หัวใจสำคัญ การสื่อสาร ที่เป็นงานสำคัญของหัวหน้า New

จากที่เคยพูดถึงว่าทักษะสำคัญของหัวหน้าคือการสื่อสาร ซึ่งมีหลากหลายวัตถุประสงค์ ในโพสนี้ ขออธิบายการสื่อสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน คือ”การสั่งงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆก็น่าจะสั่งงานได้ แต่หัวใจสำคัญคือ

บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่?
ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง
บทบาทหัวหน้างาน ไม่ได้มีแค่การสั่งแล้วตามจิก

หลายคนรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เห็นทำงานอะไรเลย ได้แต่สั่งงานแล้วก็ตามงาน แถมหัวหน้าบางคนก็ตามแบบจิกๆ อีกต่างหาก ทำแบบนี้หัวหน้าทำถูกหรือไม่? ที่นี่เรามาดูหน้าที่หลักๆของหัวหน้าว่าเขาต้องทำอะไรบ้าง

Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้
Catfish Effect บริหารพนักงานให้แกร่ง จากแรงฮึดเพื่ออยู่รอด

Catfish Effect (เอฟเฟกต์ปลาดุก) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีคู่แข่งที่มีแข็งแกร่งเข้ามา จนทำให้คู่แข่งที่อ่อนแอ มีการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากอะไร? และนำมาใช้เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน ได้อย่างไร? มารู้กันจาก blog นี้